สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรนิภา เลิศศิลป์มงคล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ชื่อเรื่อง: การทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Stability Analysis for Pumpkin (Cucurbita spp.) by High Oil SeedVarietiesfor Commercial Utilization
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรนิภา เลิศศิลป์มงคล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดย ผศ.จานุลักษณ์ ขนบดี เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และจัดแปลงสาธิตพันธุ์ฟักทองขยายเมล็ดพันธุ์หลัก และรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 จากการศึกษาวิจัย พบว่าการทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ามันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ทดสอบพันธุ์ฟักทองพันธุ์ลูกผสมและพันธุ์ผสมปล่อย อย่างละ 3 พันธุ์ พบว่า ฤดูที่ 1 ระหว่าง มีนาคม ถึง สิงหาคม 2560 พันธุ์เบอร์ 4 และ 5 ให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ต่อไร่มากกว่า 20.0 กิโลกรัม และผลผลิตน้ำมัน ต่อไร่ มากกว่าหรือเท่ากับ 7.5 กิโลกรัม ฤดูที่ 2 ระหว่างตุลาคม 2560 ถึง เมษายน 2561 พบว่า จ. สระบุรี ให้ผลผลิตเมล็ดต่อไร่สูงกว่า จ. ลำปาง ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 43.7 และ 25.2 กิโลกรัม โดยพบว่า จ. ลำปาง พันธุ์ 1 ให้ผลผลิตเมล็ดต่อไร่สูงสุด เท่ากับ 35.9 กิโลกรัม และ จ. สระบุรี พบว่า พันธุ์ 1 2 และ 4 ให้ ค่าสูงสุด และรองลงมา เท่ากับ 60.7 59.2 และ 51.3 กิโลกรัม ปริมาณไขมันในเมล็ดและผลผลิตน้ำมัน ต่อไร่ พบว่า พันธุ์ 4 2 และ 3 ให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ ร้อยละ 52.8 48.1 และ 46.5 และผลผลิต น้ำมันต่อไร่พบว่า พันธุ์ 1 2 และ 4 ให้ผลผลิตเท่ากับ 20.1 18.7 และ 17.2 กิโลกรัม การผลิต ณ จ. ลำปาง พบว่า การผลิตในฤดูที่ 2 ให้ผลผลิตเมล็ดต่อไร่สูงกว่า เท่ากับ 25.2 และ 16.9 กิโลกรัม แต่ผลผลิตต่อไร่ของการผลิตในฤดูที่ 1 ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า เท่ากับ 1.3 และ 0.9 ตัน ตามลำดับ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัย ได้พันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงและมีเสถียรภาพในการปลูกมากกว่า 1 ภาค ของประเทศไทย ตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชได้พันธุ์ใหม่ที่สามารถสร้างตลาดสินค้าเกษตรที่เพิ่มมูลค่า และภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจอาหารสุขภาพสามารถนำไปเพิ่มมูลค่าขึ้นทะเบียนพันธุ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560-03-15
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-03-14
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
14 มีนาคม 2561
การทดสอบเสถียรภาพของพันธุ์ฟักทองที่มีน้ำมันในเมล็ดสูงเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การศึกษาทดสอบการสาวไหมพันธุ์ไทยลูกผสมเชิงพาณิชย์ โครงการย่อยที่ 1 การปรับปรุงพันธุ์ฟักทองที่เมล็ดมีน้ำมัน และสารพฤกษเคมีสูง 2559A17001006 การสร้างมูลค่าฟักทอง (Cucurbita spp.) ด้วยการพัฒนาสายพันธุ์ที่มีน้ำมันในเมล็ดสูง และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารต้านอนุมูลอิสระและดัชนีน้ำตาลต่ำ (แผนงาน) โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งของข้าวโพดฝักอ่อนจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง เสถียรภาพของพันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ต้นแบบการผลิตพันธุ์ปลากะรังที่มีมูลค่าสูงเชิงพาณิชย์ การใช้ประโยชน์จากน้ำมันสบู่ดำในการผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากส่วนเหลือใช้และบกพร่องจากการปลูกของต้นและผลเผือกหอมชุมชนอำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรีเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก