สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร
นงค์เยาว์ มณี - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison on Growth Performance of Four Populations of Striped Catfish (Pangasianodon hypophthalmus)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นงค์เยาว์ มณี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nongyao manee
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร คือ (1) กลุ่มประชากร กำแพงเพชร (2) กลุ่มประชากรอุบลราชธานี (3) กลุ่มประชากรยโสธร และ (4) กลุ่มประชากรสุรินทร์ ในบ่อ ดินขนาด 400 ตารางเมตร เลี้ยงปลาสวายทั้ง 4 กลุ่มประชากร รวมในบ่อเดียวกัน อัตราปล่อยกลุ่มปร ะชากร ละ 100 ตัวต่อบ่อ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร ปลาทดลองมีความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 5.83±0.14, 5.76±0.14, 5.84±0.14 และ 5.86±0.11 เซนติเมตร ตามลำดับ น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 1.66±0.16, 1.60± 0.20, 1.63±0.11 และ 1.63±0.17 กรัม ตามลำดับ ให้ปลากินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ วันละ 2 ครั้ง เวลา 09.00 น. และ 15.30 น. ทดลองเลี้ยงระหว่างเดือน สิงหาคม 2551 ถึง กุมภาพันธ์ 2552เป็นเวลา 6เดือน ผลการทดลองพบว่าความยาวสุดท้ายเฉลี่ย น ้าหนักสุดท้ายเฉลี่ย น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน และ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยของปลาสวายทุกกลุ่มประชากร ไม่แตกต่างกันทางสถิติ(α = 0.05) โดยมี ค่าเท่ากับ 30.18±1.59, 29.82±1.26, 30.42±0.82, 30.36±1.23 เซนติเมตร, 189.86±26.29, 186.33± 22.72, 189.07±26.41, 188.43±22.67 กรัม. 1.14±0.15, 1.11±0.13, 1.13±0.13, 1.13±0.13 กรัม/วัน และ 2.96±0.06, 2.83±0.10, 2.86±0.12และ 2.82±0.09 เปอร์เซ็นต์/วัน ตามลำดับ สำหรับอัตราการ รอดตายของกลุ่มประชากรกำแพงเพชรมีค่าเท่ากับ 94.00±1.15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ(α = 0.05) กับทุกกลุ่มประชากร ขณะที่กลุ่มประชากรอุบลราชธานี กลุ่มประชากรยโสธร และกลุ่ม ประชากรสุรินทร์ พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ(α = 0.05)โดยมีค่าเท่ากับ 81.00±1.41, 85.00±2.44 และ 81.00±2.37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากผลการทดลองครั้งนี้พบว่าปลาสวายทั้ง 4 กลุ่มประชากรมีอัตราการ เจริญเติบโตที่ดีสามารถใช้ในการเพาะเลี้ยงได้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาประกอบกับ อัตราการรอดตาย พบว่ากลุ่มประชากรกำแพงเพชรมีความเหมาะสมในการเพาะเลี้ยงมากที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Culture of four populations of striped catfish (Pangasius hypopthalmus) including, Kamphaeng Phet, Ubon Ratchathani, Yasothon and Surin population in 400 m2 earthern pond was studied at Yasothon Inland Fisheries Research and Development Center. Fish of four populations had initial size of 5.83±0.14, 5.76±0.14, 5.84±0.14 and 5.86±0.11 cm, and 1.66±0.16, 1.60±0.20, 1.63±0.11 and 1.63 + 0.17 g, respectively. Each population was stocked in the same pond at 100 individual/pond. Fish were fed with 30 % protein commercial floating pellet twice a day at 09.00 AM and 03.30 PM during August 2008to February 2009 for 6 months. The results showed that the final body length, final body weight, daily weight gain and specific growth rate of four populations had no significant differences (α = 0.05) which were 30.18±1.59, 29.82±1.26, 30.42±0.82, 30.36±1.23 cm, 189.86±26.29, 186.33±22.72, 189.07±26.41, 188.43± 22.67 g, 1.14±0.15, 1.11±0.13, 1.13±0.13, 1.13±0.13 g/day, 2.96±0.06, 2.83±0.10, 2.86±0.12 and 2.82±0.09 %/day respectively. In contrast, Kamphaeng Phet population had significantly (α = 0.05) higher survival rate (94.00±1.15 %) than Ubon Ratchathani (81.00±1.41 %), Yasothon(85.00±2.44 %) and Surin population (81.00±2.37 %), whereas, there were no significant differences (α= 0.05) among the three populations. Overall, all of four populations can be used for aquaculture. However, in conclusion fish of Kamphaeng Phet population is more suitable for aquaculture than the rest when survival rate are considered.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 53-0582-53068
ชื่อแหล่งทุน: ไม่ใช้งบประมาณ
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: ไม่มี
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 0
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย (CC BY 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดยโสธร
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ต.ค. 2551 - มี.ค. 2553
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง
2553
เอกสารแนบ 1
การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาสวาย 4 กลุ่มประชากร การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของปลาชะโอน 5 กลุ่มประชากร ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของสายพันธุ์ปลานิลที่เลี้ยงในจังหวัดพะเยา ผลของวิธีการกระตุ้นการเจริญเติบโตหลังการฉีดอสุจิเข้าในไข่โคต่ออัตราการเจริญเติบโตของตัวอ่อนและอัตราการตั้งท้องหลังการย้ายฝากตัวอ่อน ผลของวิตามินละลายน้ำที่จำเป็นต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายลูกปลากดเหลือง การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลจิตรลดา การคัดเลือกแบบหมู่เพื่อการเจริญเติบโตของปลายี่สกเทศ

แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย (CC BY 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก