สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดตาก
ชูชาติ สันธทรัพย์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดตาก
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Slow-release Fertilizer on Growth, Yield, and Seed Qualities of Field Corn in Tak Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชูชาติ สันธทรัพย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Choochad Santasup
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กนกวรรณ นพพรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Kanokwan Noppan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ ได้ดำเนินการทดลองในพื้นที่ปลูกข้าวโพด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 ถึงเดือนเมษายน 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ และ 6 กรรมวิธีทดลอง ซึ่งประกอบไปด้วยอัตราการใส่ปุ๋ย (1) ปุ๋ยละลายช้า 75 กก./ไร่ (2) ปุ๋ยละลายช้า 100 กก./ไร่ (3) ปุ๋ยละลายช้าร่วมกับปุ๋ยเคมีธรรมดา 75 กก./ไร่ (4) ปุ๋ยละลายช้าร่วมกับปุ๋ยเคมีธรรมดา 100 กก./ไร่ (5) ปุ๋ยเคมีธรรมดา 100 กก./ไร่ และ (6) ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธีควบคุม ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปุ๋ยละลายช้าทุกกรรมวิธีไม่ได้ทำให้ความสูงของต้นข้าวโพด แตกต่างกับการใช้ปุ๋ยเคมีธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยละลายช้าตามกรรมวิธีที่ 1 ในอัตรา 75 กก./ไร่ (ใส่ 2 ครั้ง รองพื้นด้วย 13-10-20, 25 กก./ไร่ และที่ระยะ 30 วันหลังปลูกด้วย 25-15-0, 50 กก./ไร่) ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีธรรมดา (20-10-10) ในอัตรา 100 กก./ไร่ (รองพื้น 50 กก. ที่ระยะ 20 วันหลังปลูก 25 กก. และ ที่ระยะ 40 วันหลังปลูก 25 กก.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการใส่ปุ๋ยละลายช้าทั้ง 4 กรรมวิธี ไม่ทำให้คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ (น้ำหนัก 100 เมล็ด อัตราการงอก และดัชนีการงอก) ต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีธรรมดาที่อัตรา 100 กก./ไร่ ซึ่งจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยละลายช้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเมล็ดพันธุ์อาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดตาก เนื่องจากข้อได้เปรียบทางด้านคุณสมบัติของปุ๋ยละลายช้า ทำให้ลดปริมาณการใช้ปุ๋ย และลดจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิต
บทคัดย่อ (EN): Field experiment was carried out during November 2011 - April 2012 in northern Thailand at Mae Ra Mad district, Tak province in order to evaluate the effects of slow-release fertilizer applications on growth, yield and seed quality of field corn. The experimental design was a randomized complete block design (RCBD) with 4 replications and 6 treatments. The treatments were as follows; (1) 75 kg/rai of slow-release fertilizer, (2) 100 kg/rai of slow-release fertilizer, (3) 75 kg/rai of slow-release fertilizer incorporated with common chemical fertilizer (4) 100 kg/rai of slow-release fertilizer incorporated with common chemical fertilizer, (5) 100 kg/rai of common chemical fertilizer and (6) no fertilizer as the control treatment. The results showed that the height of field corn obtained by the application of slow-release fertilizers did not significantly differ from the common chemical fertilizer (20-10-10). However, the application of slow-release fertilizer at the rate of 75 kg/rai (25 kg/rai of 13-10-20 as basal application and 50 kg/rai of 25-15-0 at 30 DAP) produced a significantly higher yield than the application of common chemical fertilizer (20-10-10) at the rate of 100 kg/rai (50 kg as basal application, 25 kg at 20 DAP and 25 kg at 40 DAP). In addition, it was found that the seed qualities (100-seed weight, germination rate and germination index) by applied the slow-release fertilizer treatments, did not significantly differ from the common chemical fertilizer (20-10-10). The results from this studies suggested that the application of slow-release fertilizer at the rate of 75 kg/rai (treatment 1) seem to be the most promising fertilizer program for corn seed production in Tak province due to higher efficiency, reduction in fertilizer usage, and decrease the number of applications as a result of reduced labor and production costs.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246022/168179
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้ปุ๋ยละลายช้าต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอาหารสัตว์ ในพื้นที่จังหวัดตาก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การใช้ประโยชน์ต้นข้าวโพดหลังเก็บฝักเป็นอาหารสัตว์ 2) สำหรับโครีดนม อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก