สืบค้นงานวิจัย
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ให้มียีนทนทานน้ำท่วมขังโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
วราพงษ์ ชมาฤกษ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ให้มียีนทนทานน้ำท่วมขังโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
ชื่อเรื่อง (EN): Improvement of a rice cultivar RD6 for submergence tolerance using marker-assisted selection
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วราพงษ์ ชมาฤกษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Varapong Chamarerk
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ในยุคแรกของการปรับปรุงพันธุ์พืช นักวิจัยพยายามคัดเลือกให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ โดยอาศัย การสังเกตและคัดเลือกจากแปลงโดยตรง แต่ความท้าทายสำหรับงานปรับปรุงพันธุ์พืชในปัจจุบันก็คือการบูรณาการระหว่างวิทยาการใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ กับกระบวนการปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐานดั้งเดิม (conventional breeding) โดยอาศัยโมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือกเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการปรับปรุงพันธุ์ ข้อดีของการใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ก็ คือ สามารถคัดเลือกประชากรรุ่นลูกให้มีสัดส่วนพันธุกรรมที่เหมือนต้นแม่ (recurrent genome recovery) ได้รวดเร็วกว่าและมีประสิทธิภาพกว่าการคัดเลือกแบบมาตรฐานดั้งเดิม นอกจากนี้การ ใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือกยังเป็นประโยชน์อย่างมากในกรณีการคัดเลือกเพื่อให้ได้ ลักษณะที่ต้องการแต่ทำได้ยากในแปลงทดลอง ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ให้ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลันโดยการถ่ายทอดชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่มียีนทนน้ำท่วม sub1 จาก พันธุ์พ่อ (donor parent) คือ สายพันธุ์ KD571-77 ไปสู่พันธุ์แม่ คือ กข6 ด้วยวิธีการผสมกลับ (backcross breeding) และใช้โมเลกุลเครื่องหมายชนิด SSRs ตรงตำแหน่ง RB0873, RM219 และ RM285 ซึ่งอยู่บนโครโมโซม 9 ของข้าวเป็นตัวช่วยในการคัดเลือก ผลการทดลองพบว่า โมเลกุล เครื่องหมายทั้งสามตำแหน่ง สามารถใช้คัดเลือกประชากรผสมกลับครั้งที่ 1 ชั่วที่ 1 (BC1F1) ที่มียีน sub1 อยู่ได้จำนวน 16 ต้น จากประชากรทั้งหมด 53 ต้น คิดเป็นร้อยละ 30 และเมื่อใช้โมเลกุล เครื่องหมาย PB7F และ PB8R ตรวจสอบหาต้นข้าวที่มียีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง Xa21 พบว่ามี ต้นข้าว 3 ต้นที่มียีนนี้อยู่ด้วย สำหรับประชากรผสมกลับครั้งที่ 2 ชั่วที่ 1 (BC2F1) พบว่าจาก จำนวนที่ปลูกคัดเลือก 50 ต้นมีต้นข้าว 26 ต้นที่มียีนทนทานน้ำท่วม sub1 อยู่ ปัจจุบันประชากร ผสมกลับครั้งที่ 3 ชั่วที่ 1 (BC3F1) ถูกปล่อยให้ผสมตัวเองเพื่อให้ได้ประชากรผสมกลับครั้งที่ 3 ชั่วที่ 2 (BC3F2) ต้นที่ถูกคัดเลือกไว้จะถูกนำไปผสมกลับกับ กข6 จนได้สายพันธุ์ near-isogenic lines (NILs) ที่มีลักษณะเหมือนกับพันธุ์ กข6 แต่มีความทนทานน้ำท่วมฉับพลัน เพื่อนำไปทดสอบใน แปลงและแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมใช้ปลูกในที่สุด
บทคัดย่อ (EN): Breeders in early stage of plant improvement tried to select traits of interest by observation and direct selection from phenotypic performance of individuals in the field. However, the challenge for current plant breeding is an integration of modern technology, such as biotechnology with a conventional method. One example is the utilization of molecular markers in order to improve selection efficiency. The advantage of marker-assisted selection (MAS) is that breeders can select for progenies which a recurrent genome recovery can be obtained faster and more effective than a conventional method. Further more, marker-assisted selection technique is very useful for selecting traits that are difficult and time consuming to select under field conditions. The objective of this study is to improve the ability to tolerate submergence in a rice cultivar RD6 by introgressing the sub1 gene from the donor KD571-77 through a backcross breeding method. Three flanking SSR markers for the sub1 gene on chromosome 9 were used. These markers included RB0873, RM219 and RM285. The results showed that in the BC1F1 and BC2F1 generations, 16 and 26 plants were identified carrying the sub1 gene, respectively. Currently, the BC3F1 generation was allowed to self- fertilize to produce a BC3F2 generation. This population will be grown for selection of plants carrying a target gene in the next season. The near-isogenic lines obtained from this project will be evaluated for submergence tolerance and other agronomic characteristics, then released to farmers in the flood-prone areas in the Northeast.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155742
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 6 ill.
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ให้มียีนทนทานน้ำท่วมขังโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
กรมการข้าว
2550
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข 15 ขาวดอกมะลิ 105สังข์หยดพัทลุงให้ปลูกได้ทุกฤดูเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ให้ต้นเตี้ยโดยวิธีปรับปรุงพันธุ์แบบผสมกลับโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก การประเมินความทนทานต่อความแห้งแล้งของข้าวสายพันธุ์ที่มีการพัฒนาระบบราก โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย การปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข6 ให้ทนทานดินเค็มโดยวิธีผสมกลับและใช้ เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การประยุกต์ใช้โมเลกุลเครื่องหมายสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืช

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก