สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาสูตรตำรับโลชั่นสูตรกลางวันที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวหน้าขาว โดยใช้สารสกัดจาก สมุนไพรหม่อน
วิโรจน์ แก้วเรือง, สถาพร วงศ์เจริญวนกิจ, ทัศนา พิทักษ์สุธีพงศ์, กรกนก อิงคนินันท์ - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสูตรตำรับโลชั่นสูตรกลางวันที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวหน้าขาว โดยใช้สารสกัดจาก สมุนไพรหม่อน
ชื่อเรื่อง (EN): Development on Daycare Whitening Lotion Recipe Extract from Mulberry Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Mulberry
บทคัดย่อ: สารสกัดเอทานอลของโคนต้นหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์60 (Morus spp.) ได้ถูกนำไปวิเคราะห์หาปริมาณออกซีเรสเวอร์ราทรอล และเรสเวอร์ราทรอลโดยวิธีการโครมาโทรกราฟฟีชนิดของเหลวสมรรถนะสูง จากนั้นนำสารสกัดหม่อน และบ่งชี้ออกซีเรสเวอร์ราทรอล และเรสเวอร์ราทรอล มาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส เปรียบเทียบกับโคจิก และทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ เปรียบเทียบกับบิวทีเลเต็ด ไฮดรอกซีโทลูอีน ต่อจากนั้นนำสารสกัดไปเตรียมตำรับโลชั่น และทดสอบความคงตัวทางกายภาพโดยภาวะเร่ง ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหม่อนที่ได้มีสีน้ำตาลเข้ม ผลผลิตของสารสกัดที่ได้คิดเป็นร้อยละ 4.35 ปริมาณของออกซีเรสเวอร์ราทรอล และเรสเวอร์ราทรอลในสารสกัดหม่อนเท่ากับร้อยละ 27.3 และ 9.0 ตามลำดับ ค่าความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ร้อยละ 50 ของสารสกัด เท่ากับ 6.2 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ออกซีเรสเวอร์ราทรอลมีค่าความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ร้อยละ 50 เท่ากับ 1.0 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (4.0 ไมโครโมลาร์) ขณะที่โคจิกมีค่าความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสที่ร้อยละ 50 เท่ากับ 11.4 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (80.3 ไมโครโมลาร์) ค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ร้อยละ 50 ของสารสกัด เท่ากับ 34.1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ออกซีเรสเวอร์ราทรอล และเรสเวอร์ราทรอล มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ร้อยละ 50 เท่ากับ 6.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (26.8 ไมโครโมลาร์) และ 11.6 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร (50.7 ไมโครโมลาร์) ตามลำดับ ซึ่งเทียบเท่ากับโคจิก (IC50 = 33.3 ไมโครโมลาร์) แต่แรงกว่าสารสกัดหม่อน สูตรตำรับโลชั่นที่ดีที่สุดคือรูปแบบไมโครอิมัลชัน สารสกัดหม่อนสามารถผสมในตำรับไมโครอิมัลชันซึ่งประกอบด้วย เล็กซอล จีที 865 / ของผสมทวีน 80 และ สแปน 80 / น้ำ ได้ร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก และเมื่อนำไปทดสอบความคงตัวโดยภาวะเร่งตำรับยังคงมีความคงตัวดี ไม่แยกชั้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าตำรับที่พัฒนาได้นี้มีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นตำรับทางการค้าต่อไป
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาสูตรตำรับโลชั่นสูตรกลางวันที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวหน้าขาว โดยใช้สารสกัดจาก สมุนไพรหม่อน
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2551
กรมหม่อนไหม
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากสมุนไพรไทยบางชนิดในการกำจัดหอยเชอร์รี่ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล- โครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารจากสมุนไพร (metabolites) ที่ตรวจพบในเลือดของอาสาสมัครสุขภาพดีหลังกินยาจากสมุนไพรอายุรเวทศิริราชตำรับห้าราก (AVS022) กับลักษณะการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดเป็นรายบุคคล: โครงการ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การระบุเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับกลไกการตอบสนองต่อความเค็มของหม่อน ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบเอทานอลจากหม่อน (Morus alba Linn.) และกาวไหม (Bombyx mori.)เพื่อการตั้งสูตรตำรับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวขาว การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้าจากสารสกัดผลหม่อน การพัฒนาตำรับยาเม็ดสมุนไพรหม่อน การพัฒนาสารสกัดสมุนไพรที่มีศักยภาพต้านไวรัสและแบคทีเรียก่อโรคในสุกร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพรไทย ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก