สืบค้นงานวิจัย
การสำรวจและประเมินคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
รัฐพงศ์ มีกุล - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การสำรวจและประเมินคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่อง (EN): Survey and evaluation on rice seed quality in Mae Hong Son province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัฐพงศ์ มีกุล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ruttapong Meekun
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสำรวจและประเมินคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2553 ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มคือ แหล่งที่มีการผลิตและจำหน่าย เกษตรกรทั่วไป และเกษตรกรหลังจากใช้เมล็ดพันธุ์ดี สุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าว นำมาวิเคราะห์คุณภาพ เพื่อให้ทราบถึงภาพรวมสภาพการผลิตและการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมไปถึงทำให้ทราบความต้องการพันธุ์ข้าว ปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรทั่วไป ติดตามเกษตรกรหลังจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดี และได้ทราบถึงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้เพาะปลูก จากการวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ที่กรมการข้าวกำหนด ทั้งในกลุ่มของแหล่งผลิตและจำหน่าย เกษตรกรทั่วไป และเกษตรกรหลังจากใช้เมล็ดพันธุ์ดี เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มีความบริสุทธิ์ต่ำ สิ่งเจือปนสูง แต่มีความงอกและความชื้นผ่านมาตรฐาน แหล่งผลิตและแหล่งจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีเพียงแห่งเดียวที่ดำเนินกิจการอยู่ พบปัญหาในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนและการบริหารจัดการของลุ่ม พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกและมีความต้องการมากคือ พันธุ์ กข21 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพราะให้ผลผลิตสูงและคุณภาพการหุงต้มดี นำไปลูกโดยไม่มีการทดสอบความงอก พื้นที่นาส่วนใหญ่นอกเขตชลประทานจึงไม่สามารถจัดการน้ำได้ตลอดฤดู ปลูกหนึ่งครั้งต่อปี ปลูกโดยใช้แรงงานปักดำ สำหรับข้าวนาสวน และกระทุ้งด้วยไม้หรือเสียมแล้วหยอดเมล็ดแห้งสำหรับข้าวไร่ ทำการตัดข้าวปนโดยตัด 2 ครั้ง ในระยะออกรวงและก่อนเก็บเกี่ยว แต่ส่วนใหญ่ไม่ทำการตัดข้าวปน พบปัญหาโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดหลังขาว เก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน ส่วนใหญ่เกี่ยวแล้วตากในนาวางราย 2-7 วัน และเกี่ยวแล้วตากในนาสุมซัง 3-5 วัน ผลผลิตเก็บไว้ทำพันธุ์บางส่วนผลผลิตเฉลี่ย 533 กิโลกรัมต่อไร่
บทคัดย่อ (EN): Survey and evaluation on rice seed quality in Mae Hong Son Province were conducted during 2009-2010. The survey aimed to investigate farmer’s practices on rice seed production and uses, seed demand and problems as well as to monitor farmers after using good seed. Three groups of people were interviewed consisted of seed producers and sellers, farmers who used their own seed and farmers who used good seed. The result showed that most of the seed samples were unqualified as compared to the Rice Department seed standard. The major problems found were seed impurity and mixed of foreign materials. There was only one group of farmers producing and selling rice seed in Mae Hong Son and they were faced with problems on revolving fund and group management. The favorite rice varieties among farmers were RD21 and KDML105 owing to its high yield and good cooking quality. Among farmers’ practices, seeds were usually sown without germination test and transplanting was commonly done by hands. The off type rice was eliminated twice at heading and before harvesting. The major rice production constraints were blast and white backed plant hopper. Harvesting was normally done by hands and seeds were kept for the next season.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329211
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสำรวจและประเมินคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105 แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การประเมินและติดตามคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดพิจิตร การประเมินคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป ผลของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์แบบปิดสนิทใน super bag ต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจัยในการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว ผลของการใช้เครื่องอบลดความชื้นต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก