สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการกักกันพืช
สุรพล ยินอัศวพรรณ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการกักกันพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Plant Quarantine Research Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรพล ยินอัศวพรรณ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยการกักกันพืชระหว่างปี2549-2550 นั้นประกอบด้วย 2 กิจกรรมได้แก่ 1.วิจัยการกักกันพืชเพื่อการส่งออก 2 วิจัยการกักกันพืชเพื่อการนำเข้า ในปี 2551-2553 ต่อมาได้ปรับเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้ 1 การศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช 2. วิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบศัตรูพืชกักกัน 3 วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดศัตรูพืชกักกัน กิจกรรมที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช กิจกรรมย่อยที่ 1.1 การศึกษาศัตรูพืชในประเทศเพื่อการค้าระหว่างประเทศ สำหรับพืชส่งออก 8 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน ส้มโอ ไผ่กวนอิม แก้วมังกร หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วลันเตา มะละกอ และ มะพร้าวน้ำหอม พืชนำเข้า 8 พืช ได้แก่ พุทราจีน ทับทิม องุ่น ทานตะวัน พืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำ ปาล์มน้ำมัน และหัวพันธุ์ไม้ดอก สำหรับพืชส่งออกได้รายชื่อศัตรูพืชในพืช 8 ชนิดเพื่อจัดทำข้อมูลสำหรับการขอเปิดตลาดสินค้าใหม่ไปยังประเทศที่ยังไม่เคยมีการอนุญาตนำเข้า และสำหรับพืชนำเข้าได้รายชื่อศัตรูพืชสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช กิจกรรมย่อยที่ 1.2 การศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ได้รายชื่อศัตรูพืชกักกันและมาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชของพืชนำเข้า ได้แก่ ข้าวสาลี พุทรา ทับทิม พริก มันฝรั่ง พืชตระกูลแตง พืชตระกูลกะหล่ำ ปาล์มน้ำมัน องุ่น ทานตะวัน ยางพารา หัวพันธุ์ลิลลี่ หัวพันธุ์แกลดิโอลัส ส้มสายพันธุ์อุนชู (ญี่ปุ่น) องุ่น (ชิลี) กีวี แครอท ผักกาดกวางตุ้ง วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ เชื้อรา Spongospora subterranea องุ่น (อินเดีย) องุ่น (ออสเตรเลีย) ข้าวโพด (อเมริกา) ข้าวโพด (อินเดีย) มะเขือเทศ (อเมริกา) ข้าวฟ่าง ส้ม (แอฟริกาใต้) เชอร์รี่ (ออสเตรเลีย) และ ฟอลซ ค๊อดลิ่ง ม็อธ Cryptophlebia leucotreta (Meyrick) พืชส่งออก ได้แก่ ฝรั่ง (ส่งออกสหรัฐอเมริกา) และการศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงของพืชสิ่งต้องห้ามอื่นๆ โดยศัตรูพืชกักกันที่ได้สามารถนำไปออกประกาศกรมวิชาการเกษตรเพื่อควบคุมการนำเข้าให้มีประสิทธิภาพ กิจกรรมย่อยที่ 1.3 ศึกษาศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับพืชนำเข้า ผลการศึกษาชนิดศัตรูพืชกักกัน ได้ข้อมูลชนิดศัตรูพืชที่ติดมากับพืชนำเข้า และชนิดของไส้เดือนฝอยที่ติดมากับหัวพันธุ์ลิลลี่ ต้นกล้วยไม้ ชนิดของไรในหัวหอมและกระเทียม มะเขือเทศ ข้าวโพด แตงเทศ คะน้า และผักกาดขาว สามารถนำไปใช้ประกอบในการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบการนำเข้าให้มีประสิทธิภาพต่อไป กิจกรรมที่ 2 วิจัยและพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบศัตรูพืชกักกันเพื่อการนำเข้า ได้เทคนิคการตรวจสอบเชื้อโรคพืชที่เหมาะสมในงานกักกันพืช ได้แก่ เชื้อ Pseudomonas syingae pv. tomato, Xanthomonas campestris pv. vesicatoria เชื้อ Potato Virus Y เชื้อไวรอยด์ในมะเขือเทศ เชื้อ Acidovorax avenae subsp. citrulli เชื้อ Cucumber Green Mottle Mosaic Virus เชื้อไวรอยด์บนส่วนขยายพันธุ์ของส้ม กิจกรรมที่ 3 วิจัยและพัฒนาวิธีกำจัดศัตรูพืชกักกัน ได้เทคโนโลยีการกำจัดศัตรูพืชบนพืชที่ส่งออกไปยังประเทศที่เข้มงวดด้านกักกันพืชของพืชที่ส่งออก ได้แก่ ส้มโอ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการกักกันพืช
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยและอนุรักษ์พันธุกรรมพืช พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique แบบจำลองการเจริญเติบโตของพืช: ทางเลือกใหม่เพื่อช่วยงานวิจัย แบบดั้งเดิม โครงการวิจัยการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักเพื่อการส่งออก ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชเส้นใย ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช โครงการวิจัยการเฝ้าระวังศัตรูพืช ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาพืชผัก โครงการวิจัยการจัดการธาตุอาหารพืชอย่างผสมผสานในการผลิตพืช โครงการวิจัยการวิจัยและพัฒนาการผลิตพันธุ์พืชเพื่อการผลิตพืชระบบเกษตรอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก