สืบค้นงานวิจัย
กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุขสันต์ บุกดาสนิท - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขสันต์ บุกดาสนิท
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอ จำแนกและตรวจสอบค่าปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงาน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกำลังขวัญกับภูมิหลังและความคิดเห็นบางประการของเกษตรอำเภอ ประชากรที่ทำการศึกษาคือ เกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉลียงเหนือ ทั้งหมดจำนวน 222 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม 2527 ได้รับแบบสอบถามคืน 70.7 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้ค่าเปอร์เซนต์ ค่ามัชฌินเลขคณิต และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ เกษตรกรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุราชการในกรมส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 15 ปี ส่วนใหญ่ (80.9) เป็นเกษตรอำเภอระดับ 5 ที่เหลือ (19.1) เป็นเกษตรอำเภอระดับ 6 กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างสูง จากการจำแนกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำลังขวัญของเกษตรอำเภอ จำนวน 16 ปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าสูงมีเพียงปัจจัยเดียว คือ ความสอดคล้องระหว่างงานกันความถนัด ปัจจัยที่มีค่าค่อนข้างสูง จำนวน 11 ปัจจัย คือ ความร่วมมือกันของผู้ปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาและเพือนร่วมงาน สถานภาพและการยอมรับนับถือจากหน่วยงาน โอกาสก้าวหน้า ความสามารถของผู้ร่วมงาน ความสำเร็จของการทำงานเป็นกลุ่ม ความพึงพอใจในการทำงานเป็นกลุ่ม ความเป็นมิตรและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การอุทิศตนเพื่องานของคนในหน่วยงาน ความพึงพอใจในหน่วยงานและความพอใจในงาน ปัจจัยที่มีค่าปานกลาง 3 ปัจจัย ได้แก่ สภาพการปฏิบัติงาน ความเพียงพอของรายได้ และความมั่นคงปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สำหรับปัจจัยที่เหลือสุดท้าย เป็นปัจจัยที่มีค่าค่อนข้างต่ำ จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สูงขึ้น ได้แก่ปัจจัยด้านความเหมาะสมของปริมาณงานตามหน้าที่รับผิดชอบ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความแตกต่างของอายุราชการในกรมส่งเสริมการเกษตรมีผลต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงาน แต่ความแตกต่างในด้านระดับตำแหน่งตามระบบ พี.ซี.ไม่มีผลต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอ ความแตกต่างของความคิดเห็นในแง่ความพึงพอใจสูงหรือต่ำ พบว่า ความแตกต่างของความคิดเห็นต่อการนิเทศงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด ไม่มีผลต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงาน ความแตกต่างของความคิดเห็นต่อการพิจารณาบำเหน็จความดีความชอบของผู้บังคับบัญชา ไม่มีผลโดยตรงต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงาน แต่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอิทธิพลของการได้เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีสองขั้น มากหรือน้อย และความแตกต่างของความคิดเห็นต่อผู้ใต้บังคับบัญชามีผลต่อกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภออย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2528
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2528
ขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่อยู่ในโครงการปรับปรุงระบบส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย การปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในจังหวัดภาคใต้ ความคิดเห็นของเกษตรตำบลที่มีต่อการปฏิบัติงานของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออก ความต้องการรับการนิเทศงานส่งเสริมการเกษตรของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านการบริหารของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาความคิดเห็นของผู้นำกลุ่มเกษตรกรทำนาที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเกษตรและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมอาชีพและเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของเกษตรตำบลและเจ้าพนักงานเคหกิจเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ ทัศนคติของเกษตรอำเภอที่มีต่อหน่วยงานวิชาการเกษตร การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตภาคตะวันออก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก