สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยต่อคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำยาง
นุชนารถ กังพิศดาร - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยต่อคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำยาง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Fertiliser Applications on Latex Physical Properties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นุชนารถ กังพิศดาร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นยางหลังเปิดกรีด นอกจากจะช่วยเพิ่มผลผลิตแล้ว ความสมดุลของธาตุอาหารต่างๆ ยังมีผลต่อคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำยาง ซึ่งจะมีผลต่อการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยาง ดังนั้น จึงได้ศึกษาอิทธิพลของการใส่ให้แก่ต้นยางหลังเปิดกรีดต่อคุณสมบัติของน้ำยาง เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำยางที่ได้รับจากการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียมที่ระดับต่างๆ และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาคำแนะนำสูตรปุ๋ยสำหรับยางพาราหลังเปิดกรีด วางแผนการทดลองแบบ 1+2x2x3x2 Factorial experiment in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ระดับปุ๋ยที่ใช้ในการทดลอง มีไนโตรเจน 2 ระดับ (15 และ 30% N) ฟอสฟอรัส 2 ระดับ (5 และ 10% P2O5) โพแทสเซียม 3 ระ ดับ (18, 24 และ 30% K2O) และแมกนีเซียม 2 ระดับ ( 0 และ 2% MgO) เปรียบเทียบกับวิธีการไม่ใส่ปุ๋ย เก็บน้ำยางจากแปลงทดลองวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำยางเป็นเวลา 3 ปี พบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ปริมาณไนโตรเจนและแมกนีเซียมในน้ำยางเพิ่มขึ้น และปุ๋ยฟอสฟอรัสมีผลต่อการเพิ่มปริมาณฟอสฟอรัสและแมกนีเซียมในน้ำยางเช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมระดับสูง ทำให้ปริมาณโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในน้ำยางเพิ่มขึ้น ส่วนการใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ถึงแม้จะทำให้แมกนีเซียมในน้ำยางเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม แมกนีเซียมในน้ำยางที่เพิ่มขึ้นจากการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน โพแทสเซียมและแมกนีเซียมมีปริมาณไม่สูงจนทำให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาง และไม่มีผลทำให้ปริมาณกรดไขมันระเหยได้ในน้ำยาง (VFA) เพิ่มขึ้น หรือเวลาความคงตัวต่อเครื่องกลของน้ำยาง(MST)ลดลง การใส่ปุ๋ย P5 ร่วมกับ Mg2 ถึงแม้ว่าจะทำให้ความคงตัวของน้ำยางลดลง แต่มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ความหนืดของยางแห้งต่ำ (Mooney) และปริมาณกรดไขมันระเหยได้ในน้ำยางจะลดลงเมื่อใส่ปุ๋ย N30ร่วมกับ P5 และN30 ร่วมกับ Mg2 ส่วนการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมระดับสูงทำให้ดัชนีความอ่อนตัวของยาง (PRI) เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าความสมดุลของธาตุอาหาร นอกจากจะมีผลในการเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังมีผลต่อคุณสมบัติของน้ำยาง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยต่อคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำยาง
การยางแห่งประเทศไทย
2547
โปรแกรมฐานข้อมูลแนะนำการใช้ปุ๋ย dbFRec for DOS สรีรวิทยาน้ำยางของต้นยางหลังเปิดกรีดที่ได้รับปุ๋ยระดับต่าง ๆ ศึกษาวิธีและเวลาการใส่ปุ๋ยยางหลังเปิดกรีดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย เปรียบเทียบคุณสมบัติของไม้ยางพาราที่ได้จากการกรีด และวิธีเจาะร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง อิทธิพลของการให้ปุ๋ยทางดินและทางใบต่อผลผลิตถั่วเขียว การเพิ่มผลผลิตยางพาราและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง การศึกษาสภาพการใช้ปุ๋ยในสวนยางที่พ้นการสงเคราะห์ การศึกษาคุณสมบัติทางยางดิบและทางกายภาพยางแผ่นรมควัน การสังเคราะห์และสมบัติของน้ำยางพอลิยูริเทนจากน้ำมันเมล็ดยางพาราสำหรับประยุกต์ใช้เป็นกาว การศึกษาการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยางสดในการหาเปอร์เซ็นต์ยางแห้ง ในน้ำยางสด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก