สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง
บุญมา ป้านประดิษฐ์, ภารดี แซ่อึ้ง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Feasibility Study of Agriculture waste Application for Briquette Fuel
บทคัดย่อ: การศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง ดำเนินการโดยการนำวัสดุเหลือใช้มาผสมเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง จำนวน 6 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ถ่านกะลามะพร้าว สูตรที่ 2 กากมันสำปะหลัง สูตรที่ 3 ถ่านจากกระบวนการแปรรูปไก่ สูตรที่ 4 กากมันสำปะหลังผสมถ่านกะลามะพร้าว สูตรที่ 5 กากมันสำปะหลังผสมเศษพลาสติก และสูตรที่ 6 กากมันสำปะหลังผสมถ่านกะลามะพร้าวผสมเศษพลาสติก ผลการศึกษา พบว่า การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งทั้ง 6 สูตร มีความเหมาะสมในด้านเทคนิคและด้านสังคม สิ่งแวดล้อม โดยคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ทำการขึ้นรูป ทั้ง 6 สูตร พบว่ามีค่าความร้อนมากกว่า 3,800 Kcal/kg โดยสูตรที่ 1 ถ่านกะลามะพร้าว มีค่าความร้อนสูงที่สุดคือ 6,446.30 Kcal/kg รองมาคือ สูตรที่ 3 ถ่านกระบวนการแปรรูปไก่ (6,293.40 Kcal/kg ) สูตรที่ 6 กากมันฯ ผสมถ่านกะลาฯ ผสมพลาสติก (5,702.65 Kcal/kg ) สูตรที่ 4 กากมันฯ ผสมถ่านกะลาฯ (4,859.15 Kcal/kg ) สูตรที่ 5 กากมันฯ ผสมพลาสติก (4,478.45 Kcal/kg) และสูตรที่ 2 กากมันสำปะหลัง (3,877.30 Kcal/kg) ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพของการใช้งานเชื้อเพลิงแท่ง พบว่า ค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 18.16% - 31.26 % การประเมินความคุ้มทุนด้านการเงิน พบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งทั้ง 6 สูตร มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีระยะคืนทุน ไม่เกิน 0.34 ปี การศึกษาทัศนคติของผู้ใช้งานต่อผลกระทบด้านสังคม พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จะทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า ผลกระทบด้านสังคม พบว่า การใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นแนวทางในการสร้างอาชีพ รายได้ ให้กับประชาชนการศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง ดำเนินการโดยการนำวัสดุเหลือใช้มาผสมเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง จำนวน 6 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ถ่านกะลามะพร้าว สูตรที่ 2 กากมันสำปะหลัง สูตรที่ 3 ถ่านจากกระบวนการแปรรูปไก่ สูตรที่ 4 กากมันสำปะหลังผสมถ่านกะลามะพร้าว สูตรที่ 5 กากมันสำปะหลังผสมเศษพลาสติก และสูตรที่ 6 กากมันสำปะหลังผสมถ่านกะลามะพร้าวผสมเศษพลาสติก ผลการศึกษา พบว่า การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งทั้ง 6 สูตร มีความเหมาะสมในด้านเทคนิคและด้านสังคม สิ่งแวดล้อม โดยคุณสมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ทำการขึ้นรูป ทั้ง 6 สูตร พบว่ามีค่าความร้อนมากกว่า 3,800 Kcal/kg โดยสูตรที่ 1 ถ่านกะลามะพร้าว มีค่าความร้อนสูงที่สุดคือ 6,446.30 Kcal/kg รองมาคือ สูตรที่ 3 ถ่านกระบวนการแปรรูปไก่ (6,293.40 Kcal/kg ) สูตรที่ 6 กากมันฯ ผสมถ่านกะลาฯ ผสมพลาสติก (5,702.65 Kcal/kg ) สูตรที่ 4 กากมันฯ ผสมถ่านกะลาฯ (4,859.15 Kcal/kg ) สูตรที่ 5 กากมันฯ ผสมพลาสติก (4,478.45 Kcal/kg) และสูตรที่ 2 กากมันสำปะหลัง (3,877.30 Kcal/kg) ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพของการใช้งานเชื้อเพลิงแท่ง พบว่า ค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 18.16% - 31.26 % การประเมินความคุ้มทุนด้านการเงิน พบว่า เชื้อเพลิงอัดแท่งทั้ง 6 สูตร มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีระยะคืนทุน ไม่เกิน 0.34 ปี การศึกษาทัศนคติของผู้ใช้งานต่อผลกระทบด้านสังคม พบว่า ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จะทำให้เกิดประโยชน์ในการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า ผลกระทบด้านสังคม พบว่า การใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นแนวทางในการสร้างอาชีพ รายได้ ให้กับประชาชน
บทคัดย่อ (EN): The feasibility study of agricultural waste to briquette fuel focuses on the viability of 6 waste mixture formulas: 1) coconut shell charcoal, 2) cassava residue, 3) charcoal from chicken processing, 4) mixture of cassava residue and coconut shell charcoal, 5) mixture of cassava residue and plastic waste and 6) mixture of cassava residue, coconut shell charcoal and plastic waste. The result of the study demonstrates that all 6 formulas are technically feasible and suitable for social environment. The heating value for each formula, in descending order from high to low, are 6,446.30 kcal/kg, 6,293.40 kcal/kg, 5,702.65 kcal/kg, 4,859.15 kcal/kg, 4,478.45 kcal/kg and 3,877.30 kcal/kg for Formula 1-coconut shell charcoal, 3-charcoal from chicken processing, 6- mixture of cassava residue, coconut shell charcoal and plastic waste, 4-mixture of cassava residue and coconut shell charcoal, 5- mixture of cassava residue and plastic waste and 2- cassava residue respectively. Briquette fuel efficiency testing produces average values within 18.16 – 31.26%range. All 6 formulas are considered to be economically feasible with payback period of less than 0.34 years. The study of users’ view point in regards to environmental impact indicates high acceptance level and most believe that many benefits will be generated from efficient use of agricultural waste. Social impact also shows positive aspect such as creating additional income for the people.The feasibility study of agricultural waste to briquette fuel focuses on the viability of 6 waste mixture formulas: 1) coconut shell charcoal, 2) cassava residue, 3) charcoal from chicken processing, 4) mixture of cassava residue and coconut shell charcoal, 5) mixture of cassava residue and plastic waste and 6) mixture of cassava residue, coconut shell charcoal and plastic waste. The result of the study demonstrates that all 6 formulas are technically feasible and suitable for social environment. The heating value for each formula, in descending order from high to low, are 6,446.30 kcal/kg, 6,293.40 kcal/kg, 5,702.65 kcal/kg, 4,859.15 kcal/kg, 4,478.45 kcal/kg and 3,877.30 kcal/kg for Formula 1-coconut shell charcoal, 3-charcoal from chicken processing, 6- mixture of cassava residue, coconut shell charcoal and plastic waste, 4-mixture of cassava residue and coconut shell charcoal, 5- mixture of cassava residue and plastic waste and 2- cassava residue respectively. Briquette fuel efficiency testing produces average values within 18.16 – 31.26%range. All 6 formulas are considered to be economically feasible with payback period of less than 0.34 years. The study of users’ view point in regards to environmental impact indicates high acceptance level and most believe that many benefits will be generated from efficient use of agricultural waste. Social impact also shows positive aspect such as creating additional income for the people.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2552
การพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ศักยภาพด้านพลังงานของแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด แบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการเลี้ยงโค-กระบือ การผลิตถ่านไม้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการใช้พลังงานในชุมชน การประยุกต์ใช้เซลลูโลไลติกเอนไซม์จากราและยีสต์เพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ผสมอัดเม็ดธาตุอาหารสูงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสำหรับชุมชน การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอุ้มน้ำในพื้นที่ดินทรายจัด ผลของการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการตอบสนองของผลผลิตข้าว และการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก