สืบค้นงานวิจัย
อัตรารอดตายของการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)ที่ปรับลดความเค็ม 4 รูปแบบ
จิระยุทธ รื่นศิริกุล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: อัตรารอดตายของการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)ที่ปรับลดความเค็ม 4 รูปแบบ
ชื่อเรื่อง (EN): Survival Rate of Spotted Scat (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) Larvae Rearing by 4 Salinity Reduction Trails
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิระยุทธ รื่นศิริกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jirayuth Ruensirikul
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาอัตรารอดของลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus,1766) อายุ 1-20 วัน และ 21-45 วัน ที่อนุบาลโดยการปรับลดความเค็มรูปแบบต่างๆ ตามช่วงอายุของลูกปลา พบว่า อัตรารอด (%) ของลูกปลาอายุ 1-20 วันในทุกรูปแบบมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) คืออยู่ในช่วง 10.42 + 4.12 ถึง 19.25 + 7.42 ร้อยละอัตรารอดของลูกปลาอายุ 21-45 วัน พบว่า ลูกปลาที่อนุบาลโดยค่อยๆ ปรับลดความเค็มลงตั้งแต่เริ่มอนุบาล มีค่า 93.83 + 3.06 และ 90.00 + 12.26 สูงกว่าการลดความเค็มในช่วงหลัง มีค่า 52.67 + 17.91 และไม่ลดความเค็ม มีค่า 51.67 + 2.36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P0.05) และศึกษาการเจริญเติบโตของลูกปลาตะกรับอายุ 45–120 วันที่อนุบาลในน้ำความเค็มต่ำ คือ 2.5 5.0 7.5 และ 10 ส่วนในพันส่วน พบว่าระดับความเค็ม 5.0 ส่วนในพันส่วน ลูกปลามีน้ำหนัก 13.13 + 2.65 กรัม และความยาวเหยียด 6.18 + 0.44 ซม. สูงสุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับระดับความเค็มอื่นๆ ดังนั้นการอนุบาลลูกปลาตะกรับตั้งแต่แรกฟักจนถึงระยะวัยรุ่น ควรปรับลดความเค็มลงก่อนอายุ 20 วัน เพื่อเพิ่มอัตรารอดให้สูงขึ้นและจากระยะวัยรุ่นจนถึงหลังระยะวัยรุ่น (post-juvenile) ควรใช้ระดับความเค็มต่ำที่ 5 ส่วนในพันส่วน เพื่อทำให้ลูกปลามีการเจริญเติบโตดีที่สุด
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 88,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตรารอดตายของการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)ที่ปรับลดความเค็ม 4 รูปแบบ
กรมประมง
30 กันยายน 2554
กรมประมง
ผลการเสริมกรดไขมันที่จำเป็นระดับต่างกันให้โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมียต่อการเจริญเติบโตและ อัตรารอดตายของลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ผลของระดับความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดในการอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) การเจริญเติบโตและอัตรารอดของลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ที่อนุบาลด้วยอาหารสำเร็จรูปเสริมด้วยสาหร่ายไส้ไก่ (Ulva intestinalis) ผลของความเค็มน้ำต่อการอนุบาลลูกปลากดแก้ว การอนุบาลลูกปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766)โดยการใช้อาหารสำเร็จรูปทดแทนอาร์ทีเมีย การอนุบาลลูกปลาซิวควายพม่า ความสำเร็จในการผสมเทียมปลาตะกรับ, Scatophagus argus Linnaeus, 1766 โดยใช้ฮอร์โมน LHRHa เทคนิคการนำน้ำเชื้อปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ไปใช้เพื่อการผสมเทียม ผลความหนาแน่นของการเลี้ยงปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) ในกระชังที่แขวนบ่อดิน การพัฒนาการของอวัยวะสืบพันธุ์ปลาตะกรับ (Scatophagus argus Linnaeus, 1766) จากการเพาะพันธุ์
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก