สืบค้นงานวิจัย
การใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายขนาดเล็ก
สิรินดา ยุ่นฉลาด - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายขนาดเล็ก
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Potential Microorganisms used as Biocatalyst for Biodiesel Production from Microalgal Oil
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สิรินดา ยุ่นฉลาด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sirinda Yunchalard
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วีระ ปิยธีรวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Weera Piyatheerawong
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เอนไซม์ไลเปส (Lipases) เป็นเอนไซม์ที่เป็นตัวเร่งปฏิกริยาการไฮโดรไลซิสของเอสเทอร์ของไขมัน ให้เป็นกลีเซอรอลและกรดไขมันอิสระ ถูกใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพืชน้ำมันให้กลายเป็นน้ำมันไบโอดีเซลด้วยปฏิกิริยาทรานเอสเทอร์ริฟิเคชั่น (transesterification) เพื่อให้เกิดเมทิลเอสเทอร์ (methyl esters) สามารถพบเอนไซม์ไลเปสได้ทั้งจากพืช รวมถึงจุลินทรีย์ เช่นแบคทีเรีย เชื้อราและยีสต์ ในการวิจัยนี้ได้ทำการแยกเชื้อแบคทีเรียผลิตเอนไซม์ไลเปสจากตัวอย่างที่ได้จากดินและน้ำที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ที่มีการทิ้งของเสีย โดยในขั้นแรกได้คัดแยกสายพันธุ์ของแบคทีเรียด้วยการนำมาเพาะเลี้ยงในอาหาร Rhodamine B olive oil ที่ได้รับการปรับสภาพความเป็นกรดด่างให้มี pH เท่ากับ 7.0 ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส หากโคโลนีใดให้ผลบวกซึ่งคาดว่าน่าจะมีกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส โดยผลบวกคือลักษระของที่โคโลนีของแบคทีเรียที่เจริญบนจานอาหารจะมีสีชมพูพร้อมกับมีโซนใส (clear zone) เกิดขึ้นรอบๆโคโลนี ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ความยาวช่วงคลื่น 340 นาโนเมตร จากนั้นนำสายพันธุ์ที่ให้ผลบวกมาทดสอบหากิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสด้วยวิธีการไตเตรทด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งหากมีการแสดงกิจกรรมไลเปสก็จะมีการปลดปล่อยกรดไขมันอิสระออกมา ซึ่งสังเกตุเห็นได้จากสีที่เกิดขึ้นของอินดิเคเตอร์ งานวิจัยนี้ได้คัดแยกได้จากตัวอย่างดินจำนวน 55 ไอโซเลท และจากตัวอย่างน้ำจำนวน 40 ไอโซเลท พบว่ามีจำนวน 12 ไอโซเลทที่มีกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส (จากดิน 4 ไอโซเลท, จากน้ำ 8ไอโซเลท) ซึ่งจากจำนวนทั้ง 12 ไอโซเลท พบว่าไอโซเลท LA 5 ให้กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสสูงที่สุดคือ 1.21 ยูนิต/มิลลิลิตร จากนั้นนำไอโซเลท LA5 มาทำการตรึงเซลล์ ด้วยสารละลายโซเดียมแอลจีเนต พบว่าที่ความเข้มข้น 2%โซเดียมแอลจีเนต ให้ผลการตรึงเซลล์ดีที่สุดคือ เซลล์ไม่เกิดการรั่วและแตก มีความคงตัวของการตรึงเซลล์ และเมื่อทำการตรึงเซลล์เสร็จเรียบร้อยจึงนำไปทำปฏิกิริยาทรานเอสเทอร์ริฟิเคชั่นในถังปฏิกรณ์ชีวภาพโดยใช้น้ำมันสกัดจากสาหร่ายขนาดเล็ก (microalgal oil) และเซลล์ที่ตรึงเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากทำปฏิกริยาเสร็จสมบูรณ์ทำการตรวจหาเมทิลเอสเทอร์ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟฟี (Gas Chromatography, GC) พบว่า เมทิลเอสเทอร์ที่เกิดขึ้นไม่มีความต่างจากเมธิลเอสเทอร์ของน้ำมันดีเซลทั่วไป และเมื่อนำมาตรวจสอบคุณภาพน้ำมันของไบโอดีเซลที่เกิดขึ้น มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ที่ 7.2 และมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.884 กรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานไบโอดีเซลของประเทศสหรัฐอเมริกา
บทคัดย่อ (EN): Lipase (EC 3.1.1.3) is a water-soluble enzyme that catalyzes the hydrolysis reaction of ester bonds in water–insoluble, lipid substrates. It has been exploited in several industries including the conversion of vegetable oil into biodiesel via transesterification reaction to produce methyl esters. We have isolated lipase producing bacteria from soil and waste water samples using strain isolation on rhodamine B-olive oil agar plate, pH to 7.0. It was incubated at 37 OC for 48 h. Preliminary indicator to be used to screen for lipase activity of each isolated colony was carried out by visualization of a surrounding clear zone around the colony and illuminated as pinkish colour when it was exposed under UV light. Lipase activity of each of the positive colony was determined by titration of the amount of released free fatty acids with 25 mM sodium hydroxide with phenolphthalein as an indicator to indicate end point. The amount of enzyme that catalyzed the release of 1 mmol of fatty acids per hour at 35 OC. Among the 55 isolates form soil sample and the 40 isolates from water samples, twelve isolates (4 isolates from soil samples and 8 isolates from water samples) were primarily exhibited lipolytic activities. Among those twelve isolates, isolate number LA5 was able to produce the relatively highest in its lipase activity at 1.21 units/mL in a liquid medium containing 2% olive oil as sole carbon source at 37 OC, pH 7.0 for 48 h. Isolate number LA5 was subjected for cell immobilization by entrapment with sodium alginate to improve stability and reuse of its lipase activity. The methyl esters resulted from transesterification for biodiesel production was carried out in a bioreactor. The results is indicated that the 2.0% (w/v) sodium alginate concentration is the optimal concentration to be used for cell immobilization via the entrapment method and microalgal oil was used as the substrate. The immobilized cell of isolate LA5 provides the methyl esters C16 and C18 determined by gas chromatography and were found to be the same as the ones in diesel oil. In addition, biodiesel properties showed in the density and pH value of 0.884 g mL-1 and 7.2 respectively. These were corresponded to standard limitation established by American Society for Test Material (ASTM).
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2552
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายขนาดเล็ก
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2552
การศึกษาศักยภาพของสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อการผลิตไบโอดีเซล สร้างและทดสอบ เครื่องผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์ การศึกษาชนิดของตัวพยุง และสภาวะที่เหมาะสมต่อการตรึงตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพที่ใช้ในการผลิตไบโอดีเซล ศึกษาการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายท้องถิ่นในแหล่งน้ำ จังหวัดสกลนคร การผลิตไบโอดีเซลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีทางชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน การเพาะเลี้ยงและการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซลที่ยั่งยืน การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีการตรึงเซลล์ในการแยกสาหร่ายขนาดเล็กในระหว่างการเพาะเลี้ยงเพื่อการสะสมน้ำมันและการผลิตไบโอดีเซล การคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตเอ็นไซม์ไลเปสจากกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันพืช: เพื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพในการผลิตไบโอดีเซล การศึกษาเพื่อผลิตสาหร่ายเป็นพลังงานทดแทน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก