สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ
วิลาสลักษณ์ ว่องไว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ
ชื่อเรื่อง (EN): Varietal Improvement and Propagation Technology on Dendrobium scabrilingue Lindl.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิลาสลักษณ์ ว่องไว
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์และการปลูกเลี้ยงเอื้องแซะที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการวิจัย ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ตุลาคม 2554 – กันยายน พ.ศ. 2555 โดยมี 3 การทดลองคือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายปลูกเอื้องแซะ วิธีการย้ายปลูกเอื้องแซะที่เหมาะสม และวัสดุย้ายปลูกเอื้องแซะที่เหมาะสม การทดลองที่ 1 ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายปลูกเอื้องแซะ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์(CRD) มี 3 กรรมวิธี (3 ช่วงฤดู) ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 ฤดูหนาว (พ.ย.-ก.พ.) กรรมวิธีที่ 2 ฤดูร้อน (มี.ค.-มิ.ย.) และกรรมวิธีที่ 3 ฤดูฝน (ก.ค.-ก.ย.) จากการทดลองพบว่าช่วงเดือน มีนาคม-มิถุนายน มีอัตราการมีชีวิตของต้นกล้ากล้วยไม้เอื้องแซะสูงสุดร้อยละ 62 หลังจากย้ายปลูก 90 วัน มีการเจริญเติบโต จำนวนรากเฉลี่ยสูงสูด การทดลองที่ 2 วิธีการย้ายปลูกเอื้องแซะที่เหมาะสม วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) มี 5 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ย้ายปลูกในสภาพปกติ (ไม่มีการควบคุมความชื้น อุณหภูมิ ไม่ให้สารเคมีและไม่ให้เชื้อไมโคไรซ่า) กรรมวิธีที่ 2 ย้ายปลูกในกระโจมพลาสติก กรรมวิธีที่ 3 ย้ายปลูกในกระบะพ่นหมอก กรรมวิธีที่ 4 ย้ายปลูกโดยให้กรดแอบซิสิค (ABA) ขณะย้ายปลูก และกรรมวิธีที่ 5 ย้ายปลูกโดยใส่เชื้อไมโครไรซ่าขณะย้ายปลูก จากการทดลองพบว่า การย้ายปลูกกล้วยไม้เอื้องแซะในกระโจมพลาสติก มีอัตราการมีชีวิตสูงสุดร้อยละ 87.5 หลังย้ายปลูก 90 วัน และมีการเจริญเติบโต จำนวนใบ ขนาดใบและจำนวนรากสูงสุด การทดลองที่ 3 วัสดุย้ายปลูกเอื้องแซะที่เหมาะสม วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) มี 5 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใช้วัสดุปลูก กรรมวิธีที่ 2 สแฟคนัมมอส กรรมวิธีที่ 3 ใยมะพร้าว กรรมวิธีที่ 4 เปลือกสน และกรรมวิธีที่ 5 เปลือกไม้ท้องถิ่น ผลการทดลองพบว่า การย้ายปลูกกล้วยไม้เอื้องแซะในวัสดุปลูก สแฟคนัมมอส มีอัตราการมีชีวิตสูงสุดร้อยละ 72 หลังย้ายปลูก 90 วัน ส่วนด้านการเจริญเติบโตหลังย้ายปลูกพบว่ากล้วยไม้เอื้องแซะที่ปลูกในวัสดุสแฟคนัมมอส มีการเจริญเติบโตจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด กล้วยไม้เอื้องแซะที่ปลูกในใยมะพร้าวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสูงสุด และกล้วยไม้เอื้องแซะที่ปลูกในเปลือกไม้ท้องถิ่นจำนวนรากเฉลี่ยสูงสุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์ลำไย การประเมินพันธุ์และพัฒนาการขยายพันธุ์กล้วยน้ำว้าเพื่อการค้า การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ การขยายสายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีโดยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง โครงการวิจัยการขยายพันธุ์พืชตระกูลแตงโดยใช้ต้นตอเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก