สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิเคราะห์ศักยภาพน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำประแสร์ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ
นายศรชัย จริยานุพงศ์ - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: โครงการวิเคราะห์ศักยภาพน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำประแสร์ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายศรชัย จริยานุพงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่: อื่นๆ
บทคัดย่อ: การบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำประแสร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง หรือ การบริหารจัดการน้ำลุ่มใดก็ตาม จำเป็นต้องมีแนวคิดพื้นฐานในการบริหารจัดการที่สมดุลกัน ระหว่างปริมาณทรัพยากรน้ำที่ธรรมชาติถือกำเนิดให้ใช้ได้ ซึ่งถือเป็นปริมาณด้านอุปทาน กับ ปริมาณน้ำที่มนุษย์พึงต้องการเรียกร้องและพึงบริหารโดยการวางแผน เพื่อการจัดการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งถือเป็นปริมาณด้านอุปสงค์ ศักยภาพการใช้ประโยชน์ได้นี้ขึ้นอยู่กับขอบเขตและขีดจำกัด อันมีปัจจัยร่วมมากมายทั้งสองด้าน คือด้านอุปทาน และด้านอุปสงค์ ที่จะต้องตั้งอยู่บนหลักการสมดุลน้ำ จึงจะสามารถพัฒนาการบริหารจัดการน้ำอย่างถูกต้องและเหมาะสมได้ ศักยภาพการใช้ประโยชน์ในด้านอุปทาน ได้แก่ขอบเขตขีดจำกัดของปริมาณน้ำฝน น้ำท่าตามธรรมชาติถือกำเนิดได้อย่างจำกัด มีปัจจัยร่วมในด้านค่าความไม่แน่นอน ค่าความถี่ และค่าความรุนแรงของการเกิดปรากฏการณ์ของสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้ได้ใช้การจำลอง ค่าความไม่แน่นอน ค่าความถี่ และค่าความรุนแรงของการเกิดปริมาณน้ำฝน น้ำท่า จากฐานข้อมูลบันทึกจากพฤติกรรมจริง เพื่อเลียนแบบพฤติกรรมการบริหารจัดการน้ำโดยฐานข้อมูลสังเคราะห์ย้อนหลัง 25 ปี (ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2533 ถึง 2557) ศักยภาพการใช้ประโยชน์ในด้านอุปสงค์ ได้แก่ขอบเขตขีดจำกัดของปริมาณการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองประแสร์ ผนวกกับการคำนึงถึงฝนใช้การ ที่สามารถทดแทนปริมาณน้ำที่จะต้องจัดสรรน้ำให้จากอ่างเก็บน้ำในขอบเขตพื้นที่รับน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่ส่งน้ำด้วย การศึกษานี้แบ่งประเภทของปริมาณน้ำด้านอุปสงค์ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุปโภค-บริโภค ด้านการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และด้านอุตสาหกรรม ซึ่งแทบทุกด้านมีปริมาณความต้องการใช้น้ำที่แปรผันมากขึ้นตามปัจจัยของจำนวนประชากรที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นด้วย การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาสมดุลน้ำ จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อจำลองพฤติกรรมการใช้น้ำ จำลองสถานการณ์กรณีต่างๆ 4 กรณี โดยได้สมมุติให้การใช้น้ำแต่ละด้าน มีการใช้น้ำอย่างเต็มที่ตามศักยภาพสูงสุดของแต่ละด้านที่ประสงค์วางแผนไว้ โดยใช้ความสมดุลน้ำเป็นดัชนีบอกถึงขอบเขตจำกัด ผลลัพธ์จากการจำลองสถานการณ์จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถจะทำให้ทราบว่า ในอนาคตหากมีประชากรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศสุดโต่งไปทั้งในด้านฝนชุกกว่าเกณฑืปกติ และในด้านฝนแล้งกว่าเกณฑ์ปกติ รวมทั้งมีอุปทานการใช้น้ำแต่ละประเภทหนึ่งประเภทใดขึ้นสูงสุดตามศักยภาพที่พึงเป็นไปได้แล้ว อุปสงค์การใช้น้ำแต่ละประเภทจะเป็นอย่างไร จึงจะยังสามารถรักษาสมดุลน้ำเอาไว้ได้ เพื่อใช้เป็นดัชนีวัดพัฒนาการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำประแสร์ในอนาคต ผลสรุปได้ว่า กรณีที่ 1 เป็นการจำลองในสภาพปัจจุบัน มีการบริหารจัดการน้ำจากอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ส่วนในกรณีที่ 2 เมื่อเพิ่มการผันน้ำไปในอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และหนองปลาไหล จำนวน 90 ลูกบาศก์เมตรต่อปี รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทานส่วนขยายอีก 40,000 ไร่ แม้ว่าจะมีการผันน้ำมาจากอ่างเก็บน้ำวังโตนด จำนวน 70 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีแล้วก็ตาม พบว่าการใช้น้ำเริ่มเกินสมดุล และเริ่มขาดแคลนน้ำ ส่วนกรณีที่ 3 ซึ่งเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามแนวท่อส่งน้ำอีก 40,00 ไร่ และกรณีที่ 4 ซึ่งเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามแนวท่อส่งน้ำมากขึ้นไปอีก เป็น 80,000 ไร่ พบว่าขาดแคลนน้ำอย่างแน่นอน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ.30/2558
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ (กรมชลประทาน) (rada_ru@rid.go.th) on 2017-08-03T07:14:07Z No. of bitstreams: 1 สวพ.30-2558 โครงการวิเคราะห์ศักยภาพน้ำต้นทุน.pdf: 53571 bytes, checksum: 5d0b538e4e7973e8d5521c3493ad3b31 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิเคราะห์ศักยภาพน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำประแสร์ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ
กรมชลประทาน
2558
กรมชลประทาน
โครงการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤติ โครงการบริหารการทดสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างวัสดุ (ด้านวิศวกรรม) โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมโครงการลุ่มน้ำคลองวังโตนด คู่มือการบริหารจัดการน้ำโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ พร้อมจัดฝึกอบรมและให้ค้าแนะนำกลุ่มผู้ใช้น้ำ ของสำนักงานชลประทานที่ 9 การบริหารจัดการน้ำ และการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน การพัฒนาการบริหารจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเพื่อปฏิรูปภาคการใช้น้ำเกษตรกรรมของประเทศไทย เรื่องเล่าจากเกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการเติมน้ำ เติมชีวิต) โครงการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องวัดความชื้นของดิน สำหรับระบบบริหารจัดการน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่น้ำนอง ดัชนีชี้วัดปริมาณน้ำท่าเพื่อการบริหารจัดการน้ำสำหรับลุ่มน้ำมูล การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ด้วยแนวคิด วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ กรณีศึกษา มะม่วงน้ำดอกไม้ของชุมชนดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก