สืบค้นงานวิจัย
การประเมินคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
วารุณี พานิชผล - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การประเมินคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ชื่อเรื่อง (EN): Nutritive Value Evaluation of Ruminant Feedstuff.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วารุณี พานิชผล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ชุดโครงการย่อย คือ ชุดโครงการย่อยที่ 1 การจัดทำและปรับปรุงฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการการรวบรวมและจัดทำข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ ดำเนินการในพืชอาหารสัตว์และพืชพื้นเมืองที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น รวบรวมผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้งจากงานวิจัย และการเก็บตัวอย่างหญ้าอาหารสัตว์ 17 ชนิด ถั่วอาหารสัตว์ 9 ชนิด ที่อายุต่างๆกัน มาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารสัตว์ รวมทั้งสิ้น 2,057 ตัวอย่าง พบว่า ข้อมูลที่ได้มีความแปรปรวนน้อยมาก ค่าใกล้เคียงกับที่เคยมีรายงานไว้เดิม และโครงการการรวบรวมและจัดทำข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ข้อมูลที่รวบรวม วิเคราะห์ คัดกรองข้อมูล และเก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารข้นและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมาวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะอาหารสัตว์ รวมทั้งสิ้น 3,531 ตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปปรับปรุงข้อมูลคุณค่าทางโภชนะอาหารสัตว์เดิม ข้อมูลทั้งหมดนำมาจัดทำเป็นตารางคุณค่าทางอาหารสัตว์ ของพืชอาหารสัตว์ และของวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยแสดงค่าวิเคราะห์โดยประมาณ (proximate) ส่วนประกอบของผนังเซลล์ (detergent fiber) แร่ธาตุ และพลังงาน ส่วนชุดโครงการย่อยที่ 2 การสร้างสมการทำนายค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประกอบด้วย 3 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการ สร้างสมการทำนายค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ของหญ้า ถั่วแห้ง และวัตถุดิบอาหารข้น พบว่า ส่วนประกอบทางเคมีหลายค่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับค่า ME และ OMD เมื่อนำมาสร้างสมการถดถอยพหุเชิงเส้นตรง สามารถสร้างสมการทำนายค่า ME และ OMD ของหญ้าแห้ง ถั่วแห้ง วัตถุดิบอาหารข้น และวัตถุดิบจากพืช ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายสูงสุด (R2) ไม่น้อยกว่า 0.60 การทดสอบความแม่นยำของสมการโดยใช้กลุ่มตัวอย่างทดสอบ (validation group) พบว่า ค่า ME และ OMD ที่ได้จากวิธีการวัดแก็สกับที่ได้จากสมการทำนายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p >0.05)
บทคัดย่อ (EN): The study consisted of two research projects. The first project was preparing and improving database of nutritive value of ruminant feed ingredients, consisting of two sub-projects which were forage data collection project and animal feed data collection project. Forage data was collected from laboratories and research papers. 2,057 samples,17 types of forage grass and 9 types of forage legumes were collected and analyzed. The results showed no significant differences comparing to previous reports. For animal feed data collection, 3,531 samples were collected from concentrated feed ingredients and agricultural and industrial by-products. The data collected can be used to improve old nutritive value database and all data collected from both sub-project can be generated and monitored proximate analysis, detergent fiber, mineral and energy. The second project was consisted of three sub-projects which were building the formulas to predict metabolized energy (ME) and organic matter digestibility (OMD) of animal feed ingredients (grass hay, legumes hay and concentrates) by gas production technique. The result showed that there were many chemical components which showed linear relationship with ME and OMD and abled to develop multiple linear regression equations for ME and OMD prediction. The equations were tested with the validation samples, the results showed that there were no significant differences (p>0.05) between the values of ME and OMD obtained from the prediction equations and gas production technique.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
กรมปศุสัตว์
31 มีนาคม 2551
กรมปศุสัตว์
อาหารสัตว์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนไทย การประเมินคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์หมัก 6 ชนิด ตารางคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์ การใช้ซัลเฟอร์เพื่อลดปริมาณไซยาไนด์ในวัตถุดิบอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง การประเมินคุณค่าทางโภชนะและการใช้ประโยชน์ข้าวโพดไร่สีม่วงวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดใหม่ในอาหารสัตว์ปีกและสุกร การประเมินคุณค่าทางโภชนะของหญ้าแพงโกล่าแห้ง การประเมินคุณค่าทางโภชนะของใบถั่วท่าพระสไตโลแห้ง คุณค่าทางโภชนะของถั่วฮามาต้า การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล คุณค่าทางโภชนะของหญ้ากินนีสีม่วง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก