สืบค้นงานวิจัย
การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำหลังการหว่านข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์
พนิดา ปรีเปรมโมทย์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำหลังการหว่านข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Soil Management by Using of Green Manure and Liquid Organic Fertilizer after Sowing for Increasing Organic Rice Yield
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พนิดา ปรีเปรมโมทย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจัดการดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำหลังการหว่านข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ ทำการทดลองในพื้นที่ของเกษตร ม.4 ต.ไร่ใหม่พัฒนา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 10 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วยตำรับควบคุม ตำรับวิธีการปลูกของเกษตรกร ตำรับปลูกปอเทืองและถั่วพุ่มดำพร้อมหว่านข้าวร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตราต่างๆ จากการทดลองพบว่า ผลผลิตข้าวในการทดลองปีที่ 1-3 ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ตำรับวิธีการปลูกของเกษตรกรให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 3 ปี สูงสุด 505.67 กก./ไร่ รองลงมาได้แก่ ตำรับปลูกถั่วพุ่มดำพร้อมหว่านข้าวร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำอัตรา 5 ลิตร/ไร่ เท่ากับ 504.87 กก./ไร่ และตำรับควบคุมให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากับ 390.92 กก,/ไร่ ซึ่งการปลูกพืชปุ๋ยสดพร้อมกับการหว่านข้าวไม่ทำให้ผลผลิตข้าวแตกต่างจากการปลูกพืชปุ๋ยสดก่อนปลูกข้าวแล้วไถกลบ และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำในอัตราที่เหมาะสมไปพร้อมกับการเอาน้ำเข้าแปลงเพื่อช่วยย่อยสลายพืชปุ๋ยสดจะให้ผลผลิตข้าวสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสำหรับการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินพบว่า ค่า pH หลังการปลูกพืชในการทดลองปีที่ 1-3 อยู่ในช่วง 5.50-6.47 5.70-6.20 และ 5.30-6.00 ตามลำดับ ปริมาณอินทรียวัตถุในดินทุกตำรับการทดลองมีค่าเพิ่มสูงขึ้น ยกเว้นตำรับควบคุมในการทดลองปีที่ 1 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ในการทดลองปีที่ 1 และ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนปีที่ 3 มีแนวโน้มลดลงจากปีแรก ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้และปริมาณแคลเซียมในดินที่สกัดได้ มีค่าเพิ่มสูงขึ้นในการทดลองปีที่ 1 สำหรับในการทดลองปีที่ 2 และ 3 มีแนวโน้มลดลง ส่วนปริมาณแมกนีเซียมในดินที่สกัดได้ พบว่า ตำรับที่ปลูกปอเทืองร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตร/ไร่ มีปริมาณแมกนีเซียมในดินที่สกัดได้สูงสุด 308.00 มก./กก. ส่วนหลังการปลูกพืชในการทดลองปีที่ 2 และ ปีที่ 3 มีแนวโน้มลดลงจากการทดลองปีที่ 1
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-05-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำหลังการหว่านข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง การย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชปุ๋ยสดภายใต้สภาพดินร่วนปนทราย การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดการตอซังข้าว ร่วมกับพืชปุ๋ยสดและปุ๋ยอินทรีย์น้ำเพื่อการผลิตข้าวอินทรีย์ ผลการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่างชนิดต่อผลผลิตข้าวนอกนา อิทธิพลของปุ๋ยหมักอัตราต่าง ๆ ร่วมกับปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตพืชผักในกลุ่มชุดดินที่ 33 การทำลายของศัตรูข้าวในการผลิตข้าวอินทรีย์เมื่อใช้ปุ๋ยพืชสดที่อัตราต่าง ๆ การประยุกต์ใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่ากับการผลิตข้าวอินทรีย์ การจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสดหลายชนิด สำหรับการปลูกข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 7

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก