สืบค้นงานวิจัย
ผลของสารเคลือบผสมไคโตซานและสารสกัดสาหร่ายสไปโรไจราในการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ธีรพร กงบังเกิด, กมลวรรณ โรจน์สุนทรกิตติ, นิติพงศ์ จิตรีโภชน์ - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: ผลของสารเคลือบผสมไคโตซานและสารสกัดสาหร่ายสไปโรไจราในการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of chitosan coating incorporated with Spirogyra spp. extract as antimicrobial and antioxidant agents for meat product
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้งแบคทีเรียและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระจากสาหร่ายเทาน้ำ โดยการสกัดด้วยตัวทำละลาย ได้แก่ น้ำ และเอทานอลร้อยละ 95 ในอัตราส่วนตัวอย่างน้ำหนักแห้งต่อตัวทำละลาย 1.0 กรัมต่อ 30 มิลลิลิตร(น้ำหนักต่อปริมาตร) ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียของสารสกัดด้วยวิธี disc diffusion และวิธี Broth Dilution และทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH ABTS และ วิเคราะห์ปริมาณคลอโรฟิลล์ พบว่าสารสกัดจากสาหร่ายเทาน้ำสกัดด้วย ร้อยละ 95 เอทานอล มีปริมาณร้อยละผลผลิต และปริมาณคลอโรฟิลล์สูงที่สุด คือ 41.78?0.59 ของน้ำหนักแห้ง และ10.48?1.52 กรัมต่อ100 กรัมน้ำหนักแห้ง (P?0.05) ตามลำดับ และมีฤทธิ์ในการยับยั้ง S. aureus และการทดสอบความเข้มข้นต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) ของสารสกัด มีค่าเท่ากับ 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด คือ 122.45?0.20 mg GAE/100 กรัมน้ำหนักแห้ง และมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี ABTS และ DPPH เท่ากับ 25.89?0.01% และ 22.52?0.01% (P?0.05) ตามลำดับ การศึกษาผลของสารเคลือบผสมไคโตซานและสารสกัดสาหร่ายสไปโรไจราในการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอิมัลชัน โดยพิจารณาจากค่า TBARS pH ปริมาณความชื้น ค่าวอเตอร์แอคทีวีตี้ ลักษณะเนื้อสัมผัส และจุลินทรีย์ ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส พบว่า ไส้กรอกอิมัลชันที่ไม่ผ่านการเคลือบมีค่า TBARS เพิ่มสูงขึ้นเมื่อการเก็บรักษาเพิ่มขึ้นซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P?0.05) เมื่อพิจารณาปริมาณจุลินทรีย์ พบว่าตัวอย่างที่มีการเคลือบมีปริมาณจุลินทรีย์ต่ำกว่าไส้กรอกอิมัลชันที่ไม่มีการเคลือบ (P?0.05) โดยไส้กรอกอิมัลชันที่ผ่านการเคลือบด้วยสารสกัดจากสาหร่ายเทาน้ำที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ร่วมกับไคโตซานที่ความเข้มข้นร้อยละ 1.0 สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้ไม่น้อยกว่า 56 วัน
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this study was to investigate the antibacterial and antioxidant activities of Spirogyra spp. extracts. The solvents for extraction were water and 95% ethanol and the ratio of dried Spirogyra spp.: solvent was 1.0 g: 30.0 ml (w/v). Spirogyra spp. extracts were analyzed in term of disc diffusion and broth dilution methods for antibacterial activities. Antioxidant activities were analyzed using DPPH and ABTS assays. It was found that Spirogyra spp. extracts by using 95% ethanol had the highest yield and chlorophyll content of 41.78?0.59 % dry weight and 10.48?1.52 g/ 100 g dry weight (P?0.05), respectively. The result showed that 95% ethanol extract of Spirogyra spp. had the antibacterial activity against S. aureus with the Minimal Inhibitory Concentration (MIC) of 50 mg/ml whereas, the water extract of Spirogyra spp. had the highest total phenolic, ABTS and DPPH content of 122.45?0.02 mg GAE/100 g dry weight, 25.89?0.01 % and 22.52?0.01% (P?0.05), respectively. Effect of chitosan coating incorporated with Spirogyra spp. extract as antimicrobial and antioxidant agents for emulsion sausage were investigated. The emulsion sausage were analyzed in term of TBARS value, pH value, moisture content, aw, texture analysis and microbiological during storage at 4?C. It was found that products without coating incorporated with Spirogyra spp. extract had the highest TBARS value during storage time (P?0.05). While products with coating incorporated with Spirogyra spp. extract had lower microbiological during storage at 4?C (P?0.05). It was found that the products with 0.1% Spirogyra spp. extracts and 1.0% chitosan had shelf life more than 56 days at 4?C.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของสารเคลือบผสมไคโตซานและสารสกัดสาหร่ายสไปโรไจราในการต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2557
ไคโตซาน: ทางเลือกใหม่ของสารต้านเชื้อจุลินทรีย์และสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการวิจัยคัดเลือกจุลินทรีย์เพิ่มความอุดมสมบูรณ์และป้องกันโรคพืชในดินเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช ผลของการใช้ไคโตซานและสารสกัดจากขิงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อวัวบด สารถนอมอาหารจากขิงสกัดเพื่อเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันพืชและสารต้านแบคทีเรีย (ระยะที่ 2) ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์กับวัตถุเจือปนอาหาร การศึกษาประสิทธิภาพการสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน ในจังหวัดกำแพงเพชร การใช้คลื่นเหนือเสียงช่วยสกัดสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านจุลินทรียจ์ากชานอ้อยที่ผ่านการระเบิดด้วยไอน้ำ การตรึงสารคลอโรฟิลล์สารหอม (2AP) และสารต้านอนุมูลอิสระในชาใบเตยโดยเทคนิคไมโครเวฟ ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเจริญของจุลินทรีย์เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ย่อยสลายตะกอนอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก