สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเก็บรักษาน้ำเชื้อในรูปแบบวุ้นที่อุณหภูมิ 5°ซ ต่อการเคลื่อนที่และอัตราการผสมติดของน้ำเชื้อไก่พื้นเมือง
พรจิต สอนสีดา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเก็บรักษาน้ำเชื้อในรูปแบบวุ้นที่อุณหภูมิ 5°ซ ต่อการเคลื่อนที่และอัตราการผสมติดของน้ำเชื้อไก่พื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of solid storage at 5°c on motility and fertility of Thai native chicken semen
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พรจิต สอนสีดา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pronjit Sonseeda
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเก็บรักษานํ้าเชื้อเจือจางของไก่พื้นเมืองในรูปแบบวุ้นต่อความสามารถในการเคลื่อนที่และอัตราการผสมติดของอสุจิภายหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °ซ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการเพื่อเปรียบเทียบผลของการเสริม gelatin และ agar ในนํ้ายาเจือจางสูตร IGGKP ต่อความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ประกอบด้วย 7 กลุ่มทดลอง คือ 1) นํ้ายาเจือจาง (กลุ่มควบคุม) 2) นํ้ายาเจือจาง+ gelatin 0.7% 3) นํ้ายาเจือจาง+ gelatin 1.4% 4) นํ้ายาเจือจาง+ gelatin 2.1% 5) นํ้ายาเจือจาง+ agar 0.3% 6) นํ้ายาเจือจาง+agar 0.5% 7) นํ้ายาเจือจาง+ agar 0.7% เก็บรักษานํ้าเชื้อที่ 5 °ซ เป็นเวลา 72 ชม. นํานํ้ายาเจือจางมาอุ่นที่อุณหภูมิ 37°ซ จากนั้นตรวจวัดความสามารถในการเคลื่อนที่ของอสุจิด้วยเครื่อง CASA ซึ่งพบว่าเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่รวม มีค่าเท่ากับ 56.0, 70.8, 70.0, 70.8, 56.6, 38.3 และ26.4 ตามลําดับกลุ่มที่เสริม gelatin มีค่าสูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่แบบตรงไปข้างหน้ามีค่าเท่ากับ 56.0, 58.6, 62.0, 62.9, 44.3, 24.0 และ 11.8 ตามลําดับ โดยกลุ่มที่เสริม gelatin ระดับ 1.4 และ 2.1 เปอร์เซ็นต์มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่เสริม agar (P<0.05) และเปอร์เซ็นต์อสุจิที่ไม่เคลื่อนที่มีค่าเท่ากับ 20.0, 4.8, 4.5,5.9, 16.2, 39.3 และ 52.0 ตามลําดับ ซึ่งกลุ่มที่เสริม gelatin มีค่าตํ่ากว่ากลุ่มอื่น (P<0.05) การเสริม gelatin ทําให้อสุจิที่เก็บรักษามีความสามารถในการเคลื่อนที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มที่เสริม agar สําหรับการทดลองที่ 2 มีทั้งหมด 7 กลุ่มทดลองเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 โดยเก็บรักษานํ้าเชื้อเป็นเวลา 72 ชม. จากนั้นนํานํ้าเชื้อไปผสมเทียมกับแม่ไก่ไข่ทางการค้าพบว่ามีอัตราการผสมติด 37.4, 47.2, 45.6, 30.5, 35.6,. 30.5, 35.6, 16.7 และ 4.40 % ตามลําดับ การเสริม gelatin ที่ระดับ 0.7% ให้อัตราการผสมติดสูงที่สุด โดยแตกต่างจากกลุ่มที่เสริม gelatin ที่ระดับ 2.1% และกลุ่มที่เสริม agar ทั้ง 3 ระดับ (P<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่เสริม gelatin ในระดับ 1.4% และกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเสริม gelatin มีผลดีต่อการรอดชีวิตของอสุจิไก่พื้นเมืองที่เก็บรักษา
บทคัดย่อ (EN): The objective of this research was to study effect of solid semen storage at 5°C on motility and fertility of Thai native chicken. Experiment 1, aim to evaluate the possible benefits of supplementation of gelatin and agar to IGGKP extender on motility of spermatozoa. The experiment was performed to compare between seven semen treatments on sperm motility in vitro, 1) extender (control), 2) extender + 0.7% gelatin, 3) extender + 1.4% gelatin, 4) extender + 2.5% gelatin, 5) extender + 0.3% agar, 6) extender + 0.5% agar and 7) extender + 0.7% agar. Semen samples were stored at 5°C for 72 h and four replication were carried on. After semen sample were prewarmed to 37°C the sperm motility characteristics were assessed using Computer-Assisted Sperm Analysis (CASA). The results showed that percentage of total motile sperm were 56.0, 70.8, 70.0, 70.8, 56.6, 38.3 and 26.4, respectively. The gelatin extender was superior to control and agar extender (P<0.05). Percentage of progressive motile sperm were 51.9, 58.6, 62.0, 62.9, 44.3, 24.0 and 11.8, respectively. The 1.4 and 2.1% gelatin extender was superior to control and agar extender (P<0.05). And percentage of static sperm were. 20.0, 4.8, 4.9, 5.9, 16.2, 39.3 and 52.0, respectively. The gelatin extender was lower than control and agar extender (P<0.05). In vitro storage of spermatozoa in gelatin extender improved motility. In experiment 2, the fertility test was carried on to compare seven groups of semen as in experiment 1. Semen were stored for 72 h. and then inseminated to layer hens. Fertility of eggs were 37.4, 47. 2, 45.6, 30.5, 35.6, 16.7 and 4.4%, respectively. The fertility of 0.7% gelatin group was higher than 2.1 % gelatin and agar groups (P<0.05) but it was similar to 1.4% gelatin and control groups. The result of the present study suggest that adding gelatin at appropriate level to the extender leads to improve the survival ability of Native chicken sperm in vitro at 5 °C.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250458/171287
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเก็บรักษาน้ำเชื้อในรูปแบบวุ้นที่อุณหภูมิ 5°ซ ต่อการเคลื่อนที่และอัตราการผสมติดของน้ำเชื้อไก่พื้นเมือง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของอุณหภูมิและวิธีการเก็บรักษาต่อแตนเบียนไข่, Trichogramma spp. ผลของน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อต่อการเก็บรักษาน้ำเชื้อไก่พันธุ์ซิลกี้ด้วยวิธีการแช่แข็ง ผลของ cysteine และ glutathione ต่อคุณภาพน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง ของไก่พื้นเมืองไทย แนวทางการใช้น้ำเชื้อไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำเพื่อตรวจสอบรูปแบบยีน 24BP-PRL สภาพการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและความพึงพอใจต่อการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยที่ได้รับการแจกไก่พื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ไก่พื้นเมืองไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ ผลของระยะเวลาการเก็บรักษาต่อการงอกหลังบ่มของหัวแก่นตะวัน ความหลากหลายของยีน STAT5B ของประชากรไก่พื้นเมืองท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนล่าง ความหลากหลายทางพันธุกรรมและจำแนกกลุ่มพันธุกรรมไก่พื้นเมืองในจังหวัดน่านด้วยไมโครแซทเทิลไลท์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก