สืบค้นงานวิจัย
การลดอาการสะท้านหนาวของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
อภิรดี เมืองเดช - มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชื่อเรื่อง: การลดอาการสะท้านหนาวของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Heat Treatment and Calcium Chloride on Chilling Injury of Mango cv. Nam Dok Mai
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิรดี เมืองเดช
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการใช้ความร้อนและสารละลายแคลเซียมคลอไรค์ต่ออาการสะท้านหนาว ของผลมะม่วงพันธุ์น้ำคอกไม้ โดยใช้วามร้อนที่อุณหภูมิ 34 และ 38 องศาเซลเซียส กับผลมะม่วง นาน 24, 48 และ 72 ชั่วโมง และการแทรกซึมด้วยสารละลายแคลเซียมคลอไรค์ 2.5, 5.0 และ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ที่ความดัน 600 และ 450 มิลลิเมตรปรอท ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ ร องศาเซลเซียส นาน 10, 20 และ 30 วัน ผลการทคลองปรากฏว่า ผลมะม่วงที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ องศาซลเซียสเป็นเวลานาน 30 วัน จะแสดงอาการสะท้านหนาวคือผลมะม่วงมีสีผิวคล้ำกว่าปกติ เนื้อเยื่อของผลเกิดการยุบตัว และเกิดการเน่าเสียมาก การรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์สามารถบ่งชี้ ความรุนแรงของอาการสะท้านหนาวได้ โคยพบว่า การรั่วไหลของสารอิเล็กโทร ไลต์เพิ่มมากขึ้น เมื่อผลมะม่วงเกิดอาการสะท้านหนาว ผลมะม่วงที่เกิดอาการสะท้านหนาวมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ด่ำ ปริมาณกรคที่ ไทเทรตได้สูง ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสีผิวและสีเนื้อลดลง มีการเกิดโรคมากขึ้น และ คุณภาพของผลต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผลมะม่วงที่สุกตามปกติที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 34 องศาเซลเซียส นาน 24 หรือ 48 ชั่วโมง และอุณหภูมิ 38 องศาเซลชียส นาน 24 ชั่วโมง กับผลมะม่วงก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส นาน 10 และ 20 วัน สามารถชะลออาการสะท้านหนาวของผลมะม่วงได้ แต่ผลมะม่วงมีการสูญเสียน้ำหนัก สูงและมีความแน่นเนื้อของผลต่ำกว่าผลมะม่วงที่สุกตามปกติที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส ผลมะม่วงที่ได้รับการแทรกซึมด้วยสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ที่ความ ดัน 600 หรือ 450 มิลลิเมตรปรอท และ ร.0 เปอร์เซ็นด์ ที่ความดัน 600 มิลลิเมตรปรอท ก่อนการ เก็บรักษาที่อุณหภูมิ องศาเซลเชียส นาน 10 วัน แสดงอาการสะท้านหนาวลดลง แต่เมื่อแทรกซึม ด้วยสารละลายแคลเซียมดลอไรด์ความข้มข้นสูงขึ้น และระยะเวลาการเก็บรักษานานขึ้น การแทรก ซึมด้วยสารละลายแคลเซียมตลอไรค์ไม่สามารถลดอาการสะท้านหนาวของผลมะม่วงได้ และยังทำ ให้ผลมะม่วงเกิดความเสียหายมากขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Effect of heat treatment and calciun chloride on chilling injury of mango cv. Nam Dok Mai was studied. Mango fruits were treated with hot air at 34 and 38*C for 24, 48 or 72 hours and by vacuum infiltration with 2.5, 5.0 and 7.5% calcium chloride at the pressure of 600 and 450 mmHg prior to be stored at 5*C for 10, 20 and 30 days. The result showed that mango stored at 5 *C for 30 days showed symptoms of chilling injury. Mango showed darker skin than normal, surface pitting and more decay. Electrolyte leakage can be used to deterrnine the severity of chilling injury. The chilling injury mango had higher elcctrolyte leakage than the normal one. Chilling injury mangoes had lower levei of total soluble solids, higher level of titratable acids, lower ability in changing skin and flesh colour, higher disease incidence and lower quality of fruit when compared with normal ripe- mango at 25 oC Hot air treatment of mango at 34 *C for 24 or 48 hours and at 38 C for 24 hours prior to be stored at 5 *C for 10 and 20 days were able to reduce symptoms of chilling injury. However, the mango lost more weight and flesh firmness than untreated fruit. Mango infiltrated with 2.5 % calcium chloride at 600 or 450 mmHg and 5 %o calcium chloride at 600 mmHg before being stored at 5 C for 10 days showed less chilling injury symptoms. Anyhow, vacuum infiltration with higher calcium chloride concentration could not reduce chilling injury of mango and cause fruit damage.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การลดอาการสะท้านหนาวของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง ก่อนการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
ผลของอุณหภูมิต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมี และการชะลออาการสะท้านหนาวของผลชมพู่ ผลของระยะเวลาการลดอุณหภูมิ ระดับอุณหภูมิ และภาชนะบรรจุ ต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง การเกิดอาการไส้สีน้ำตาลของผลสับปะรดพันธุ์ห้วยมุ่นภายหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การลดการเกิดอาการสะท้านหนาวในกล้วยหอมทอง กล้วยไข่ และ กล้วยน้ำว้า ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การลดอาการสะท้านหนาวในผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกด้วย salicylic acid และการตอบสนองทางการต้านอนุมูลอิสระ อิทธิพลของระดับอุณหภูมิและระยะเวลาในการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ต่อการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในขณะเก็บรักษา และคุณภาพหลังการเก็บรักษากล้วยหอมทอง การลดความเสียหายของสับปะรดฉายรังสีแกรมมาระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง ผลของการใช้อุณหภูมิสูงในการอบลดความชื้นต่ออายุการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของพารามิเตอร์บางประการต่อการคายน้ำของมะม่วงพันธุ์ แก้ว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก