สืบค้นงานวิจัย
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวในเขตจังหวัดชัยนาท
ดวงพร วิธูรจิตต์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวในเขตจังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่อง (EN): Rice potential zoning in Chainat province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงพร วิธูรจิตต์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duangporn Vithoonjit
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: พื้นที่ปลูกข้าวของจังหวัดชัยนาทสามารถแบ่งออกตามศักยภาพความเหมาะสมของดินได้ 3 ระดับ คือ เหมาะสมมาก (กลุ่มดินที่ 3, 4, 7 และ 15) เหมาะสมปานกลาง (กลุ่มชุดดินที่ 6, 17, 18, 21, 22, 24 และ 25) และเหมาะสมน้อย (กลุ่มชุดดินที่ 31b, 35b และ 55b) การสำรวจและเก็บข้อมูลการปลูกข้าวของเกษตรกร ในจังหวัดชัยนาท พ.ศ. 2550-2552 รวม 920 ราย พบว่าพันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดชัยนาท อย่างน้อยมี 9 พันธุ์คือ ปทุมธานี 1, ชัยนาท 1, พิษณุโลก 2, สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 3, สุพรรณบุรี 60, ชัยนาท 80 (กข29) ปทุมธานี 80 (กข31) และ ขาวดอกมะลิ 105 กระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด โดยเกษตรกรจำนวน 901 ราย ปลูกข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกมาก ได้แก่ พันธุ์ปทุมธานี 1 ร้อยละ 65.11 และพันธุ์ชัยนาท 1 ร้อยละ 14.67 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 774 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรอีก 19 ราย ปลูกข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีผลผลิตเฉลี่ย 474 กิโลกรัมต่อไร่ และจากการสุ่มเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินจังหวัดชัยนาท จำนวน 141 ตัวอย่าง พบว่า ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง ค่าปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงด่างจัดมาก (4.59-9.22) ปริมาณอินทรียวัตถุเฉลี่ยร้อยละ 2.1 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 20.04 ppm. และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ 71.29 ppm. ทำการเปรียบเทียบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในจังหวัดชัยนาท ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ได้แก่ ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของทางราชการ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร จำนวน 9 แปลง ใช้ พันธุ์ข้าวชัยนาท 1, ปทุมธานี 1, สุพรรณบุรี 1 หรือ กข31 ปลูกโดยวิธีการหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 20 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่า ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของทางราชการได้ผลผลิตข้าวสูงสุด 855 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนค่าปุ๋ย 860 บาทต่อไร่ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินได้ผลผลิตข้าว 807 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนค่าปุ๋ย 764 บาทต่อไร่ ส่วนวิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรได้ผลผลิตข้าว 742 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนค่าปุ๋ย 837 บาทต่อไร่ เมื่อนำผลผลิตข้าวที่ได้จากแปลงทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในรูปแบบต่างๆ มาคำนวณมูลค่าของผลผลิตตามศักยภาพของพื้นที่แล้วเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ปุ๋ยของเกษตรกร พบว่า การใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรมการ ข้าวสามารถเพิ่มระดับผลผลิตและช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวของจังหวัดชัยนาทได้ร้อยละ 15 แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าต้นทุนปุ๋ยที่ได้กลับพบว่าการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีต้นทุนค่าปุ๋ยถูกที่สุด คือ 0.94 บาทต่อกิโลกรัม รองลงมาคือ การใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ 1.01 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับวิธีของเกษตรกรมีต้นทุนแพงที่สุด ต้นทุนแพงที่สุดคือ 1.30 บาทต่อกิโลกรัม แสดงให้เห็นว่าหากมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตข้าว นอกจากจะเพิ่มมูลค่าการผลิตได้แล้วยังสามารถช่วยในการลดต้นทุนได้อีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): Chainat Province, rice growing areas could be divided by the potential suitability of the soil at 3 levels were very reasonable (soil group 3, 4, 7 and 15) suitable medium (Soil group 6, 17, 18, 21, 22, 24 and 25) and less appropriate. (Soil group 31b, 35b and 55b). Survey and data collection of cultivated rice farmers. Chainat Province Year 2550-2552 included 920 cases showed that rice grown in Chai Nat province has at least nine varieties are consisting PTT 1, CNT 1, PSL 2 ,SPR 1, SPR 3, SPR 60, CNT 80(RD29), PTT 80(RD31) and KDML105 scattered throughout the region. Divided into two groups: rice photoperiod sensitivity (97.93%) were PTT 1, CNT 1, PSL 2, SPR 1, SPR 3, SPR 60, CNT 80(RD29) and PTT80 (RD31). Average yield 774 kg/rai. And rice photoperiod sensitivity (2.07%) i.e. KDML 105, the average yield 474 kg/rai. The sampling and analysis of soil chemical properties of 141 soil samples were soil fertility in moderate to high, pH range acidic to alkaline (4.59-9.22), organic matter content averaging about 2.1%, Available Phosphorus 20.04 ppm. And Available Potassium 71.29 ppm. Testing technology to increase rice yield by fertilization in Chainat Province, consisted 3 treatments were the fertilization by the instructions of the government, the Fertilization by analyzing the soil and the fertilization by farmer's technique, experiment with 9 plots. Use rice varieties SPR 1 or PTT 1 or CNT 1 or PTT 80 (RD31). By the way, scattering, seed rate 20 kg /rai. The result, the Fertilization by advice of the government, highest average rice yield is 855 kg/rai. The average cost of fertilizer 860 baht/rai. Followed Fertilization by analyzing the soil can yield an average 807 kg/rai. The average cost of fertilizer 764 baht/rai and Fertilization by framer’s process at the average rice yield is 742 kg/rai. The average cost of fertilizer 837 baht/rai. Using the yield obtained from testing each plots, to calculate the rice production in different potential areas, By comparing with fertilizing by farmer's technique. Found that the fertilization by the instructions of the government can increase the level and the value of rice production in Chai Nat province to 15 %. However, when comparing the cost of fertilizers found that the use of fertilizer under the soil analysis, cost of fertilize is cheap 0.94 bath/kg. Followed by the advice of the government of 1.01 baht / kg and by farmer's technique is the most expensive cost is 1.30 baht/kg. This suggests that if the use of appropriate technology in rice production not only can increase the value of production but also can help in reducing costs as well.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/3084/1/pre54005c.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวในเขตจังหวัดชัยนาท
กรมการข้าว
2554
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุโขทัย การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี การเพิ่มผลผลิตข้าวจังหวัดตรังจากการจัดเขตศักยภาพของพื้นที่ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว จังหวัดนครราชสีมา การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสิงห์บุรี การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดแพร่-น่าน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก