สืบค้นงานวิจัย
การขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์บางชนิด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
มาลี ณ นคร - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์บางชนิด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Propagation of some rare and endengered native species through tissue culture for conservation and sustainable uses
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มาลี ณ นคร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เจ้าแตรวง ชิ้นส่วนกลีบหัวที่ฟอกด้วยสารละลายคลอรอกซ์ความเข้มข้น 10% นาน 10 นาที หรือ 12 % นาน 10 และ 15 นาที ทำให้ชิ้นส่วนปลอดเชื้อ 52.4, 49.2 และ 50.2% ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ชิ้นส่วนกลีบหัวที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0-10 uM จะเกิดยอดพิเศษซึ่งพัฒนาเป็นหัวย่อย แต่ BA ความเข้มข้น 2.5 uM ชักนำให้เกิดหัวย่อยได้สูงสุด 4.3 หัวย่อย และชิ้นส่วนเกิดหัวย่อยได้ 100 % หัวย่อยนี้สามารถนำมาเพิ่มปริมาณได้โดยเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA 2.5 uM ร่วมกับ NAA 1 uM เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส และย้ายไปเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA 1.0 uM ร่วมกับ NAA 2.5 uM ซึ่งจะชักนำให้พัฒนาเป็นหัวย่อยได้สูงสุด 10.8 หัวต่อชิ้นส่วนที่มีการตอบสนอง และมีเปอร์เซ็นต์ของชิ้นส่วนที่เกิดหัวย่อยสูงสุด 71.4% หัวย่อยเหล่านี้เกิดรากได้ดีถึง 100% ในอาหารที่ไม่เติม IBA จันทน์ผา : การฟอกฆ่าเชื้อแขนงช่อดอกอ่อนด้วยแอลกอฮอล์ 70% เป็นเวลา 1 นาที ตามด้วยสารละลายคลอรอกซ์ความเข้มข้น 12 % มีการปนเปื้อนเพียง 5% และชิ้นส่วนที่ปลอดเชื้อมีอัตราการรอดชีวิต 75% ชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 0-5 uM ร่วมกับ NAA 0-2.5 uM เป็นเวลา 16 สัปดาห์ มีการพัฒนาของยอดพิเศษได้สูงสุด 5.3 ยอดต่อชิ้นส่วน หรือประมาณ 300 ยอด/ช่อดอก และมีจำนวนชิ้นส่วนที่เกิดยอดเป็น 100 % เมื่อได้รับ BA 5.0 uM ร่วมกับ NAA 2.5 uM ยอดเหล่านี้ สามารถนำไปเพิ่มปริมาณยอดได้อีก โดยตัดแยกชิ้นส่วนลำต้นให้มีข้อ 2 ข้อ นำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 10 uM เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จะเกิดการพัฒนาของยอดได้ 4.7 ยอด/ชิ้นส่วน และมีจำนวนใบ 3.9 ใบ/ยอด ยอดเหล่านี้เกิดรากได้ดีถึง 83.3% โดยไม่ต้องกระตุ้นด้วย IBA ยอดที่มีรากแล้วนี้สามารถนำไปย้ายปลูกได้ดีในส่วนผสมของดินผสมสำเร็จรูป:ทราย ในอัตราส่วน 1:1 (uM = ไมโครโมลาร์) เจ้าแตรวง ชิ้นส่วนกลีบหัวที่ฟอกด้วยสารละลายคลอรอกซ์ความเข้มข้น 10% นาน 10 นาที หรือ 12 % นาน 10 และ 15 นาที ทำให้ชิ้นส่วนปลอดเชื้อ 52.4, 49.2 และ 50.2% ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ ชิ้นส่วนกลีบหัวที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0-10 uM จะเกิดยอดพิเศษซึ่งพัฒนาเป็นหัวย่อย แต่ BA ความเข้มข้น 2.5 uM ชักนำให้เกิดหัวย่อยได้สูงสุด 4.3 หัวย่อย และชิ้นส่วนเกิดหัวย่อยได้ 100 % หัวย่อยนี้สามารถนำมาเพิ่มปริมาณได้โดยเพาะเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA 2.5 uM ร่วมกับ NAA 1 uM เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส และย้ายไปเลี้ยงบนอาหารที่เติม BA 1.0 uM ร่วมกับ NAA 2.5 uM ซึ่งจะชักนำให้พัฒนาเป็นหัวย่อยได้สูงสุด 10.8 หัวต่อชิ้นส่วนที่มีการตอบสนอง และมีเปอร์เซ็นต์ของชิ้นส่วนที่เกิดหัวย่อยสูงสุด 71.4% หัวย่อยเหล่านี้เกิดรากได้ดีถึง 100% ในอาหารที่ไม่เติม IBA จันทน์ผา : การฟอกฆ่าเชื้อแขนงช่อดอกอ่อนด้วยแอลกอฮอล์ 70% เป็นเวลา 1 นาที ตามด้วยสารละลายคลอรอกซ์ความเข้มข้น 12 % มีการปนเปื้อนเพียง 5% และชิ้นส่วนที่ปลอดเชื้อมีอัตราการรอดชีวิต 75% ชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 0-5 uM ร่วมกับ NAA 0-2.5 uM เป็นเวลา 16 สัปดาห์ มีการพัฒนาของยอดพิเศษได้สูงสุด 5.3 ยอดต่อชิ้นส่วน หรือประมาณ 300 ยอด/ช่อดอก และมีจำนวนชิ้นส่วนที่เกิดยอดเป็น 100 % เมื่อได้รับ BA 5.0 uM ร่วมกับ NAA 2.5 uM ยอดเหล่านี้ สามารถนำไปเพิ่มปริมาณยอดได้อีก โดยตัดแยกชิ้นส่วนลำต้นให้มีข้อ 2 ข้อ นำไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA 10 uM เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จะเกิดการพัฒนาของยอดได้ 4.7 ยอด/ชิ้นส่วน และมีจำนวนใบ 3.9 ใบ/ยอด ยอดเหล่านี้เกิดรากได้ดีถึง 83.3% โดยไม่ต้องกระตุ้นด้วย IBA ยอดที่มีรากแล้วนี้สามารถนำไปย้ายปลูกได้ดีในส่วนผสมของดินผสมสำเร็จรูป:ทราย ในอัตราส่วน 1:1 (uM = ไมโครโมลาร์)
บทคัดย่อ (EN): Lilium primulinum Baker var. burmanicum Stern: The basal part of bulb scales were used as explants and surface sterilized with 10% Clorox solution for 10 min or 12% Clorox for 10 and 15 min. The result showed no significant difference in uncontaminated explants rate of 52.4, 49.2 and 50.2%, respectively. Adventitious shoots which developed to bulblets were formed from bulb scale explants cultured on MS medium supplemented with 0-10 uM BA. However, the highest number of 4.3 bulblets and 100% of responded explants were induced by 2.5 uM BA. For shoot multiplication, these bulblets were cultured on MS medium containing 2.5 uM BA in combination with 1 uM NAA for callus induction and then transferred to the medium containing 1.0 uM BA in combination with 2.5 uM NAA for bulblet formation. The highest number of 7.1 bulblets/explant and 71.4% of responded explants were achieved. These bulblets easily formed roots with 100% frequency on IBA free medium. Dracaena cochinchinensis (Lour) S.C.: Branches of young inflorescence were surface sterilized with 70% ethyl alcohol for 1 min followed with 12 % Clorox solution. Only five percentage of contamination and 75% survival rate of explants were achieved. The explants were cultured on MS medium containing 0-5 uM BA in combination with 0-2.5 uM NAA for 16 weeks. Adventitious shoots were developed with the highest number of 5.3 shoots/explants or totally 300 shoots/inflorescence and 100 % of responded explants in the treatment of 5 uM BA in combination with 2.5 uM NAA. Shoot multiplication was able to conduct using two-node segments and cultured on MS medium containing 10 uM BA for 8 weeks. Average shoot number of 4.3 shoots/explant and 4.7 leaves/shoot were achieves. Root was easily formed at 83.3% of responded explants on IBA free medium. The rooted shoot was successfully transplant to substrate mixed with 1:1 of commercial mixed soil: sand. (uM = micromolar) Lilium primulinum Baker var. burmanicum Stern: The basal part of bulb scales were used as explants and surface sterilized with 10% Clorox solution for 10 min or 12% Clorox for 10 and 15 min. The result showed no significant difference in uncontaminated explants rate of 52.4, 49.2 and 50.2%, respectively. Adventitious shoots which developed to bulblets were formed from bulb scale explants cultured on MS medium supplemented with 0-10 uM BA. However, the highest number of 4.3 bulblets and 100% of responded explants were induced by 2.5 uM BA. For shoot multiplication, these bulblets were cultured on MS medium containing 2.5 uM BA in combination with 1 uM NAA for callus induction and then transferred to the medium containing 1.0 uM BA in combination with 2.5 uM NAA for bulblet formation. The highest number of 7.1 bulblets/explant and 71.4% of responded explants were achieved. These bulblets easily formed roots with 100% frequency on IBA free medium. Dracaena cochinchinensis (Lour) S.C.: Branches of young inflorescence were surface sterilized with 70% ethyl alcohol for 1 min followed with 12 % Clorox solution. Only five percentage of contamination and 75% survival rate of explants were achieved. The explants were cultured on MS medium containing 0-5 uM BA in combination with 0-2.5 uM NAA for 16 weeks. Adventitious shoots were developed with the highest number of 5.3 shoots/explants or totally 300 shoots/inflorescence and 100 % of responded explants in the treatment of 5 uM BA in combination with 2.5 uM NAA. Shoot multiplication was able to conduct using two-node segments and cultured on MS medium containing 10 uM BA for 8 weeks. Average shoot number of 4.3 shoots/explant and 4.7 leaves/shoot were achieves. Root was easily formed at 83.3% of responded explants on IBA free medium. The rooted shoot was successfully transplant to substrate mixed with 1:1 of commercial mixed soil: sand. (uM = micromolar)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การขยายพันธุ์ไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์บางชนิด โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
มาลี ณ นคร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยการขยายพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ศึกษาการขยายพันธุ์ผักย่านางด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์หน้าวัวด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การขยายพันธุ์และการเติบโตของไม้พะยูง โครงการย่อยที่ 3 การขยายพันธุ์หนามแดง (Carissa carandasLinn.) โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการศึกษาการผลิตสารฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ในสภาพเพาะเลี้ยง การขยายพันธุ์ต้น Tea Tree โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การคัดเลือกพันธุ์ และการขยายพันธุ์พืชเก๊กฮวยสะโง๊ะ ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตามหลักเกษตรอินทรีย์ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเกษตรพื้นที่สูงสะโง๊ะ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสับปะรดพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อการขยายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมะพลับทองเพื่อการอนุรักษ์ การขยายพันธุ์สับปะรดประดับโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก