สืบค้นงานวิจัย
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา
ศันสนีย์ บุศรา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อเรื่อง (EN): Abundance and Diversity of Benthic Fauna in the Chaopraya River
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศันสนีย์ บุศรา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): SANSANEEB BUSARA
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรุณา เมืองหมุด
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): ARUNA MUANGMUD
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาความอุดมสมบูรณ์และการเปลี่ยนแปลงสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ดำเนิน การเก็บรวบรวมตัวอย่างสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่บริเวณต้นแม่น้ำที่บริเวณสะพานเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ บ้านกลางแดด ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ รวมระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร กำหนดจุดศึกษารวม 12 จุด เก็บข้อมูลทุกๆ 3 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 ถึงเดือนกันยายน 2551 โดยเก็บตัวอย่างที่ระดับความลึก 2 ระดับ ได้แก่ระดับ 0-1 เมตร และ 1-3 เมตร พบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 3 ไฟลั่ม ได้แก่ ไฟลั่ม Mollusca, Annelida และ Arthropoda ปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ยที่ระดับความลึก 0-1 เมตรเท่ากับ 186 ตัวต่อตารางเมตร ที่ระดับ 1-3 เมตรเท่ากับ 264 ตัวต่อตารางเมตร สัตว์หน้าดินกลุ่มที่เป็นโครงสร้างหลักทั้ง 2 ระดับความลึกพบเหมือนกัน คือไฟลั่ม Mollusca รองลงไปคือ ไฟลั่ม Annelida และไฟลั่ม Arthropoda โดยที่ระดับความลึก 0-1 เมตรคิดเป็นร้อยละ 43.55, 29.57 และ 26.88 ของปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ยที่พบทั้งหมด ตามลำดับ ที่ระดับความลึก 1-3 เมตรคิดเป็นร้อยละ 42.80, 41.67 และ 15.53 ของปริมาณสัตว์หน้าดินเฉลี่ยที่พบทั้งหมด ตามลำดับ วงศ์ที่มีความถี่ในการพบมาก 3 อันดับแรกทั้ง 2 ระดับความลึกพบเหมือนกัน ได้แก่ Viviparidae, Chironomidae, และ Naididae มีค่าความถี่ในการพบที่ระดับความลึก 0-1 เมตร คิดเป็นร้อยละ 50.00, 50.00 และ 37.50 ตามลำดับ ที่ระดับความลึก 1-3 เมตร คิดเป็นร้อยละ 47.92, 45.83 และ 41.67 ตามลำดับ ค่าดัชนีความชุกชุม ดัชนีความสม่ำเสมอ และดัชนีความหลากหลายเฉลี่ยของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ระดับความลึก 0-1 เมตร มีค่าเท่ากับ 1.34, 0.77 และ 2.27 ตามลำดับ ที่ระดับความลึก 1-3 เมตร มีค่าเท่ากับ 1.37, 0.76 และ 2.15 ตามลำดับ ทั้ง 2 ระดับความลึกมีการแพร่กระจายโดยชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินดีที่สุดที่จุดศึกษาที่ 9 คือ วัดไผ่ล้อม ตามเดือนพบว่าที่ระดับความลึก 0-1 เมตรเดือนมิถุนายน 2551 และที่ระดับ 1-3 เมตรเดือนกันยายน 2551 มีการแพร่กระจายโดยชนิดและปริมาณสัตว์หน้าดินดีที่สุด
บทคัดย่อ (EN): The study about the abundance and variation of benthic fauna in Chaophraya River was conducted and collected samples in 12 stations at 2 water depth (0-1 and 1-3 m.). Along the river distance of 370 kilometres, the collecting stations started at Ban Klang Daet, Muang District, Nakhon Sawan Province. to the river mouth station at Bang Phueng Subdistrict, Pradaeng District, Samut Prakan Province. The main operation was conducted every 3 months between December 2007 and September 2008. The 15x15 centimetres Ekman grab and the retaining sieve with 500 micrometres aperture were the main instruments for collecting samples. The results concluded that there were 3 benthos phylums with 22 families and 1 groups. The benthic population was comprised of Mollusca 43.55 %, Annelida 29.57 %, Arthropoda 26.88 % at 0-1 m. and 42.80 %, 41.67 % and 15.53 % at 1-3 m. respectively. The ecological indices, those were the richness, the evenness and the diversity index were 1.34, 0.77, 2.27 at 0-1 m. and 1.37, 0.76, 2.15 at 1-3 m. respectively.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-03-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา
กรมประมง
30 มีนาคม 2552
กรมประมง
ความชุกชุม ความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความชุกชุม และความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำจันทบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดิน ในคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักจังหวัดสระบุรี ความหลากหลาย ความชุกชุม และการแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำป่าสักตอนล่าง ความหลากหลาย ความชุกชุม การแพร่กระจายของสัตว์หน้าดินคลองอู่ตะเภา จังหวัดสงขลา ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง ความหลากหลายของเชื้อราจากดิน ซากพืชและการนำไปใช้ประโยชน์ 2559A17002023 ความหลากหลายของแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดินบริเวณแม่น้ำน่าน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก