สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไพลอย่างยั่งยืน
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไพลอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development of sustainable production Plai : Zingiber cassumunar Roxb
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการป้องกันกำจัดโรคหัวเน่าของไพลที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในสภาพแปลงปลูก ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomized complete block design (RCBD) 4 ซ้ำ มี 5 กรรมวิธี คือ 1. ผักชิงฉ่าย อัตรา 3.2 ตันต่อไร่ (24 กิโลกรัมต่อแปลงย่อย) ไถกลบก่อนปลูก 2 สัปดาห์ 2.ผักคราดหัวแหวน อัตรา 30 กิโลกรัมต่อแปลงย่อย ไถกลบก่อนปลูก 2 สัปดาห์ 3.น้ำหมักชีวภาพ (สูตรกุ้ง หอย) อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นประจำทุกเดือน 4.ไคโตซาน 1% อัตรา 60 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นประจำทุกเดือน 5.ไม่ใส่กรรมวิธี พบว่า กรรมวิธีใช้สารชีวภาพอัตรา 60 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุกๆ เดือน มีการเกิดโรคน้อยและให้ผลผลิตสูงสุด ไพลมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคหัวเน่า คือ 6.25 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตไพล 1,553 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี การศึกษาผลผลิตของไพลที่ได้จากหัวพันธุ์รุ่น G1 และ G2 เปรียบเทียบกับหัวพันธุ์ที่ได้จากแปลงปกติ ไพล (Phlai : Zingiber cassumnar) มี 8 กรรมวิธี ได้แก่ 1.ปลูกด้วยต้นไพลรุ่น G0 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 2 ปี 2.ปลูกด้วยหัวพันธุ์ไพลรุ่น G0 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 2 ปี 3.ปลูกด้วยหัวพันธุ์ไพลรุ่น G1 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 2 ปี 4.ปลูกด้วยต้นไพลรุ่น G0 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 1 ปี 5.ปลูกด้วยต้นไพลรุ่น G0 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 1 ปี 6.ปลูกด้วยหัวพันธุ์ไพลจากแปลงและเก็บเกี่ยวที่อายุ 1 ปี 7.ปลูกด้วยหัวพันธุ์ไพลจากแปลงและเก็บเกี่ยวที่อายุ 2 ปี (กรรมวิธีเกษตรกร) และ 8.ปลูกด้วยหัวไพลรุ่น G1 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 1 ปี ทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ พบว่า ชนิดของต้นไพลและหัวพันธุ์ไพลที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีผลต่อขนาดต้น และผลผลิตไพลเมื่อปลูกในสภาพแปลง การปลูกด้วยหัวไพลรุ่น G1 และเก็บเกี่ยวที่อายุ 2 ปี มีขนาดหัวไพลเฉลี่ยใหญ่ที่สุด (910 กรัม) มากกว่าการปลูกด้วยหัวพันธุ์ในแปลงเก็บเกี่ยวที่อายุ 2 ปี (control) (322.0 กรัม) หรือมากกว่าถึงร้อยละ 35.4 แต่ ต้นไพลรุ่น G0 และหัวไพลรุ่น G0 มีผลผลิตต่ำมาก (20-30 กรัม และ 3- 7 กรัม ตามลำดับ) การคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของไพลเก็บตัวอย่างดิน ปุ๋ยคอก และรากพืช เพื่อหาเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จากแหล่งปลูก จ. เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และพะเยา สามารถแยกเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ได้ 323 ไอโซเลท จำแนกได้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus จำนวน 182 ไอโซเลท นำไปทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Ralstonia solanacearum (RS) สาเหตุโรคเหี่ยวของไพลในห้องปฏิบัติการ โดยวิธี Paper disc diffusion method พบเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์จำนวน 3 ไอโซเลท สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ RS คือ CMS 1-2, LPS 3-2 และ LPR 1-5 ทดสอบความสามารถในการควบคุมโรคในเรือนทดลอง ปรากฏว่าการใช้แบคทีเรียบาซิลลัส สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวของไพลได้เกือบทุกกรรมวิธี ยกเว้น ไอโซเลท CMS 1-2 และไอโซเลท LPS 3-2 + LPR 1-5 ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีควบคุม(+เชื้อโรคเหี่ยว) โดยแบคทีเรีย Bacillus ไอโซเลทดินรากยาสูบ # 4 สามารถควบคุมโรคได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ ไอโซเลท CMS 1-2 + LPS 3-2 ส่วนการทดสอบความสามารถควบคุมโรคในแปลงทดลองหลังจากปลูกไพลนาน 5 เดือนพบว่า เชื้อแบคทีเรีย Bacillus ทุกกรรมวิธีไม่สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวของไพลได้ พบไพลในแปลงทดลองเกิดโรคเหี่ยวตายทุกกรรมวิธี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรคเหี่ยว การศึกษาการควบคุมโรคเหี่ยวของไพลที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum โดยผสมผสานวิธีการเขตกรรมร่วมกับใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์บาซิลลัส ดำเนินการในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 เขตกรรม, กรรมวิธีที่ 2 เขตกรรม+บาซิลลัส LPR 1-5, กรรมวิธีที่ 3 เขตกรรม+บาซิลลัส CMS 1-2 + LPS 3-2, กรรมวิธีที่ 4 เขตกรรม+บาซิลลัสดินรากยาสูบ #4 และกรรมวิธีที่ 5 ไม่มีการเขตกรรมและไม่ใช้บาซิลลัส (control) ประเมินผลการควบคุมโรคเหี่ยวแต่ละกรรมวิธี โดยตรวจนับจำนวนต้นเป็นโรค และคำนวณหาเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค พบว่ากรรมวิธีที่ 4 ให้ผลในการควบคุมโรคได้ดีกว่ากรรมวิธีอื่น ซึ่งพบโรคเฉลี่ยต่ำที่สุดเพียง 22.5 และ 13.5% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292804
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไพลอย่างยั่งยืน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การวิจัยการผลิต ไพลแบบบูรณาการ โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยศึกษาการผลิตไพลที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิจัยวิธีการเขตกรรมเพื่อพัฒนาผลผลิตและคุณภาพของไพล โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกลอย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก