สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
บรรพจน์ ชื่นจันทร์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บรรพจน์ ชื่นจันทร์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องสภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสภาพปัญหาและความต้องการในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 90 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรอายุเฉลี่ย 49.02 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและแต่งงานแล้ว เกษตรกรเกินครึ่งหนึ่งเล็กน้อย จบการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถามปีที่ 6 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.26 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.51 คน พื้นที่ถือครองการเกษตรเฉลี่ย 77.20 ไร่ ร้อยละ 46.67 มีพื้นที่ถือครองเป็นของตนเองและเช่าบางส่วน เกษตรกรทั้งหมดประกอบอาชีพทำไร่ และมีรถแทรกเตอร์ พื้นที่ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 91.60 ไร่ประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเฉลี่ย 14.88 ปี เตรียมดินเฉลี่ย 2.64 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 2 โดยใช้ข้าวโพดพันธุ์ไพโอเนีย ซื้อเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้า เกษตรกรร้อยละ 60 ใช้ระยะปลูกข้าวโพด 65x20 เซนติเมตร ร้อยละ 58.89 ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 3 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกโดยเครื่องหยอดติดท้ายรถแทรกเตอร์ ร้อยละ 60 ไม่มีการถอนแยก เกษตรกรทั้งหมดใช้ปุ๋ยเคมี โดยครั้งที่ 1 ใช้สูตร 15 - 15 -15 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 71.11 ใช้สูตร 16 - 20 - 0 เกษตรกรทั้งหมดปลูกข้าวโพดโดยอาศัยน้ำฝน มีการกำจัดวัชพืช เฉลี่ย 2.64 ครั้ง ร้อยละ 60 พบการระบาดของหนอนเจาะลำต้น ร้อยละ 67.78 ป้องกันและกำจัดโรคแมลง โดยร้อยละ 61.11 ใช้สารเคมี เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวข้าวโพดโดยใช้แรงงานคน โดยแกะเปลือกก่อนเก็บ อายุการเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 123.06 วัน ส่วนใหญ่ใช้เครื่องสีข้าวโพดกะเทาะเมล็ด จำหน่ายผลผลิตให้กับสหกรณ์การเกษตร ธกส.และอตก. ผลผลิตเฉลี่ย 542.27 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 4.82 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 220,911.14 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,868.23 บาทต่อไร่ เกษตรกรครึ่งหนึ่งใช้เงินทุนจากพ่อค้านายทุน เกษตรกรมีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาภัย ภัยแล้ง พ่อค้ารับซื้อเอารัดเอาเปรียบ ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ค่าจ้างแรงงานสูง ดินเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ และเกษตรกรขาดการรวมกลุ่มการผลิต มีความต้องการในระดับมาก ได้แก่ ความต้องการความรู้การผลิตข้าวโพด ศึกษาดูงานการผลิตและการตลาดข้าวโพดและการปลูกพืชปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนความรู้วิชาการ ปัจจัยการผลิตราคาถูก การตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จัดหาแหล่งรวบรวมผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวของเกษตรกรตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพlสูงในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน สภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาของเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก