สืบค้นงานวิจัย
ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย
ศิริวัลย์ สร้อยกล่อม, กฤตยา เพชรผึ้ง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Responses of oxidative stress caused by salinity in various varieties of Thai rice
บทคัดย่อ: ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย ซึ่งพื้นที่ปลูกครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีปัญหาเรื่องดินเค็ม การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนเค็มนั้นต้องใช้เวลาและแรงงานมาก ดังนั้นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพต่อการทนเค็มที่เหมาะสมอาจช่วยลดขั้นตอนในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่างๆ ของข้าวไทย โดยทำการทดสอบกับข้าวไทยทนเค็ม 3 พันธุ์ และไม่ทนเค็มอีก 3 พันธุ์ และพบว่าเมื่อระดับของความเค็มเพิ่มขึ้นนั้น สารต้านอนุมูลอิสระแบบไม่ใช่เอนไซม์ในข้าวพันธุ์ไม่ทนเค็มมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าข้าวพันธุ์ทนเค็ม ขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระแบบเอนไซม์นั้น มีเพียงเอนไซม์ catalase ที่มีแนวโน้มลดลงในข้าวเกือบทุกสายพันธุ์ที่ทดสอบ และข้าวพันธุ์ทนเค็มจะมีระดับของเอนไซม์ชนิดนี้ลดลงมากกว่าข้าวพันธุ์ไม่ทนเค็ม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าอาจใช้ระดับของวิตามินซี กลูตาไธโอนและเอนไซม์ catalase เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพหนึ่งในการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวทนและไม่ทนเค็มได้ข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย ซึ่งพื้นที่ปลูกครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีปัญหาเรื่องดินเค็ม การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนเค็มนั้นต้องใช้เวลาและแรงงานมาก ดังนั้นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพต่อการทนเค็มที่เหมาะสมอาจช่วยลดขั้นตอนในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวได้ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative stress) ที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่างๆ ของข้าวไทย โดยทำการทดสอบกับข้าวไทยทนเค็ม 3 พันธุ์ และไม่ทนเค็มอีก 3 พันธุ์ และพบว่าเมื่อระดับของความเค็มเพิ่มขึ้นนั้น สารต้านอนุมูลอิสระแบบไม่ใช่เอนไซม์ในข้าวพันธุ์ไม่ทนเค็มมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าข้าวพันธุ์ทนเค็ม ขณะที่สารต้านอนุมูลอิสระแบบเอนไซม์นั้น มีเพียงเอนไซม์ catalase ที่มีแนวโน้มลดลงในข้าวเกือบทุกสายพันธุ์ที่ทดสอบ และข้าวพันธุ์ทนเค็มจะมีระดับของเอนไซม์ชนิดนี้ลดลงมากกว่าข้าวพันธุ์ไม่ทนเค็ม การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าอาจใช้ระดับของวิตามินซี กลูตาไธโอนและเอนไซม์ catalase เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพหนึ่งในการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวทนและไม่ทนเค็มได้
บทคัดย่อ (EN): Rice is an important agriculture product of Thailand. Half of crop areas are in northeast where face to salinity problem. However, breeding of salt tolerant varieties is time and labor consuming. Therefore, biomarkers of salt tolerant may reduce the process of rice breeding. This research aims to study responses of oxidative stress caused by salinity in various varieties of Thai rice. The study was performed in 3 salt tolerant and 3 salt non-tolerant Thai rice varieties. The result showed that non-enzymatic antioxidants in non-tolerant varieties tend to increasing more than those of tolerant varieties. In enzymatic antioxidant study, there was only catalase enzyme that tends to decrease in almost every studied variety. However, this enzyme was more decrease in salt tolerant varieties than the others. The results suggest that vitamin C, glutathione and catalase enzyme may be a useful biomarker for selecting salt tolerant rice varieties. Rice is an important agriculture product of Thailand. Half of crop areas are in northeast where face to salinity problem. However, breeding of salt tolerant varieties is time and labor consuming. Therefore, biomarkers of salt tolerant may reduce the process of rice breeding. This research aims to study responses of oxidative stress caused by salinity in various varieties of Thai rice. The study was performed in 3 salt tolerant and 3 salt non-tolerant Thai rice varieties. The result showed that non-enzymatic antioxidants in non-tolerant varieties tend to increasing more than those of tolerant varieties. In enzymatic antioxidant study, there was only catalase enzyme that tends to decrease in almost every studied variety. However, this enzyme was more decrease in salt tolerant varieties than the others. The results suggest that vitamin C, glutathione and catalase enzyme may be a useful biomarker for selecting salt tolerant rice varieties.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Oryza sativa
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการตอบสนองต่อความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เกิดจากความเค็มในสายพันธุ์ต่าง ๆ ของข้าวไทย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อภาวะเครียดจากความเค็มและแล้งในข้าวปลูกภาคตะวันออกของไทย การตอบสนองทางสรีรวิทยาและชีวเคมีต่อภาวะเครียดจากความเค็มของข้าวหอม การเปรียบเทียบผลของความเครียดจากความเค็มและน้ำ ต่อการเจริญเติบโตและปริมาณโพรลีนของกล้าข้าวสามพันธุ์ เปรียบเทียบรูปแบบการแสดงออกของยีนนำรหัสโปรตีนที่ตอบสนองต่อความเค็มของรากข้าว ในระยะต้นกล้า วิทยาศาสตร์เชิงโอมิกส์เพื่อการศึกษาลักษณะการทนทานความเค็มในข้าว (Oryza sativa L.) ไทย การศึกษาพลวัตความเค็มของดินและน้ำกับการเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่ดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาศาสตร์เชิงโอมิกส์เพื่อการศึกษาลักษณะการต้านทานความเค็มในข้าว (Oryza sativa L.) ไทย วิทยาศาสตร์เชิงโอมิกส์เพื่อการศึกษาลักษณะการต้านทานความเค็มในข้าว (Oryza sativa L.) ไทย อิทธิพลของระดับความเค็มต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ105 ความสัมพันธ์ระหว่างไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน โซเดียมและความเค็ม กับผลผลิตและคุณภาพของข้าวหอมมะลิ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก