สืบค้นงานวิจัย
ผลของเปลือกกล้วยน้ำว้าหมักต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของสุกรขุนระยะสุดท้าย
ณรกมล เลาห์รอดพันธ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของเปลือกกล้วยน้ำว้าหมักต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของสุกรขุนระยะสุดท้าย
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Banana Peel Silage (Musa sapientum L.) on Growth Performance and Carcass Quality in Last Period of Fattening Pigs
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณรกมล เลาห์รอดพันธ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Norakamol Laorodphan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทดแทนอาหารข้นด้วยเปลือกกล้วยหมักต่อประสิทธิภาพ การเจริญเติบโตและคุณภาพซากของสุกรขุนระยะสุดท้าย โดยใช้สุกรลูกผสม จำนวน 16 ตัว วางแผนการทดลองแบบ สุ่มสมบูรณ์ และวิเคราะห์ผลทางสถิติแบบ T-test แบ่งการทดลองออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 8 ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุมสุกรได้รับ อาหารข้นสำเร็จรูปร้อยละ 100 (control และกลุ่มทดลองสุกรจะได้รับอาหารข้นสำเร็จรูปร้อยละ 95 และทดแทนอาหารข้น ด้วยเปลือกกล้วยหมักร้อยละ 5 โดยคิดในรูปของวัตถุแห้ง (BPS 5%) ทดลองเป็นเวลา 35 วัน ผลการทดลองพบว่าน้ำหนัก เริ่มต้น น้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวไม่แตกต่างกันทาง สถิติ (P>0.05) ส่วนคุณลักษณะซากพบว่ากลุ่ม BPS มีร้อยละของเนื้อส่วนสันในมีแนวโน้มสูงกว่ากลุ่ม control(P>0.05) แต่ความหนาไขมันสั่นหลัง ร้อยละของเนื้อสะโพก พื้นที่หน้าตัดเนื้อสันนอก ร้อยละของซาก และร้อยละของเนื้อแดง ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าเปลือกกล้วยหมักสามารถทดแทนอาหารข้นได้ร้อยละ 5 ของการขุนสุกรในช่วงน้ำหนักตัว 105+5 ถึง125+5 กิโลกรัม
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to determine the effect of replacing concentrate feed with banana peel silage on growth performance and carcass quality in the last period (105±5-125±5 kgBW) of fattening pig. Sixteen crossbred pigs (Large White×Landrace×Duroc) were divided into 2 groups of 8 animals in a completely randomized design (CRD) and using T-test for statistical analysis. The control group, the pigs was fed with 100% concentrate feed and the experimental group was fed with 95% concentrate plus 5% (in DM) banana peel silage (BPS). Feeding period lasted for 35 days. The results were showed no significantly different between two treatment groups (P>0.05) on initial weight, final weight, body weight gain, ADG and FCR. Additionally, carcass characteristics were indicated that fillet percentage of BPS group tended to be higher than the control group (P>0.05). But fat thickness, ham percentage, LM area, dressing percentage and lean percentage were not different (P>0.05). According to the results of this research, it is suggested that replacing concentrate feed with banana peel silage at 5% of DM could be used in during 105±5 to 125±5 kgBW.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P006 Ani081.pdf&id=2712&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของเปลือกกล้วยน้ำว้าหมักต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของสุกรขุนระยะสุดท้าย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเสริมใบเมี่ยงต่อสมรรถภาพการผลิต และคุณภาพซากของไก่เนื้อ ผลการเสริมผลิตภัณฑ์สารสกัดหยาบจากใบฝรั่งในอาหาร ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและลักษณะคุณภาพซากของสุกร การศึกษาสมรรถภาพการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และองค์ประกอบของไขมันในเนื้อของไก่พื้นเมืองอินทรีย์ ผลของอุณหภูมิและเวลาในการสกัดแบบอัลตราโซนิกต่อปริมาณสารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเปลือกกล้วยน้ำว้า ผลของการเสริมกวาวเครือขาว (Pueraria mirifica) ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตระดับคอเลสเตอรอลไตรกลีเซอไรด์และคุณภาพซากในไก่เนื้อสามสายพันธุ์ ผลของการเสริมเปลือกกล้วยหมักร่วมกับยีสต์ในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของเป็ดไข่ ผลของการใช้ใบปอสาหมักแห้งในอาหารต่อลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของสุกรขุน อิทธิผลของสายพันธุ์และอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต และคุณภาพซากในสุกรพันธุ์ลูกผสมพื้นเมือง ผลการใช้กากมันสำปะหลังหมักต่อสมรรถภาพการผลิตในเป็ดไข่รุ่น ผลของไพลและขิงในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก