สืบค้นงานวิจัย
โครงการจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของไทย
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล - กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ชื่อเรื่อง: โครงการจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Project to create a database of interactions between herbs and modern medicine. for the benefit of Thai medical
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): N/A
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ไม่มีข้อมูลผู้ร่วมวิจัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): N/A
คำสำคัญ: โครงการ
คำสำคัญ (EN): Project
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรและ ยาแผนปัจจุบัน (herb-drug interactions) จากบทความและรายงานการศึกษาวิจัยในคน สัตว์ทดลอง และหลอดทดลอง ของสมุนไพรที่มีการใช้อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ชะเอมเทศ มะขามป้อม พริกไทย ดีปลี ชุมเห็ดเทศ มะขามแขก ขมิ้นชัน ขิง กระเจี๊ยบแดง มะระขี้นก ไพล ฟ้าทะลายโจร เถาวัลย์เปรียง หญ้าหนวดแมว และรางจืด และสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งในรูปยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ได้แก่ กระเทียม ค าฝอย ขึ้นฉ่าย แปะก๊วย เห็ดหลินจือ กระชายด า และโสม โดยวิเคราะห์ถึงผลและกลไกการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา ได้แก่ อันตรกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์(pharmacokinetic interactions) ซึ่งมีผลให้ปริมาณของยาที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือลดลง และอันตรกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamic interactions) ซึ่งเกิดจากสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาโดยมีผลเสริมฤทธิ์ยา (synergistic effects) หรือลดฤทธิ์ยา (antagonist effects) โดยการเพิ่มปริมาณยาหรือเสริมฤทธิ์ยาในยาบางชนิดอาจทำให้เกิดความเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายได้หรือการลดปริมาณยาและลดฤทธิ์ยาอาจทำให้การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล ดังนั้น ต้องระมัดระวังการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันในผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ ความดัน เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น และโรคที่ต้องใช้ยาที่มีดัชนีการรักษาแคบ (narrow therapeutic index) การวิเคราะห์รายงานข้อมูลการเกิดอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรทั้ง 22 ชนิดและยาแผนปัจจุบัน พบว่ามีสมุนไพรหลายชนิด เช่น กระเทียม ขมิ้นชัน ขิง พริกไทย ดีปลีแปะก๊วย เห็ดหลินจือ และโสม มีรายงานอันตรกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ โดยมีผลกระตุ้นหรือยับยั้งเอนไซม์ในตับ หรือ ไซโตโครม พี 450(cytochrome P 450; CYP450) และพี ไกลโคโปรตีน (P-glycoprotein; Pg) ซึ่งอยู่ในกระบวนการเมแทบอลิซึมและการขนส่งของยาในร่างกาย มีผลให้ระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้นหรือลดลง สมุนไพรบางชนิดมีรายงานเกิดอันตรกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ เช่น ขมิ้นชัน กระเทียม และแปะก๊วย มีผลเสริมฤทธิ์ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออก หรือเลือดหยุดยาก มะระขี้นกมีผลเสริมฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของยารักษาเบาหวาน ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้ ชะเอมเทศมีผลลดฤทธิ์ของยาลดความดันโลหิต อาจท าให้การรักษาไม่ได้ผล เป็นต้น และนำข้อมูลมาเขียนเป็นบทความและจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน นำเสนอในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ผลของ การเกิดอันตรกิริยา กลไกการเกิดอันตรกิริยา ระดับความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล โอกาสหรือความเสี่ยงของการเกิดอันตรกิริยา ความรุนแรงของการเกิดอันตรกิริยา และคำแนะนำในการใช้ สำหรับเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ในรูปแบบของฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงและสืบค้นได้ง่าย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบันแก่ผู้ป่วย และประชาชนผู้สนใจในการเลือกใช้สมุนไพรสำหรับการดูแลตนเอง สามารถเลือกใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้องปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการรักษาเมื่อใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ป้องกันการเกิดความเป็นพิษหรือไม่ให้ผลในการรักษาจากการใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this projectare to searchand analysis the information on the studies of herb-drug interaction though clinical, in vivo, and in vitro studies from review articles and journals of some medicinal plants used in national drug list such as licorice (Glycyrrhiza glabra L.), emblic (Phyllanthus emblica L.), pepper (Piper nigrum L.), Java long pepper (Piper chaba Hunter), ringworm senna leaf (Senna alata (L.) Roxb.), alexandrian senna (Senna alexandrina Mill.), turmeric (Curcuma longa L.), ginger (Zingiber officinale Roscoe.), roselle (Hibiscus sabdariffa L.), Thai bitter cucumber (Momordica charantia L.), phlai (Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr.), Fa Thalai Chon (Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees.), hog creeper vine (Derris scandens (Roxb.) Benth.), Java tea (Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. ) and rang chuet (Thunbergia laurifolia L. ) as well as some popular herbs used in both herbal medicines and dietary supplements in Thailand such as garlic (Allium sativum L.), safflower (Carthamus tinctorius L.), celery (Apium graveolens L.), ginkgo leaf (Ginkgo biloba L.), LIngzhi (Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.), krachai dam (Kaempferia parviflora Wall. ex Baker) and ginseng (Panax ginseng C.A.Meyer.). The effects and mechanism of herb-drug interaction including pharmacokinetic and pharmacodynamic interactions were analyzed. The pharmacokinetic interaction affects serum drug level whereas the pharmacodynamic interaction relate to synergistic effects or antagonist effects of pharmacological action of drugs. The increase in drug level and synergistic effect may be toxic or harmful to patients. Whereas the decrease in drug level and antagonistic effect may cause of drug treatment failure. Therefore, the consumption of some herbal medicine and dietary supplements have to be careful in patients with chronic or severe diseases such as cardiovascular disease, hypertension, diabetes mellitus, and cancer, together with the treatment with narrow therapeutic index drug. The analysis of herb-drug interaction report data of the 22 medicinal plants found that many plants such as garlic, turmeric, ginger, pepper, Java long pepper, ginkgo leaf, Lingzhi and ginseng have pharmacokinetic interaction affects to drug concentration in serum or target tissue due to the change of drug metabolism and transporters by the inhibition or induction of cytochrome P 450 (CY450), glycoprotein P (Pg), and other drug transporter proteins. The herbs, turmeric, garlic and ginkgo leaf with anticoagulant activity have synergistic effect pharmacodynamics interaction with anticoagulant drug that can lead to excessive or prolonged bleeding. Some herbs, Thai bitter cucumber may cause of hypoglycemic symptom when they are used in the patients treated with antidiabetic drugs. In the case of antagonist effect, the treatment with herbal remedies containing licorice may reduce the efficacy of antihypertensive drugs. The herb-drug interaction data of the 22 medicinal plants were written into articles and prepared a herb-drug interaction online database in website. The contents, including effects, mechanism, evidence level, clinical significance, and severity of herb-drug interaction, and recommendations of medical consultation for herb-drug interaction have been provided in the database. Medical personnel, especially for doctor and pharmacist can used the database as a guideline for consulting the patient who would like to use herbal medicines or dietary supplements together with modern medicine. The database is also benefit to the people who are interested in herbs for self-care and herb consumption with safe and effective treatment or lack of toxic when using herb remedies with modern medicine.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับชาติ:
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: N/A
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: N/A
เลขทะเบียนวิจัยกรม: N/A
ชื่อแหล่งทุน: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: N/A
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 00000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: http://ttdkl.dtam.moph.go.th/Module7/frmc_home_research_show.aspx?r_id=Mzg4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: N/A
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: N/A
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2562
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ของไทย
กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การจัดทำแผนที่ดินกระจายตัวในพื้นที่โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง จังหวัดลำปาง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ เวชสำอางสมุนไพร มิติใหม่ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ ประสิทธิผลโครงการเยาวชนไทยต้านภัยไข้เลือดออก ปี 2548 โครงการ การพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับการปลูกยางพาราของประเทศไทยด้วยประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชันและไพล การจัดทำแผนที่ค่าดรรชนีที่ใช้ในการตรวจจับพื้นที่ภัยแล้ง :โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี การติดตามประเมินผลโครงการเกษตรประณีตเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร ในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดน่าน ภายใต้โครงการเทเลฟู้ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก