สืบค้นงานวิจัย
ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช ต่อศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร
สุคนธ์ ท้วมมา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช ต่อศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุคนธ์ ท้วมมา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชที่มีต่อศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชกรมส่งเสริมการเกษตรมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชที่เข้าร่วมโครงการ 2) ศึกษาความพึงพอใจของตัวแทน 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเป็นตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช รวบรวมข้อมูลจากตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช จำนวน 260 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเป็นตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชในปี 2547 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชที่ร่วมโครงการส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 43.9 ปี ร้อยละ 31.00 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 62.00 ประกอบอาชีพหลักคือ ค้าขาย และรองลงมาร้อยละ 23.00 ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 33.50 ประกอบอาชีพรองคือค้าขาย ร้อยละ 84.00 ติดต่อกับศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชเป็นครั้งคราว ร้อยละ 49.50 เป็นร้านค้า / บริษัท ร้อยละ 87.00 มีสถานที่จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ห่างจากศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ระหว่าง 1 - 100 กิโลเมตร โดยมีระยะทางเฉลี่ย 63.74 กิโลเมตร ร้อยละ 70.60 สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวมากที่สุด ร้อยละ 46.48 ปริมาณการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวระหว่าง 10,001 - 50,000 กิโลกรัม สั่งซื้อปริมาณเฉลี่ย 380,437.50 กิโลกรัม ร้อยละ 45.90 ได้รับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์จากสำนักขยายเมล็ดพันธุ์พืช ร้อยละ 43.61 ได้รับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์จากศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ร้อยละ 40.97 ต้องการรับบริการด้านเอกสารคู่มือวิชาการต่างๆ จากกรมส่งเสริมการเกษตร ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชต่อศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ที่มีต่อการดำเนินงานของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชพบว่า ตัวแทนมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย = 2.30 เมื่อเรียงลำดับความพึงพอใจจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านเมล็ดพันธุ์ มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.42 รองลงไป ได้แก่ ด้านสถานที่จำหน่าย ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.36 และ 2.35 ตามลำดับ สำหรับด้านราคาส่วนลดมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.06 ปัญหาอุปสรรคพบว่า ร้อยละ 85.00 มีปัญหาด้านเมล็ดพันธุ์ และ ร้อยละ 56.00 มีปัญหาด้านราคาจำหน่าย สำหรับข้อเสนอแนะด้านเมล็ดพันธุ์ ควรมีการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ทั้งชนิดและปริมาณ ควรมีการตรวจสอบคุณภาพให้มากกว่านี้ ด้านราคาจำหน่าย ควรปรับปรุงราคาจำหน่ายให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ ด้านราคาส่วนลด ควรเพิ่มราคาส่วนลดให้มากขึ้น ด้านการส่งเสริมการจำหน่ายควรมีเอกสาร คำแนะนำ แจกให้ตัวแทน ด้านการให้บริการ ควรมีการให้บริการขนส่งเมล็ดพันธุ์ฟรีให้แก่ตัวแทน ด้านสถานที่ ควรจัดให้มีสถานที่นั่งรอและพักผ่อนขณะรอรับเมล็ดพันธุ์ ด้านอื่นๆ ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ควรจัดสรรโควต้าเมล็ดพันธุ์ให้ตัวแทนในปริมาณที่เท่าเทียมกัน ควรมีการสัมมนา/ ฝึกอบรมตัวแทนเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความพึงพอใจของตัวแทนจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช ต่อศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเมล็ดพันธุ์และกระบวนการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 13 จังหวัดกาฬสินธุ์ ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเมล็ดพันธุ์และกระบวนการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์และการให้บริการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 17 จังหวัดขอนแก่น ปี 2547 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 19 จังหวัดชลบุรี บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อการกระจายเมล็ดพันธุ์ดีของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ความคิดเห็นของผู้นำกลุ่มเกษตรกรผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ ต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 7 จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณเมล็ดผิวสีคล้ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว กำแพงแสน 2 ที่ผลิตโดยเกษตรกรแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา ความพึงพอใจของลูกค้าต่อเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง ไทนาน 9 ฤดูแล้ง ปี 2547 ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 16 จังหวัดสุรินทร์ ศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ฤดูแล้ง ปี 2547 ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 12 จังหวัดอุดรธานี พฤติกรรมการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท 1 ฤดูฝน ปี 2546 ของเกษตรกรแปลงขยายพันธุ์ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 22 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก