สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
พิเชษฐ เวชวิฐาน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Study on rate and time using of organic fertilizer for jasmine rice productivity
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิเชษฐ เวชวิฐาน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของคณะทรัพยากรธรรมชาติ อ.พังโคน จ.สกลนคร และ สมาคมเกษตรกรก้าวหน้า อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ในฤดูปลูกปี 2548-51 วางแผนการทดลองแบบ RCBD มี 4 ซ้ำ โดยเปรียบเทียบอัตราปุ๋ย (อัตรา 100 200 และ 400 กก./ไร่) และ ระยะเวลาใช้ (การใส่ครั้งเดียวก่อนปักดำ และ การแบ่งใส่ 2 ครั้งเมื่อปักดำและ 30 วันหลังปักดำ) พบว่าการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 100 200 และ 400 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งแบบใส่ครั้งเดียวก่อนปลูก และ แบบแบ่งใส่สองครั้งมีความสูงของต้นและน้ำหนักเมล็ดข้าวไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ปลูกในพื้นที่ของคณะทรัพยากรธรรมชาติมีความสูงต้น การแตกกอ และน้ำหนักเมล็ดข้าวมากกว่าการปลูกในพื้นที่ของสมาคมเกษตรกรก้าวหน้า โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์แบบครั้งเดียวก่อนปลูกมีการแตกกอมากกว่าการใส่แบบแบ่งใส่สองครั้ง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่อเนื่องกันทำให้มีปริมาณเมล็ดดีมากขึ้น และปริมาณเมล็ดลีบลดลง และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลผลิตสูงกว่าการใส่อัตรา 200 และ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Study on rate and time using of organic fertilizer for jasmine rice productivity were organic farm system at faculty of Natural Resourses, Pangkon, Sakon Nakhon and Foundation of Farmer Progression, Trakanpuepol, Ubon-ratchatani area. There was during season grown on 2005-2008. The experimental plan was randomized complete block design (RCBD) with 4 replications. There were compared on organic fertilizer rates: 100, 200 and 400 Kg./rai and time methods : one time (before planting) , two times (before planting and 30 days after planting). Found that, Used organic fertilizer rates: 100, 200 and 400 Kg./rai and time methods : one time and two time were not difference on plant height and grain weight of rice. The plant height, culm rate and grain weight at Faculty of Natural Resources area were higher than Foundation of Farmer Progression area. Used organic fertilizer with one time method was high culm rate. Used organic fertilizer to continue were increase grain yield and decrease incomplete grain. And Using organic fertilizer rates 400 Kg./rai was highest yield higher than used 200 and 100 Kg./rai., respectively.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2551
เอกสารแนบ 1
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิ การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดในการทำนาหว่านแห้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์น้ำในอัตราที่เหมาะสมเพื่อผลิตถั่วฝักยาวในระบบเกษตรอินทรีย์ การเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการจัดการธาตุ อาหารรอง จุลธาตุอาหาร การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอตุสาหกรรม การใช้ยิปซั่ม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกรร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อผลิตถั่วเหลืองฝักสดในระบบเกษตรอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ สำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยี การศึกษาชนิดและอัตราที่เหมาะสมของถ่านชาร์ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดินเค็ม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก