สืบค้นงานวิจัย
ทัศนคติที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานกลุ่มปานกลาง ในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
รุจี มาศงามเมือง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานกลุ่มปานกลาง ในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รุจี มาศงามเมือง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ลักษณะพื้นฐานบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2)ระดับทัศนคติของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตรโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) ระดับทัศนคติที่มีต่อลักษณะการดำเนินงานส่งเสริมเคหกิจเกษตร และ (2) ระดับทัศนคติที่มีต่อนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานกลุ่มปานกลาง จำนวน 122 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปแกรมสำเร็จ ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะพื้นฐานบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพบว่า สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 40.6 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ สมาชิกเฉลี่ย 5 คน มีขนาดพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 13.2ไร่ มีรายได้ในภาคเกษตร ซึ่งยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 21,877 บาท ต่อครอบครัวต่อปี และมีสถานภาพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม เฉลี่ย 5.1 ปี สมาชิกมีระดับทัศนคติที่ดีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตร ได้แก่ ลักษณะการดำเนินงานส่งเสริมส่งเสริมเคหกิจเกษตร การวางแผน เนื้อหาวิชา และวิธีการส่งเสริม ส่วนทัศนคติต่อด้านนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบงานเคหกิจเกษตรสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีระดับทัศนคติที่ดีต่อลักษณะบุคลิกภาพ ลักษณะการพูด ความสามารถในการให้ความรู้ และการแก้ปัญหา มนุษย์สัมพันธ์ ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนางานส่งเสริมเคหกิจเกษตร ดังนี้ ควรเพิ่มพูนความรู้สมาชิกในเรื่องการวางแผน การดำเนินงานกลุ่มแบบมีส่วนร่วม เจ้าหน้าที่ติดตามและเยี่ยมเยียนกลุ่มอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้สมาชิกมีการดำเนินกิจกรรมกลุ่มและกิจกรรมส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น สนับสนุนการประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุน วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณ จากองค์กรส่วนท้องถิ่น ในส่วนของเจ้าหน้าที่ควรมีการพัฒนาความรู้และเทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทัศนคติที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีผลการดำเนินงานกลุ่มปานกลาง ในอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ทัศนคติต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ทัศนคติของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่มีต่องานส่งเสริมเคหกิจเกษตร ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดชัยนาท ศึกษาผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรผสมผสาน บ้านห้วยหลาว อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในงานส่งเสริมการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ความต้องการในงานส่งเสริมเคหกิจเกษตรของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรระดับปานกลาง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก