สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
ฐิติพร พิทยาวุธวินิจ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
ชื่อเรื่อง (EN): Survey and Conservation of Wild Orchids in The Area of Plant Genetic Conservation Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฐิติพร พิทยาวุธวินิจ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Thitiporn Pittayawutwinit
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การสำรวจกล้วยไม้ป่า ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำการสำรวจในพื้นที่ เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ ในระหว่างเดือนมกราคม ถึงกันยายน 2551 บริเวณเส้นทางสำรวจ 4 เส้นทาง ซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช พบกล้วยไม้ป่า จำนวน 55 ชนิด เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย 46 ชนิด กล้วยไม้ดิน 9 ชนิด จัดจำแนกอยู่ใน 31 สกุล เป็นกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) มากที่สุด จำนวน 9 ชนิด รองลงมาคือสกุล Cleisostoma จำนวน 3 ชนิด ในสกุลอื่น ๆ พบสกุลละ 1 - 2 ชนิด ผลการสำรวจจะนำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน การศึกษาสูตรอาหารอย่างง่าย เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าในสภาพปลอดเชื้อ โดยใช้ปุ๋ยกล้วยไม้ และสารอาหารพืช ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แทนธาตุอาหาร จากสูตร VM (MS+VW) ในกล้วยไม้ป่า 4 ชนิด คือ กุหลาบเหลืองโคราช เขาแพะ เอื้องดอกมะขามลำสั้น และเข็มขาว พบว่าอาหารสูตร ? VM +po+ba ทำให้น้ำหนักต้น ของกุหลาบเหลืองโคราช และเอื้องดอกมะขามลำสั้น สูงกว่าในสูตรอย่างง่าย ส่วน ในกล้วยไม้เขาแพะและเข็มขาว อาหารทั้ง 2 สูตร ให้ผลไม่แตกต่างกัน จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดยวิธี T-test
บทคัดย่อ (EN): Survey on wild orchids diversity in Plant Genetic Conservation Project Under The Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn : Chulabhorn Dam, Chaiyaphum province was carried out during January to September 2009. Four route surveys were representative of the protected region. Fifty - five species from 31 genera of wild orchids were found, they were 46 species of epiphytic orchids and 9 species of terrestrial orchids. Species in each genus were identified. They were 9 species in genus Dendrobium and 3 species in genus Cleisostoma. The rest of genera were found between 1 to 2 species. The preliminary survey results will be used for orchid conservation and sustainable utilization. The improvement of simple medium for orchid seedling development by using orchid fertilizer and plant nutrients instead of mineral salts was conducted. The study was carried out using 4 species of wild orchids. Fresh weight of Aerides houlettiana Rchb.f.and Dendrobium delacourii Guill. in ? VM +po+ba medium was higher than in simple medium ,but did not significantly difference in Cleisostoma arietinum (Rchb.f.) Garay, and Vanda lilacina Teijsm.&Binnend.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2554
การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม่ป่าในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมอย่างยั่งยืน โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ป่าเพื่อการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน พันธุกรรมของกล้วยไม้ป่าในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการสำรวจ รวบรวม และจัดทำข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่าไม้ใน พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช จังหวัดอำนาจเจริญ การสำรวจกล้วยไม้ป่าในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ป่าของประเทศไทยที่ใกล้จะสูญพันธ์ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรม การสำรวจและอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่า ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ การอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ป่าในอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี โครงการสำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมป่าเพื่อใช้ประโยชน์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก