สืบค้นงานวิจัย
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง
วิภารัตน์ ทองงอก - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่อง (EN): Structure and Distribution of Fish Community in the Presae Reservoir, Rayong Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิภารัตน์ ทองงอก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Wiparat Thong-ngok
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง ดำเนินการสุ่มตัวอย่างด้วยกระแสไฟฟ้า อวนล้อมประกอบกระแสไฟฟ้า และข่ายขนาดช่องตาต่างกัน ระหว่างเดือนธันวาคม 2553 ถึงเดือนสิงหาคม 2554 รวม 4 เที่ยวสำรวจ จาก 4 จุดสุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลา 41 ชนิด 16 วงศ์ พบปลาในวงศ์ Cyprinidae มีจำนวนชนิดมากที่สุด โดยปลาตะเพียนขาวเป็นองค์ประกอบชนิดเด่นที่มีมากที่สุดทั้งในด้านจำนวนและน้ำหนัก ชนิดปลาที่มีองค์ประกอบของโครงสร้างโดยจำนวนมากรองลงมา ได้แก่ ปลาแป้นแก้ว ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ในขณะที่ปลากระสูบขีด ปลาชะโด ปลาสร้อยนกเขา ปลาช่อน และปลาแป้นแก้ว มีองค์ประกอบของโครงสร้างโดยน้ำหนักมากรองลงมาเรียงตามลำดับ โครงสร้างประชาคมปลาจำแนกได้เป็นกลุ่มปลาเกล็ด (carp) 16 ชนิด กลุ่มปลากินเนื้อ (murrels) 4 ชนิด กลุ่มปลาหนัง (catfish) 4 ชนิด และกลุ่มปลาอื่นๆ (miscellaneous) 15 ชนิด มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละโดยน้ำหนัก 67.59, 21.05, 1.90, 9.45 และโครงสร้างโดยจำนวนคิดเป็นร้อยละ 50.46, 2.29, 0.58 และ 46.67 เรียงตามลำดับ การแพร่กระจายของประชาคมปลาพบว่า จุดสำรวจที่ 1 มีการแพร่กระจายของประชาคมปลาดีที่สุดเมื่อเทียบกับจุดสำรวจอื่น ในขณะที่เดือนเมษายน มีการแพร่กระจายของประชาคมปลาดีที่สุดเมื่อเทียบกับทุกเที่ยวสำรวจ ผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมงด้วยการใช้กระแสไฟฟ้า มีค่าเฉลี่ย 14.27+ 5.77 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมงด้วยการใช้เครื่องมือข่าย มีค่าเฉลี่ย 675.56 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน และผลผลิตทางการประมงมีค่าเฉลี่ย 5.07 + 0.15 กิโลกรัมต่อไร่ ค่าดัชนีความมากชนิด ดัชนีความหลากหลาย และ ดัชนีความเท่าเทียม มีค่าเฉลี่ย 3.38 + 0.40, 2.39 + 0.50 และ 0.51 + 0.09 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Study on structure and distribution of fish community in the Prasae Reservoir was conducted by electrofishing, purse seine and a set of multi mesh size gillnets. Four sampling stations were observed during December 2010 to August 2011. The results showed that there were 41 species 16 families. Barbonymus gonionotus was dominant species and was highest abundance fish species composition by number and weight. Barbonymus gonionotus, Parambassis siamensis, Puntius brevis and Osteochilus enneaporus were the most highest abundance fish species composition by number and Hampala macrolepidota, Channa micropeltes, Osteochilus enneaporus, Channa striata and Parambassis siamensis were the most highest abundance fish species composition by weight, respectively. The composition of fish community grouping by carp 16 species, murrel 4 species, catfish 4 species and miscellaneous 15 species weight were 67.59, 21.05, 1.90, 9.45 % and by number 50.46, 2.29, 0.58, 46.67 % of carp, murrel, catfish and miscellaneous, respectively. The result of fish distribution found that the upper zone and April was the best distribution, comparison by sampling stations and trips. Efficiency of the catch by using a set of gill net was estimated to be 675.56 gram/100 m2/night. By using electrofishing was estimated 14.27+ 5.77 Kilogram/hour and fish standing crop was 5.07 + 0.15 Kilogram/rai. The average richness, diversity and evenness indices of fish community were 3.38 + 0.39, 0.50 + 0.09 and 2.39 + 0.50, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
โครงสร้างการกินอาหารของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง คุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง โครงสร้าง และการแพร่กระจายของประชาคมปลาในพรุควนเคร็ง โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในทุ่งสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างประชาคมปลาในหนองหารจังหวัดสกลนคร บทบาทและการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรประมงในอ่างเก็บน้ำเขื่อนประแสร์ จังหวัดระยอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก