สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น
วงเดือน ไม้สนธิ์, บุญยอด ศรีรัตนสรณ์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น
ชื่อเรื่อง (EN): The Agricultural Products Management of Community to Sustainable Strengthen Local People
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการศึกษาการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน และค้นหาแนวทางการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น โดยเน้นให้ความสำคัญกับศักยภาพและวิธีคิดของชุมชน พบว่า ด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว หมาก พลู การเพาะเลี้ยงปลากัด การเพาะเลี้ยงปลากะพง และสวนพืชผัก ได้แก่ ขึ้นฉ่าย มะเขือ ผักกระเฉด เป็นต้น ด้านการกระจายผลิตภัณฑ์หรือช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน พบว่า ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน ถูกส่งไปจำหน่ายในระดับชุมชน ได้แก่ ตลาดชุมชน บริเวณวัดสาวชะโงก ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในระดับจังหวัด ได้แก่ ตลาดนัดสินค้าวิสาหกิจชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา ตลาดชุมชน วัดสมานรัตนาราม และตลาดบ่อบัว ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ช่องทางการกระจายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนหรือช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน ในพื้นที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่เป็นตลาดภายในชุมชนหรือจังหวัด สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นพืชผักสวนครัว หมากสด พลู เป็นต้น เนื่องจากมีช่วงระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยวสั้น ต้องรีบจำหน่ายเพื่อลดการสูญเสียของผลิตภัณฑ์ สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน หรือสามารถแปรรูปได้ หรือเป็นที่ต้องการของตลาด สามารถนำไปจัดจำหน่ายได้ทั้งในตลาดระดับจังหวัด และระดับประเทศ เช่น หมากแห้ง มะพร้าว มะม่วง และปลากัด เป็นต้น สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนที่เป็นที่ต้องการของตลาดและมีปริมาณมากเกินพอ สามารถนำไปจัดจำหน่ายได้ในตลาดต่างประเทศ ได้แก่ มะม่วง เป็นต้น
บทคัดย่อ (EN): The study of community agricultural product management for sustainable strengthening of local people in Sao Cha-ngok Sub-District, Bangkhla District, Chachoengsao Province aimed to analyze the current condition of agricultural product management in the community, and to explore the method of agricultural product management for sustainable strengthening of local people by emphasizing the community potential and the way of thinking. It was found that, in terms of the variety of the agricultural products of Sao Cha-ngok Sub-District, Bangkhla District, Chachoengsao, there were community agricultural products including mangoes, coconuts, raw betel nuts, betel leaves, fighting fish farming, bass farming, and vegetables such as celery, eggplants, and water mimosa. In terms of agricultural products distribution, they were sent for selling in the community such as Community Market in the area of Sao Cha-ngok Temple, Sao Cha-ngok Sub-District, Bangkhla District, Chachoengsao, and in the provincial area such as Community Enterprise Market, Chachoengsao, Wat Saman Rattanaram Community Market, and Bo Bua Food Market. Therefore, it revealed that most of community agricultural products of Sao Cha-ngok Sub-District, Bangkhla District, Chachoengsao were distributed for selling in the markets within the community or in the province, especially for backyard vegetables like raw betel nuts and betel leaves which normally have short postharvest shelf life, so they had to be sent for selling immediately to prevent loss of products. For the agricultural products which have longer postharvest shelf life or can be transferred to processed products, they could be distributed to be sold in the provincial and national markets, for example, dried betel nuts, coconuts, mangoes, and fighting fish. For the community agricultural products which are demanded in the market and have enough quantity, they could be distributed for selling at overseas markets, such as mangoes.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
30 กันยายน 2558
โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน กระบวนการการพัฒนาผู้นำและชุมชนกับการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนชุมชนเมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ การพัฒนาระบบและกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการโรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนเทศบาลตำบลคลองแม่ลาย อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พฤติกรรมการซื้อขายของผู้ประกอบการค้าผลไม้ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการตลาดประมูลสินค้าเกษตร การศึกษารูปแบบการผลิตและการบริหารจัดการโรงสาวไหมชุมชน ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนแปรรูปสินค้าเกษตร จังหวัดบุรีรัมย์ การศึกษานวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น : วิเคราะห์โครงการ “ประปานา”อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ โครงการวิจัยกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการในท้องถิ่น : รายงานฉบับสมบูรณ์ ความต้องการด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก