สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด. เพื่อลดการใช้สารเคมี ในการปลูกมะเขือเทศ
กรวิกา รัตนนพนันทน์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด. เพื่อลดการใช้สารเคมี ในการปลูกมะเขือเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): The Study on High Quality Organic Fertilizer and Super Ldd for reduce chemical fertilizer for reduce chemical fertilizer in Soil Group 22.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรวิกา รัตนนพนันทน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ทิวา ปาตีคำ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด. เพื่อลดการใช้สารเคมีในการปลูกมะเขือเทศ จ.เชียงใหม่ บ้านศาลา หมู่ 3 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง เดือนตุลาคม 2551 ถึง เดือนกันยายน 2554 รวมระยะเวลา 3 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและสารเร่งซุปเปอร์ พด. ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) ประกอบด้วย 5 วิธีการทดลอง จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย วิธีการที่ 1 ใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ วิธีการที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งของอัตราแนะนำ วิธีการที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราหนึ่งส่วนสี่ของอัตราแนะนำร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและสารเร่งซุปเปอร์ พด. วิธีการที่ 4 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด. และวิธีการที่ 5 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียว ผลการทดลอง พบว่า ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด. ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการปรับปรุงบำรุงดิน พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. ร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราต่าง ๆ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งมีปริมาณธาตุอาหารในระดับต่ำ และปริมาณธาตุอาหารที่เพิ่มขึ้นในทุกวิธีการมีค่าไม่แตกต่างกันมาก แต่ปริมาณอินทรียวัตถุและค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินในวิธีการที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.ร่วมด้วย มีแนวโน้มสูงขึ้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงหรือปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด. หรือ ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ และ ? หรือ ? ของอัตราแนะนำ ไม่ทำให้การเจริญเติบโตของมะเขือเทศแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว แต่มีผลทำให้ผลผลิตต่อไร่แตกต่างกับวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียวในปีที่ 1 ส่วนในปีที่ 2-3 ค่าผลผลิตต่อไร่เริ่มใกล้เคียงกัน แต่ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 3 ปีการทดลองพบว่า วิธีการที่ใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำเพียงอย่างเดียว (วิธีการที่ 1) ให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 654.44 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือวิธีการที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมด้วย ทั้ง 3 วิธีการ คือ วิธีการที่ 5 , 3 และ 4 ให้ค่าผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 616.53 , 607.77 และ 606.92 กิโลกรัมต่อต้น ตามลำดับ ส่วนวิธีการที่ใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำในอัตราครึ่งหนึ่ง (วิธีการที่ 2) ให้ผลผลิตต่อไรเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 591.08 กิโลกรัมต่อไร่
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับสารเร่งซุปเปอร์ พด. เพื่อลดการใช้สารเคมี ในการปลูกมะเขือเทศ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ศึกษาเทคนิคการนำผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. สกัดสารจากพืชสมุนไพร เพื่อควบคุมแมลงศัตรูของพืชผัก การใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ร่วมกับสารสกัดจากหน่อกล้วยเพื่อปลูกผักกาดหอมในกลุ่มชุดดินที่ 24 ศึกษาการใช้ปุ๋ยหมักจากสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1 และเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมโรคพืชจากสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.3 ทดแทนการใช้สารเคมีต่อผลผลิต และคุณภาพการเก็บรักษามันฝรั่ง ในกลุ่มชุดดิน 22 ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบเกษตรลดใช้สารเคมีกับข้าวโพดหวาน ผลของการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ และสารป้องกันแมลงศัตรูพืชต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาในจังหวัดขอนแก่น ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่ผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette (ชื่อเดิม : ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยอินทรีย์น้ำต่อผลผลิตและคุณภาพขององุ่นพันธุ์ Perlette) วิจัยทดสอบประสิทธิภาพของสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ในการควบคุมและป้องกันเชื้อสาเหตุโรคเน่าของพริกในพื้นที่จังหวัดตาก การศึกษาวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เพื่อลดเวลาการย่อยสลายฟางข้าวและเพิ่มผลผลิตข้าวในชุดดินหางดง จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก