สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร
สำเนาว์ เสาวกูล - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of organic culture on Nile tilapia in rice field for technology transfer to farmer
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำเนาว์ เสาวกูล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าว โดยการเปรียบเทียบระหว่างการปลูก ข้าวระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว และการเลี้ยง ปลานิลระบบอินทรีย์ในนาช้าว โดยปลานิลที่นำมาทดลองเลี้ยง มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 5.65 กรัม ความยาว 5.35 เซนติเมตร ระยะเวลาในการเลี้ยง 16 สัปดาห์ (4 เดือน) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าน้ำหนักเฉลี่ยของการเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว และการเลี้ยงปลานิลระบบ อินทรีย์ในนาข้าว เท่ากับ 99.08 กรัม และ 125.45 กรัม อัตราการรอดตายเท่ากับ 78.32 และ 72.00 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ เท่ากับ 2.38 และ 1.82 ตามลำดับ ผลผลิตของข้าวจากแปลงนาที่มีการปลูกข้าวระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว และการเลี้ยงปลานิล ระบบอินทรีย์ในนาข้าวมีผลผลิตทั้งสิ้นเท่ากับ 409.20 กิโลกรัมต่อไร่ และ 529.10 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน การปลูกข้าวระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว การเลี้ยง ปลานิลระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว และการเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวผลตอบแทนของ การลงทุนในแต่ละระบบ คือรายได้ทั้งหมดที่ได้จากการผลิตมีคำเท่ากับ 1,956.80 24,729.60 และ 18,408.70บาท ตามลำดับ มีรายได้สุทธิ เท่ากับ 1,184.30 11,945.88 และ 9,497.09 บาท และ กำไรเท่ากับ 978.30 11 , 739.88 และ 9,291.09 บาท ตามลำดับ ส่วนผลตอบแทนของการลงทุนมี ค่าเท่ากับ 99.98 90.38 และ 101.90 เปอร์เซ็นต์ จุดคุ้มทุนของการผลิตมีค่าเท่ากับ 1,957.00, 25,979.44และ 18,235.21 บาท/ไร่ ตามลำดับ ชนิดและปริมาณแพลงก์ตอน การปลูกข้าวระบบ อินทรีย์เพียงอย่างเดียว พบแพลงก์ตอนทั้งสิ้น 36 สกุล จำแนกเป็นแพลงก์ตอนพืช 4 ดิวิชั่น จำนวน 25 สกุล และแพลงก์ตอนสัตว์ 3 ไฟลัม จำนวน 11 สกุล การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ เพียงอย่างเดียวพบแพลงก์ตอนทั้งสิ้น 35 สกุล จำแนกเป็น แพลงก์ตอนพืช 3 ดิวิชั่น จำนวน 23 สกุล และ แพลงก์ตอนสัตว์ 3 ไฟล้ม จำนวน 12 สกุล และการเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าว พบแพลงก์ตอนทั้งสิ้น 37 สกุล จำแนกเป็น แพลงก์ตอนพืช 4 ดิวิชั่น จำนวน 25 สกุล และ แพลงก์ตอนสัตว์ 3 ฟลัม จำนวน 12 สกุล ชนิดและปริมาณของสัตว์หน้าดิน ในการปลูกข้าว ระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียวพบสัตว์หน้าดิน 16 ครอบครัว การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์เพียง อย่างเดียว พบสัตว์หน้าดิน 13 ครอบครัว และการเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวพบ สัตว์หน้าดิน 13 ครอบครัว สัตว์หน้าดินที่พบมากและเป็นครอบครัวเด่นในแต่ละกลุ่มการทดลอง พบสัตว์หน้าดินในกลุ่มตัวอ่อนแมลง(Class Insecta) ในครอบครัว Chironomidae และกลุ่ม หอยฝาเดียว(Class Gastropoda) ในครอบครัว Ampullaridae จะมีความหนาแน่นมากตลอดการ ทดลอง พบแมลงและสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 20 สกุล จำแนกเป็นกลุ่มของแมลงและแมง (Class Insecta) 18 สกุล และกลุ่มหอยฝาเดียว (Class Gastropoda) 2 สกุล ในการเลี้ยงปลานิลระบบ อินทรีย์ในนาข้าว พบแมลงและสิ่งมีชีวิตทั้งหมด 16 สกุล จำแนกเป็นกลุ่มของแมลง และแมง (Class Insecta) 15 สกุล และกลุ่มหอยฝ่าเดียว (Class Gastropoda) 1 สกุลในการปลูกข้าว ระบบอินทรีย์เพียงอย่างเดียว แมลงและสิ่งมีชีวิตที่พบมาก และโดดเด่นในแต่ละกลุ่มการทดลอง พบแมลงและสิ่งมีชีวิตในกลุ่มตัวอ่อนแมลงหกขาทั่วไป (Class Insecta) พบอาศัยอยู่ตามต้นข้าว การศึกษาต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนรูปแบบการผลิตระบบอินทรีย์ในฟาร์มสาธิต ของกษตรกร จำนวน 4 แปลง คือ ฟาร์มนายณรงค์ โหมฮึก จำนวน 2 แปลง และนายวรรณ์ บำเพ็ญเพียร จำนวน 2 แปลง พบว่าต้นทุนการผลิตทั้งหมดมีคำเท่ากับ 19,794.23, 20,395.36 และ 25,028. 11, 25, 130.13บาท ตามลำดับ ผลตอบแทนของการลงทุนในแต่ละฟาร์ม คือรายได้ ทั้งหมดที่ได้จากการผลิตมีค่าเท่ากับ 27,566.02, 28,169.51 และ 54,438.10, 45,354.90 บาท ตามลำดับ รายได้สุทธิ เท่ากับ 7,844.51, 7,846.78 และ 29,525.13, 20,339.92 บาท และกำไร เท่ากับ 7,771.79, 7,774.15 แล ะ 29,409.99 , 20,224.78 บาท ตามลำดับ ส่วนผลตอบแทนของ การลงทุนมีค่าเท่ากับ 39.26, 38.12 และ 117.51, 80.48 เปร์เซ็นต์ ตามลำดับ จุดคุ้มทุนของการ ผลิตมีค่าเท่ากับ 18,327.99, 18,884.60 และ 14,636.32, 14,695.98บาท/ไร่ ตามลำดับ
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-02
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลานิลระบบอินทรีย์ในนาข้าวเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2552
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ปี 2547 จังหวัดศรีสะเกษ การจัดการโซ่อุปทานการผลิตข้าวอินทรีย์ของกลุ่มสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ทัพไทย จำกัด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยี bio-flocs ในการเลี้ยงกุ้งขาวและปลานิลแบบผสมผสาน การเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ดีและถ่ายทอดงานวิจัยสู่เกษตรกรจังหวัดสระบุรี สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ตามโครงการสุรินทร์เมืองเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและสารพิษ ปี 2546 ของเกษตรกร ตำบลนาบัว อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ แนวทางการใช้ prebiotic และ probiotic เสริมในอาหารเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ เพื่อเข้าสู่ ระบบฟาร์มสัตว์น้ำตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2548 จังหวัดอุทัยธานี ความต้องการการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินของเกษตรกรในจังหวัดลำปาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก