สืบค้นงานวิจัย
ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม
พิมพ์นภา ขุนพิลึก - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of spacing on quality and yield of aroma vegetable soybean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิมพ์นภา ขุนพิลึก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Pimnapa Khunpllueg
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับการผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม และเพื่อ ใช้เป็นข้อมูลประกอบขอรับรองพันธุ์ของสายพันธุ์ MJ0 108-11-5 ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ในฤดูแล้ง และปลายฤดูฝน ปี 2552/2553 วางแผนการทดลองแบบ 4x3 factorial in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 คือ ระยะปลูก จำนวน 4 ระยะ คือ 40 x 20 40 x 30 50x20 และ 50 x 30 ซม. ปัจจัยที่ 2 คือ พันธุ์ถั่วเหลือง 3 ระดับ ได้แก่ พันธุ์ถั่วเหลือง ฝักสดกลิ่นหอม จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ MJ0101-4-6 และ MJ 0108-11-5 และพันธุ์มาตรฐาน 1 พันธุ์ คือ พันธุ์ Kaori ผลการทดลองในฤดูแล้ง พบว่า การปลูกถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมที่สายพันธุ์/พันธุ์แตกต่างกันให้ผลผลิตฝักสดมาตรฐาน ที่แตกต่างกัน โดยสายพันธุ์ MJ0108-11-5 และ MJ0 101-4-6 ให้ค่าเฉลี่ยฝักสดมาตรฐานสูงกว่าพันธุ์ตรวจสอบ Kaori ร้อยละ 71.31 และ 56.72 ตามลำดับ ส่วนปริมาณโปรตีนในเมล็ดไม่พบความแตกต่างของพันธุ์/สายพันธุ์ และระยะปลูก ฤดูฝน ไม่พบความแตกต่างของผลผลิตฝักสดมาตรฐาน และประมาณโปรตีนในเมล็ดที่ระยะปลูกแตกต่างกัน แต่พบ ความแตกต่างของทั้งสองลักษณะในการใช้พันธุ์ที่ต่างกัน ผลการศึกษาช่วยลดต้นทุนปัจจัยการผลิต และเพิ่มผลผลิต ในระดับไร่เกษตรกรโดยแนะนำพันธุ์ และระยะปลูกที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกรต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The objectives were to study the effects of spacing on yield and quality of the aroma vegetable soybean and to collect the agronomic data for recommendations for the soybean line MJ0108-11-5. The experiment was conducted at Chiang Mai Field Crop Research Center, San Sai, Chiang Mai, Thailand, in the dry season and the late rainy seasons 2009/2010. A 3x4 factorial experiment in a randomized complete block design with three replications was used. Three soybean genotypes (MJ0101-4-6, MJ0108-11-5 and Kaori) were assigned as factor A and four spacing arrangements (40x20 cm, 40x30 cm, 50x20 cm and 50x30 cm) were assigned as factor B. Significant differences among soybean genotypes were observed for standard pod yield in the dry season 2009. MJ0108-11-5 and MJ0101-4-6 yielded 71.31 and 56.72% better than did Kaori, respectively, whereas protein contents of the seeds were not statistically different among soybean genotypes and spacings. In the rainy season 2010, Differences among soybean genotypes for standard pod yield and protein content of seeds were statistically significant but there was no significant difference among spacing for these traits. The results provide the recommendations for farmers to reduce a production cost and increase crop productivity at farm level by using new soybean varieties with the associated production technologies.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=192.pdf&id=590&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้ถั่วเหลืองฝักสดหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต่อการปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง ผลของระยะปลูกและการตัดแต่งกิ่งในระบบการให้น้ำแบบหยดที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสบู่ดำ อัตราและระยะปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์เทียนที่ปลูกในดินนาจังหวัดพัทลุง ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอมสายพันธุ์ดีเด่น MJ 0108-11-5 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตถั่วเหลืองฝักสดอินทรีย์ อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ที่มีผลต่อการผลิตถั่วเหลืองปลอดภัย (ชื่อข้อเสนอการวิจัยเดิม : อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง) ผลของการย่อยสลายของซากถั่วเหลืองฝักสดต่อปริมาณการดูดใช้ไนโตรเจนและการให้ผลผลิตของผักคะน้า ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ อิทธิพลของระยะปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 3 พันธุ์ภายใต้ระบบการปลูกแบบประณีต ผลของการประหยัดน้ำต่อผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และคุณภาพเมล็ดข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก