สืบค้นงานวิจัย
ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง
สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Database of Cucurbits
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): N/A
คำสำคัญ: พืช
คำสำคัญ (EN): NSTDA
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: เชื้อพันธุกรรมและงานด้านปรับปรุงพันธุ์มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารของโลก โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อความมั่นคงทางด้านเกษตรและอาหารในอนาคต การดำเนินการดังกล่าวนอกจากเพื่อการป้องกันการสูญพันธุ์ของพันธุ์พืชแล้ว ยังมุ่งสนับสนุนเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมร่วมกันได้อย่างแพร่หลาย และเต็มประสิทธิภาพ ในปี 2549 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดตั้งคลัสเตอร์เมล็ดพันธุ์ขึ้น และสร้างเครือข่ายในการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์พืช ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมุ่งเน้นที่พืช 4 ชนิด ได้แก่ พริก มะเขือเทศ พืชวงค์แตง และข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชผักเศรษฐกิจของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกเมล็ดพันธุ์สูง ผลการดำเนินงานได้รวบรวมและบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมพืชมากกว่า 7,000 accession และได้จัดทำฐานข้อมูลเชื้อพันธุกรรมของพืชทั้ง 4 ชนิด โดยการจดและบันทึกลักษณะด้านพืชสวน และให้บริการข้อมูลในระบบเวปไซด์ www.biotec.or.th/germplasm เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชวงค์แตง ได้แก่ แตงกวา และฟักทอง จากหน่วยเชื้อพันธุกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยเชื้อพันธุกรรมดังกล่าวมีลักษณะทางพืชสวนที่ดีเป็นสายพันธุ์แท้ เพื่อใช้ในการจัดกลุ่มเชื้อพันธุกรรม และจัดทำฐานข้อมูลจีโนไทป์ของลักษณะที่สำคัญทางด้านการเกษตร ได้แก่ ความต้านทานไวรัสในกลุ่ม Tospovirus Begomovirus และ CGMMV สำหรับการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลต่อลักษณะสำคัญเพื่อใช้ปรับปรุงพันธุ์แตงกวาและฟักทองต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Heredity and breeding work are essential to the world's agricultural and food security. In particular, developed countries place importance on genetic management and plant breeding improvement for future agricultural and food security. Such actions are in addition to preventing the extinction of plant species. It also aims to support the widespread use of genetic germs together. and at full efficiency. In 2006, the National Science and Technology Development Agency (NSTDA) established a seed cluster. and create a network for genetic management and plant breeding with Khon Kaen University Kasetsart University and Rajamangala University of Technology Lanna focusing on 4 types of crops, namely chilli, tomato, melon, and corn, which are economic vegetables of Thailand with high seed export value. The result has collected and managed more than 7,000 accession of plant germplasm and has established a genetic database for all 4 plant species by recording and recording horticultural characteristics. and provide information on the website system www.biotec.or.th/germplasm In order to make use of the genetics for further breeding. This research project aims to establish a genotype database of melon genotypes, including cucumbers and pumpkins, from the genotype unit. Rajamangala University of Technology Lanna The aforementioned germplasm has good horticultural characteristics as a pure breed. for use in genetic grouping A genotypic database of key agronomic traits, namely Tospovirus, Begomovirus, and CGMMV resistance, was developed for use in the development of molecular markers for key traits for further breeding of cucumbers and pumpkins.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: N/A
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: N/A
เลขทะเบียนวิจัยกรม: N/A
ชื่อแหล่งทุน: N/A
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: N/A
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: N/A
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2563
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2564
เอกสารแนบ: https://zebra.nstda.or.th/vou/index.php?type_code=IM
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: N/A
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: N/A
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 0000
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2564
เอกสารแนบ 1
การทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นแถบสำเร็จรูปสำหรับตรวจหาเชื้อก่อโรคในพืชตระกูลแตง 3 เชื้อได้พร้อมกันในคราวเดียว การพัฒนาวิธีการมัลติเพล็กซ์พีซีอาร์เพื่อการตรวจจำแนกเชื้อบีโกโมไวรัสที่เข้าทำลาย มะเขือเทศ พริก และ พืชตระกูลแตงในประเทศไทย โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช การเพิ่มประสิทธิภาพของหัวเชื้อไรโซเบียมในการแข่งขันเพื่อการเข้าสร้างปมกับพืชตระกูลถั่ว โครงการย่อยที่ 1: การทดสอบการเชื่อมโยงข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืชสำหรับป้องกันการระบาดในพืชตระกูลพริก กะหล่ำปลี และมะเขือเทศบนพื้นที่สูง โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปกปัก สำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมพืชในวงศ์ไม้จำปา โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการสร้างจิตสำนึก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก