สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก
ประกอบกิจ ดังไธสง - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of Pathum Thani 1 rice variety for submergence tolerance bacterial blight and brown planthopper resistance by marker-assisted selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประกอบกิจ ดังไธสง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Watchareewan Jamboonsri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์หนึ่ง ในพื้นที่นาชลประทาน เนื่องจากให้ผลผลิตสูง มีศักยภาพการให้ผลผลิตได้ 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น น้ำท่วม การระบาดของเพลี้ยกระโดดน้ำตาล และการระบาดของโรคขอบใบแห้ง ทำให้ผลผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ลดลง ประมาณ 20 - 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหนึ่งในหลายวิธีในการแก้ปัญหาผลผลิตลดลงจากสภาพที่ไม่เหมาะสมดังกล่าวก็คือการปรับปรุงพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้มีผลผลิตสูง (แค่เพิ่มยีน 3 ยีนดังกล่าว จะช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยหรือ) ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ซึ่งสามารถคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดังกล่าวได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว เพราะสามารถคัดเลือกได้ตั้งแต่ข้าวอยู่ในระยะต้นกล้า แบ่งการดำเนินงานออกเป็นสองชุด ชุดการผสมที่ 1 เป็นการผสมระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์แม่ และพันธุ์ปิ่นเกษตร 1 ที่มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง (xa5, Xa21 และ xa33) เป็นพันธุ์พ่อ ทำการผสมกลับไปยังพันธุ์แม่เพื่อให้ได้ลูกที่มีคุณลักษณะเหมือนพันธุ์ปทุมธานี 1 และมียีนที่ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ได้ต้นข้าวชั่วรุ่น BC1F1 จำนวน 216 ตัวอย่าง นำมาคัดเลือกต้นที่มียีน Xa21, xa5 และ xa33 พบว่าเมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมายโมเลกุล PB7/PB8 เพื่อหายีน Xa21 ที่จีโนไทป์อยู่ในสภาพ heterozygous มีจำนวน 74 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่มียีน xa5 เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมายโมเลกุล PA xa5 ที่จีโนไทป์อยู่ในสภาพ heterozygous มีจำนวน48 ตัวอย่าง และตัวอย่างที่มียีน xa33 เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมายโมเลกุล RM5509 และ RM7243 ที่จีโนไทป์อยู่ในสภาพ heterozygous มีจำนวน25 ตัวอย่าง สำหรับชุดการผสมที่สองเป็นการผสมระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105-Plus III เป็นพันธุ์แม่และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105-BPH เป็นพันธุ์พ่อ ปลูกให้ได้ต้นรุ่น F1 แล้วตรวจสอบจีโนไทป์ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล R10783Indel เพื่อหาต้นที่มียีน Sub1 และเครื่องหมายโมเลกุล RM586 และ SSR24 เพื่อตรวจหาต้นที่มียีน Bph3 พบว่าต้นตัวอย่างชั่วรุ่น F1 จำนวน17 ต้น มียีน Sub1 และยีน Bph3 เป็น heterozygous ทุกต้น เมื่อได้ต้นข้าว BC2F1 ที่มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง (Xa21, xa5 และ xa33 ) จากชุดการผสมที่ 1 และต้น BC2F1 ที่มียีนทนน้ำท่วมฉับพลันและยีนต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Sub1, Bph3RH, qBph6AB และ qBph12AB ) จากชุดการผสมที่ 2 แล้ว จะนำมาผสมข้าม เพื่อรวมยีนทุกที่ต้องการเข้าไว้ด้วยกัน โดยจะผสมให้ได้เมล็ด F2 (จากการผสม BC2F1 ของสองสาย) นำไปปลูกเป็นต้นแล้วใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก รวมทั้งคัดเลือกทรงต้นและเมล็ด (plant type selection, PTS) ต้นที่คัดเลือกได้ (มียีน Sub1, Xa21, xa5, xa33, Bph3RH, qBph6AB และ qBph12AB เป็นเฮเทอโรไซกัส) จะถูกปล่อยให้ผสมตัวเองแล้วติดเมล็ดในรุ่น F3 นำไปปลูกเป็นต้นแล้วใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก รวมทั้งคัดเลือกทรงต้นและเมล็ด ต้นที่ได้ (มียีน Sub1, Xa21, xa5, xa33, Bph3RH, qBph6AB และ qBph12AB เป็นเฮเทอโรไซกัส) จะผสมตัวเองเพื่อเข้าสู่การประเมินลักษณะความทนน้ำท่วมฉับพลัน ความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง
บทคัดย่อ (EN): Pathum Thani 1 is an aromatic non-glutinous and photoperiod insensitive rice variety. Its yield potential is up to 800-900 kg/rai under suitable fertilizer usage and cultural practices. Average yield on farm trail was damaged by flooding, brown planthopper and bacterial blight about 20 to 50 percent. Improvement of Pathum Thani 1 for submergence tolerance, bacterial blight and brown planthopper resistance using molecular marker is one approach to solve this problem. This project was carried out under the commitment between the Rice Department and the Gene Discovery Unit of Kasetsart University. The experiments were divided into two parts, first part was crossing Pathum Thani 1 and Pin Kaset 1 to introduce bacterial blight resistance gene including Xa21, xa5 and xa33. The BC1F1 progenies of 216 samples were screened for Xa21 gene with PB7/PB8 maker and 74 samples were shown heterozygous genotype. Selected heterozygous samples were then screened with PA xa5 maker for xa5 gene and 48 samples were obtained. Stepped samples were further screened for xa33 with RM5509 and RM7243 markers and 25 samples were found to have Xa21, xa5 and xa33 genotype. The second part was crossing KDML105-Plus III (pyramid gene Sub1, qBph6, qBph12, Xa21) and KDML105-BPH (plus Bph3RH gene) to introduce submergence tolerance and brown planthopper resistance. The F1 plants containing 17 samples were screened with R10783Indel marker for Sub1 gene and RM586 and SSR24 markers for Bph3 gene. The results showed that all samples were heterozygous genotype for both genes. The BC2F1 plants plus genes Xa21, xa5 and xa33 from part 1 and BC2F1 plants plus genes Sub1, Bph3RH, qBph6AB and qBph12AB from part 2 will cross for pyramid gene into the progenies and self pollination to F2 (from both of BC2F1) will select plant that has target gene by MAS and (plant type selection, PTS). The selected plant will self to F3 test genotyping for select gene target by MAS and PTS, selected plant will self to F4 and validate flooding tolerance, Bacterial blight and Brown plant hopper resistance.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329831
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก
กรมการข้าว
2557
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน มุมมองเรื่องชีวชนิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาชลประทานให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ปีที่ 3 การพัฒนาพันธุ์ข้าวปทุมธานี 1 ให้ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก อาร์โทรปอตในระบบนิเวศน์นาข้าวพันธุ์อ่อนแอและพันธุ์ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและทนน้ำท่วมฉับพลันโดยการใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกร่วมกับการคัดเลือกลักษณะฟีโนไทป์ อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานโรคขอบใบแห้งโดยวิธีการผสมกลับและคัดเลือก ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก