สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา
พีชณิตดา ธารานุกูล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง (EN): Testing Technologies to Improve Clay Loam Soil in Chili Planted Area of Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พีชณิตดา ธารานุกูล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Peechanida Tharanugool
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วมเหนียวในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียวในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกในสภาพดินรวนเหนียวในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา โดยดำเนินการปี 2555 – 2555 ณ ตำบลชีวึก ตำบลโนนเมือง และตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา การทดสอบประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีทดสอบ ปรับปรุงบำรุงดินโดยหว่านปุ๋ยหมัก อัตรา 500 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับโครงสร้างของดินก่อนปลูกพริก เปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกรที่ไม่มีการปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพริก การใส่ปุ๋ยและการป้องกันกำจัดศัตรูพริกปฏิบัติเหมือนกัน ผลการทดสอบพบว่าเมื่อเกษตรกรมีการปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกพริกตามกรรมวิธีทดสอบทำให้การเจริญเติมโตของต้นพริกดีกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร การแผ่กระจายของราก การหยั่งลึกของราก และความหนาแน่นของดิน มีแนวโน้มดีกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร รวมทั้งจำนวนครั้งเก็บเกี่ยว ผลผลิต และรายได้สุทธิ กรรมวิธีทดสอบให้ผลตอบแทนสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ส่วนค่า BCR กรรมวิธีทดสอบจะมีค่าน้อยกว่าเนื่องจากต้นทุนการผลิตจากการใช้สารเคมี ค่าจ้างเก็บเกี่ยวและปุ๋ยสูงกว่ากรรมวิธีของเกษตรกร ความพึงพอใจของเกษตรพบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจในการปรับปรุงบำรุงดินก่อนปลูกพริก เนื่องจากทำให้ดินร่วนซุย ต้นพริกเจริญเติบโตดีและแข็งแรง เกษตรกรบางรายเริ่มนำอินทรียวัตถุเช่น ปุ๋ยหมัก มูลไก่แกลบ และมูลโค ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นและในครัวเรือนมาหว่านในแปลงปลูกพริกแล้วไถกลบ เพื่อปรับปรุงบำรุงดินในแปลงปลูกพริกของตนเอง
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was testing technologies to improve clay loam soil in chili planted area of Nakhon Ratchasima province. This study was conducted from 2011 to 2012 in cheewuek, Nonmueng district and Kham-Sakae-Sang district, Nakhon Ratchasima Province. There were two treatments of tested including the soil was improved by compost fertilizer sowing rate of 500 kg/rai before planting chili compared farmer treatment with no improved soil. The results showed that the growth of chili by improved soil treatment better than farmer treatment. In addition, the improvement soil also given better impacted on the root extension, root elongation, soil bulk density, number of harvested, yield and net income than farmer treatment. However benefit cost ratio (BCR) of improved soil treatment less than farmer treatment because cost of production such as chemical, harvesting and fertilizer higher than farmer treatment. Farmer are satisfied in improving soil before planting chili because the chili good growing and stronger. Some farmers conducted organic matter that found easily in local and household such as compost or manure sown in plots planted chili and plough for improve the soil in their planting chili.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=55%2060_57.pdf&id=1469&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมร่วมกับเทคโนโลยีชีวภาพในระบบเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานเพื่อปลูกพริกไทย โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มคุณภาพพริกชี้ฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน เทคโนโลยีการปลูกพริกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกและพืชผักเศรษฐกิจที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ทดสอบสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินเพิ่มศักยภาพการผลิตของดินเพื่อการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก(ข้าว หอมแดง และพริก) ในพื้นที่โครงการเมืองเกษตรสีเขียวจังหวัดศรีสะเกษ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพริก ชุดโครงการวิจัยการทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพริกแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม โครงการย่อยที่ 14: การทดสอบการใช้ปัจจัยการผลิตชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตพริกกะเหรี่ยงระดับแปลงปลูกเกษตรกรบนพื้นที่สูง การทดสอบการใช้ปัจจัยการผลิตชีวภาพในการเพิ่มผลผลิตพริกกระเหรี่ยงระดับแปลงปลูกเกษตรกรบนพื้นที่สูง การประมวลผลสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเพื่อคาดการณ์โรคสำคัญในพื้นที่ปลูกพริก อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก