สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
สมจิตร ทองอิสาณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมจิตร ทองอิสาณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและตลาดพริกของเกษตรกรอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกพริก สภาพการผลิตและการตลาดพริก ปัญหาอุปสรรคและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกพริก โดยการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 214 ในอำเภอโนนสูง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุเฉลี่ย 46.87 ปี เกษตรกรร้อยละ 68.22 จบการศึกษาประถมปีที่ 4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.26 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.56 คน ประกอบอาชีพการทำนา พื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 14.85 ไร่ มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเป็นของตนเองมีรายได้ในภาคเกษตรเฉลี่ย 33,129.44 บาท รายได้เกษตรกรนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 34,462.86 บาท รายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 68,793.92 บาท เกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 2.06 ไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกพริกเฉลี่ย9.79 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพริกพันธุ์ป่ารัง มีลักษณะดินปลูกพริกเป็นดินเหนียว เกษตรกรปลูกพริกในช่วงเดือนธันวาคม เกษตรกรเพาะกล้าเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่เฉลี่ย 0.95 กิโลกรัม ใช้กล้าพริกอายุเฉลี่ย 43.37 วัน ใช้ระยะปลูกพริก 50x100 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก อัตราเฉลี่ย 467.10 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราเฉลี่ย 86.14 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกโดยใช้แหล่งน้ำธรรมชาติ มีการระบาดของโรคใบหงิก โรคผลเน่า โรคใบจุด โรคเหี่ยว เพลี้ยไฟ และเกษตรกรมีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพริกเกษตรกรเก็บเกี่ยวพริกอายุเฉลี่ย 83.8 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตพริกเฉลี่ย 12.92 ครั้ง ผลผลิตพริกสดต่อไร่เฉลี่ย 1,725.93 กิโลกรัม ราคาขายเฉลี่ย 14.32 บาท ต่อกิโลกรัม ต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 5,899.86 บาท กำไรสุทธิเฉลี่ยไร่ละ 10,358.40 บาท ปัญหาในการผลิตและการตลาดพริก จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีปัญหาการผลิตพริกในระดับมากได้แก่ ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ราคาผลผลิตไม่แน่นอน ส่วนข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน การเพาะกล้าพริกและอายุกล้าที่เหมาะสม การคัดขนาดผลผลิตก่อนจำหน่าย การตลาดพริก การรวมกลุ่มและมีเงินทุนหมุนเวียน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตและการตลาดพริกสด กรณีศึกษาตำบลลำมูล อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลสำนักตะคร้อ กิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกรในตำบลบัลลังก์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาการผลิตและการตลาดพริก สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย สภาพการผลิตพริกของเกษตรกรอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก