สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเคลือบด้วยฮอร์โมน IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
กิตติวรรณ กล้ารอด - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเคลือบด้วยฮอร์โมน IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of seed coating with IAA on quality of hybrid tomato seed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติวรรณ กล้ารอด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kittiwan Klarod
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บุญมี ศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Boonmee Siri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสมบางพันธุ์เสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความงอกไม่สมํ่าเสมอ และต้นกล้ามีพัฒนาการช้า ซึ่งการทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยฮอร์โมน Indole-3-acetic acid (IAA) ด้วยอัตราที่แตกต่างกัน 4 อัตรา คือ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 % เคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วยเครื่องเคลือบเมล็ดพันธุ์แบบจานหมุนรุ่น SKK 10 ที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้นสุ่มเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศไปตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบ และตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการเคลือบด้วยวิธีการเร่งอายุที่ 43 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 100 % เป็นเวลา 72 ชั่วโมง พบว่าการเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วย IAA อัตรา 2 % ทำให้เมล็ดพันธุ์มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเพิ่มขึ้นทั้งหลังการเคลือบและการเร่งอายุ และการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับ IAA ทำให้ความงอกและความเร็วในการงอกรากและการโพล่พ้นของ hypocotyls สูงกว่าเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้เคลือบ
บทคัดย่อ (EN): Some varieties of hybrid tomato seeds had deteriorated rapidly that caused non-uniformly germination and seedlings had slow development. The aimed of this experiment was to coating the seed with Indole-3-acetic acid (IAA) at the 4 different rates of 0.5, 1.0, 1.5 and 2%. The tomato seeds were coated by centri seed coater model SKK 10. The experiment was conducted at seed technology laboratory, Seed Processing Plant, Faculty of Agriculture, KhonKaen University. After coating process, the coated seeds were taken for seed quality testing and seed vigour testing for the coated seeds by accelerated aging at 43 °C, 100 percentage are of relative humidity for 72 hours. The results indicated that coated seed with 2% IAA had the highest germination both after coating and after seed vigour testing. Seed coating with IAA resulted the seed germination, speed of germination and hypocotyl emergence higher than the non-coated seed.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O041 Agr_15.pdf&id=1848&keeptrack=3
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเคลือบด้วยฮอร์โมน IAA ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชผสมเพื่อยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของเมล็ดพันธุ์แตงกวา ผลของการทำ osmopriming ด้วยสารเคมีต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการกระตุ้นการงอกด้วยสารเคมีต่างชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุประสานชนิดแตกต่างกันต่อลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกและคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมะเขือเทศลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังการเก็บรักษา ผลของการเคลือบร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin B ต่ออายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก