สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยว กุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยว และกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
นายอนันต์ บุญอินทร์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยว กุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยว และกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Returns of Giant Freshwater Prawn, Pacific White Shrimp andGiant Freshwater Prawn with Pacific White Shrimp Culturein Suphan Buri Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายอนันต์ บุญอินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Anan Boonin
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: -
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): -
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางสังคม และ 2) เพื่อศึกษาผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยว กุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยว และ กุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 97 ราย ในพื้นที่ 8 อำเภอ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด และปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทั้ง 3 รูปแบบ ส่วนใหญ่เป็นเพศชายอยู่ในวัยทำงาน (อายุ 18-60 ปี) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลักเป็นเกษตรกร ได้รับความรู้เรื่องการเลี้ยงกุ้งครั้งแรกจากครอบครัวและเกษตรกรที่มีประสบการณ์ ทุกฟาร์มตั้งอยู่ภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ส่วนใหญ่มีบ่อเลี้ยง 1-4 บ่อ และได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยวมีอัตราการปล่อยกุ้งเฉลี่ย 12,250.05 ±8,229.37 ตัวต่อไร่ ระยะเวลาการเลี้ยงต่อรอบเฉลี่ย 5.46±1.70 เดือน เกษตรกรส่วนใหญ่ทยอยจับผลผลิต 2-4 ครั้ง อัตราแลกเนื้อเฉลี่ย 1.60±0.62 ผลผลิตเฉลี่ย 219.17±137.36 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 198.33±31.88 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ 43,467.99 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปร 29,463.95 บาทต่อไร่ และผล ตอบแทน 14,004.04 บาทต่อไร่ การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยวมีอัตราการปล่อยกุ้งเฉลี่ย 60,630.93 ±46,908.92 ตัวต่อไร่ ระยะเวลาการเลี้ยงต่อรอบเฉลี่ย 2.54±0.72 เดือน เกษตรกรส่วนใหญ่จับผลผลิตครั้งเดียวหมดบ่อ อัตราแลกเนื้อเฉลี่ย 1.16±0.16 ผลผลิตเฉลี่ย 573.79±631.04 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 147.14±27.93 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ 84,427.46 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปร 61,284.14 บาทต่อไร่ และผลตอบแทน 23,143.32 บาทต่อไร่ การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมมีอัตราการปล่อย กุ้งก้ามกรามเฉลี่ย 5,326.34±2,095.05 ตัวต่อไร่ อัตราการปล่อยกุ้งขาวแวนนาไมเฉลี่ย 26,507.77±21,904.05 ตัวต่อไร่ ระยะเวลาการเลี้ยงต่อรอบเฉลี่ย 3.19±0.85 เดือน เกษตรกรส่วนใหญ่จับผลผลิตครั้งเดียวหมดบ่อ อัตราแลกเนื้อเฉลี่ย 1.49±0.66 ผลผลิตเฉลี่ย 355.09±180.56 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาจำหน่ายกุ้งก้ามกรามเฉลี่ย 180.11 ±45.35 บาทต่อกิโลกรัม ราคาจำหน่ายกุ้งขาวแวนนาไมเฉลี่ย 129.89±16.33 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ 53,212.70 บาทต่อไร่ ต้นทุนผันแปร 35,478.48 บาทต่อไร่ และผลตอบแทน 17,734.22 บาทต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to study 1) general social condition and 2) returns of giant freshwater prawn, Pacific white shrimp and giant freshwater prawn with pacific white shrimp cultures in Suphan Buri province. Data were collected from 97 farmers in 8 districts by using questionnaire in conducting of open and close-ended interview. Data were analyzed using descriptive statistics, percentage, highest, lowest, mean and standard deviation (S.D.). The results found that most of farmers were male in working age (18-60 years old); graduated at primary education. The main occupation was farmer and gain knowledge of shrimp farming for the first time got from family and experienced farmers. All farms were located within aquaculture zones for regulated aquaculture: type of marine shrimp aquaculture. Most farmers had 1-4 ponds and had GAP certified. Average of stocking density of giant freshwater prawn culture was 12,250.05±8,229.37 shrimp per rai, average of rearing period was 5.46±1.70 months per crop. The most farmers used partial harvest for 2-4 times per crop, average feed conversion ratio was 1.60±0.62, average yield was 219.17±137.36 kilograms per rai, average yield price was 198.33±31.88 baht per kilogram. Income was 43,467.99 baht per rai, variable cost was 29,463.95 baht per rai and returns was 14,004.04 baht per rai. Average of stocking density of Pacific white shrimp culture was 60,630.93±46,908.92 shrimp per rai, average of rearing period was 2.54±0.72 months per crop. The most farmers harvested shrimp 1 time per crop, average feed conversion ratio was 1.16±0.16, average yield was 573.79±631.04 kilograms per rai, average yield price was 147.14±27.93 baht per kilogram, income was 84,427.46 baht per rai, variable cost was 61,284.14 baht per rai and returns was 23,143.32 baht per rai. For giant freshwater prawn with Pacific white shrimp culture, the average of stocking density of giant freshwater prawn was 3 5,326.34±2,095.05 shrimp per rai and Pacific white shrimp was 26,507.77±21,904.05 shrimp per rai. The average of rearing period was 3.19±0.85 months per crop, most farmers harvested shrimp 1 time per crop. The average feed conversion ratio was 1.49±0.66, average yield was 355.09±180.56 kilograms per rai, averages yield price was 180.11±45.35 baht per kilogram of giant freshwater prawn and 129.89±16.33 baht per kilogram of Pacific white shrimp, income was 53,212.70 baht per rai, variable cost was 35,478.48 baht per rai and returns was 17,734.22 baht per rai.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 64-32647-64084
ชื่อแหล่งทุน: -
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: -
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: -
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2563
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2564
เอกสารแนบ: https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20220329094707_1_file.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสุพรรณบุรี
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ธ.ค. 63 - พ.ย. 64
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): -
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยเชิงทดลอง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามแบบเดี่ยว กุ้งขาวแวนนาไมแบบเดี่ยว และกุ้งก้ามกรามร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม ในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2564
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี หลังผลกระทบจากโรค EMS คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับรองมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) ในจังหวัดตรัง การจัดการทางโภชนาการสำหรับการอนุบาลและการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคขี้ขาวในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี การแปลงเพศกุ้งก้ามกรามโดยวิธี Andrectomy ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม จังหวัดสมุทรสาคร คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อกุ้งก้ามกรามและเศรษฐกิจการผลิตกุ้งก้ามกรามจากพื้นที่ต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก