สืบค้นงานวิจัย
พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พิศมัย มูลศรี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิศมัย มูลศรี
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมบางประการ พฤติกรรมการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก และ ปัญหา ข้อเสนอแนะในการใช้สารเคมีของเกษตรกร ผู้ปลูกผักเพื่อการค้าในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน225 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกผักเฉลี่ย 21.64 ปี ประสบการณ์ในการใช้สารเคมีเฉลี่ย 21.10 ปี การใช้สารเคมีเฉลี่ย 4 ครั้ง/เดือน สารเคมีที่ใช้เป็นประจำจากมากไปหาน้อยได้แก่ แรมเพท นูเธน นางาม เมทาร์วิน อบาร์แม็คติน โฟลิดอล แอนทาโคน แจ๊กเก็ต การแก้ปัญหาการดื้อยาส่วนมากเพิ่มความเข้มข้นของสารเคมี การได้รับข้อมูลข่าวสารการใช้สารเคมีส่วนมากได้รับคำแนะนำของร้านค้าสารเคมี อาการแพ้สารเคมีสมาชิกในครอบครัวร้อยละ 63.56 เกษตรกรเคยผ่านการตรวจเลือด และ พบสารเคมีในเลือดร้อยละ 46.26 พฤติกรรมก่อนการฉีดพ่นมีการปฏิบัติประจำ (1) สำรวจความเสียหายของพืชผักเมื่อถึงระดับที่ทำให้เกิดความเสียหายก่อนตัดสินใจ (2)ไม่ใช้สารเคมีที่เสื่อมคุณภาพ (3) ตรวจสภาพอุปกรณ์การฉีดพ่น (4) อ่านฉลากข้างขวดทุกครั้ง (5)ใช้ไม้หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสมในการคนสารเคมี (6) ผสมสารเคมีมากกว่า 1 ชนิด (7) สวมถุงมือทุกครั้ง(8)ใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉพาะเจาะจง พฤติกรรมขณะฉีดพ่นปฏิบัติประจำ (1) ใช้อุปกรณ์ปิดปากปิดจมูก (2)สวมเสื้อแขนยาวกางเกงขายาว (3) สวมหมวกหรือใช้ผ้าพันศีรษะ (4) สวมรองเท้ามิดชิด (5) อยู่เหนือลมขณะฉีดพ่น (6) ไม่ฉีดพ่นขณะมีลมแรง (7)ไม่ฉีดพ่นสารเคมีในเวลากลางวันแดดร้อนจัด (8)ขณะฉีดพ่นสารเคมีให้เด็กและสัตว์เลี้ยงออกนอกบริเวณ (9)ไม่รับประทานอาหาร ขณะฉีดพ่นสารเคมี (10) หยุดการฉีดพ่นสารเคมีทันทีที่เมื่อปรากฏอาการแพ้ (11)ฉีดพ่นสารเคมีให้หมดในคราวเดียวกัน (12) สวมถุงมือ (13) หากอุปกรณ์อุดตันไม่ใช้ปากเป่าหรือดูดหัวฉีดพฤติกรรมหลังฉีดพ่นปฏิบัติประจำ(1) ออกนอกบริเวณนั้นทันทีที่ฉีดพ่น(2) บอกให้บุคคลใกล้ชิดทราบว่าได้ฉีดพ่นสารเคมี (3)ไม่เทสารเคมีที่เหลือลงแหล่งน้ำธรรมชาติ (4)ไม่ล้างอุปกรณ์ในแหล่งน้ำ (5) เปลี่ยนชุด อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย(6) ทำการแยกซักเสื้อผ้าที่ใช้ในการฉีดพ่นสารเคมีฯออกจากผ้าชนิดอื่น(7) ไม่ทิ้งภาชนะบรรจุไว้ในแปลง (8) แยกเก็บภาชนะบรรจุสารเคมีออกจากวัสดุอื่นๆ(9)เก็บภาชนะที่บรรจุให้ไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง(10)ไม่นำภาชนะที่บรรจุสารเคมีมาใช้อีก(11) ทำความสะอาดหลังการใช้งาน (12)ทำลายภาชนะโดยการฝัง ปัญหาของเกษตรกร (1) แมลงดื้อยาต้องเปลี่ยนสารเคมีบ่อย(2) สารเคมีมีราคาแพง (3) ร่างกายอ่อนเพลีย(4) มีแมลงศัตรูระบาดมาก(5) สารเคมีด้อยคุณภาพ (6) สารเคมีชะล้างลงบ่อปลาข้อเสนอแนะ(1)จัดฝึกอบรมให้ความรู้ และสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก(2)ควรมีการติดตามควบคุมสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช จากผู้ประกอบการค้า จนถึงตัวเกษตรกรผู้ปฏิบัติ(3)ควรมีการส่งเสริมการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกรผู้ปลูกผักในตำบลบึงเนียม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกร ตำบลสีมุม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาการใช้สารเคมีกับพืชผักของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักของเกษตรกร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี การใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในจังหวัดลำปาง การศึกษาพฤติกรรมการควบคุมวัชพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผักเป็นการค้า พฤติกรรมการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกผักตำบลบ้านฝาง ศึกษาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงของเกษตรกรที่ปลูกผักในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แรงจูงใจและผลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ บ้านสว่าง ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น การใช้สารเคมีของเกษตรกรผู้ปลูกผักอำเภอบ้านดุง : ศึกษาเฉพาะกรณีการปลูกผักของเกษตรกรบ้านโพธิ์ชัย ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุงจังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก