สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัย การเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน
ศิรากานต์ ขยันการ, วีระ วรปิติรังสี, นันทินี ศรีจุมปา, สุธามาศ ณ น่าน, ไว อินต๊ะแก้ว - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัย การเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Cultivation ofPotential Species of Mushrooms for commercial Purposes inUp North Region
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: เห็ดตับเต่าวิธีการเพาะเอ็ตโตไมคอร์ไรซา
บทคัดย่อ: -โครงการ การเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 3 การทดลอง คือ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า การศึกษาผลผลิตเห็ดต่งฝนที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ และการศึกษาผลผลิตเห็ดถั่วฝรั่งที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างปี 2558-2560 ประกอบด้วยสองการทดลองย่อยคือ การผลิตเห็ดตับเต่าในแปลงโสนและการผลิตเห็ดตับเต่าในแปลงส้มโอ ทดลองปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าให้กับต้นโสนอายุ 3 เดือน และสุ่มเก็บตัวอย่างรากโสนเพื่อตรวจสอบการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อเห็ดตับเต่ากับรากโสนโดยวิธีการ clearing และ staining พบว่ามีเส้นใยเชื้อราที่อยู่กับรากโสนแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเชื้อเห็ดตับเต่า โดยพบเส้นใยที่อยู่ร่วมกับรากโสนทั้งจากแปลงที่มีการใส่เชื้อเห็ดตับเต่าและแปลงที่ไม่ได้ใส่เชื้อเห็ด แต่ไม่พบการเกิดดอกเห็ดตับเต่าในแปลงโสนตลอดระยะเวลา 3 ปีของการทดลอง ในขณะเดียวกันทำการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าให้กับต้นส้มโอโดยทดลองในแปลงส้มโออินทรีย์ กรรมวิธีคือจำนวนครั้งของการปลูกเชื้อเห็ด 1-3 ครั้ง เปรียบเทียบกับการไม่ปลูกเชื้อเห็ด จากการสุ่มเก็บตัวอย่างรากของส้มโอจากแปลงทดลองมาตรวจสอบการเข้าอยู่ร่วมกันระหว่างเชื้อเห็ดกับรากส้มโอโดยวิธีการ clearing และ staining พบว่ามีเส้นใยเชื้อราที่อยู่กับรากส้มโอแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเชื้อเห็ดตับเต่า โดยพบเชื้อรากับรากส้มโอทั้งจากแปลงที่ใส่และไม่ใส่เชื้อเห็ดตับเต่า แต่ไม่พบดอกเห็ดตับเต่าในแปลงทดลองตลอดระยะเวลา 3 ปีของการทดลอง การศึกษาผลผลิตเห็ดต่งฝนที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2559 ในสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ฟาร์มของเกษตรกรผู้ร่วมงานทดลองในจังหวัดแพร่และจังหวัดเชียงใหม่ อัตราการเจริญของเส้นใยเห็ดต่งฝนของ จ.เชียงใหม่ ในทุกฤดูกาลใกล้เคียงกัน (0.33-0.43 ซม./วัน) ซึ่งต่างจาก จ.แพร่ ที่อัตราการเจริญของเส้นใยในฤดูฝน (0.64 ซม./วัน) จะเร็วกว่าในฤดูร้อน และฤดูหนาว (0.32 ซม./ก้อน) การให้ผลผลิตเห็ดต่งฝน ใน จ.เชียงใหม่ ช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2558 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 143 กรัม/วัสดุเพาะ 1 กก. ในขณะที่ผลผลิตของ จ.แพร่ ในช่วงกรกฎาคม-ตุลาคม 2558 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 142 กรัม/วัสดุเพาะ 1 กก. ผู้ผลิตยังต้องมีการพัฒนาเทคนิคและทักษะในการผลิตเห็ดต่งฝนเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การศึกษาผลผลิตเห็ดถั่วฝรั่งที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ เพื่อศึกษาถึงวิธีการเพาะ ผลผลิต และความเป็นไปได้ในการเพาะเชิงพาณิชย์ ดำเนินการในปี 2558-2559 จากผลการเพาะทดสอบผลผลิตเห็ดถั่วฝรั่งทั้งสองปี พบว่าการเพาะเห็ดถั่วฝรั่งควรเพาะในช่วงฤดูหนาว (เดือน ตุลาคม -มกราคม) เพราะเป็นช่วงที่สภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 – 26 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด พบว่าเส้นใยเห็ดเจริญได้เฉลี่ย 1.1 เซนติเมตรต่อวัน เส้นใยเดินเต็มก้อนใช้เวลา 30-35 วัน หลังจากเพาะเปิดดอก ประมาณ 15 วัน เห็ดเริ่มออกดอก สามารถเก็บผลผลิตได้ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กรัมต่อตะกร้า (0.13 ตารางเมตร) สำหรับการเพาะในฤดูร้อนและฤดูฝน ไม่สามารถเพาะได้เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เพราะเห็ดถั่วฝรั่งจะสร้างตุ่มดอกและสามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ได้ อุณหภูมิควรต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า สำหรับการประเมินความเป็นไปได้ในการเพาะเห็ดถั่วฝรั่งเชิงพาณิชย์ในสภาพโรงเรือนปกติ พบว่า สภาพอากาศ วัสดุเพาะ และวิธีการเปิดดอก เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเพาะ ทั้งเห็ดต่งฝนและเห็ดถั่วฝรั่งเป็นเห็ดใหม่ สำหรับภาคเหนือตอนบน ที่ควรได้รับการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักมากขึ้นเพื่อให้เกิดการยอมรับให้เป็นเห็ดเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): -Cultivation of potential species of mushrooms for commercial purposes in up North region project comprised of 3 experiments which were cultivation development of Phaeogyroporus protentosus (Berk. et Broome) Mc Nabb, studies on yield of Lentinus giganteus and Coprinus comatus growing on farms in Phrae and Chiangmai. Cultivation development of Phaeogyroporus protentosus was studied at Chiangrai Horticulture Research Center during 2015 - 2017. There were 2 sub-projects in this study; one was studied in sesbania and another one was done in organic pomelo orchard. The culture of P. protentosus was isolated using potato dextrose age (PDA) and multiplied on sterised sorghum seeds. The inoculum was inoculated to the roots of 3-month-old of sesbania. Roots of sesbania was sampled to examine root colonization of P. protentosus. There were mycelia of fungus attached to sesbania roots but they could not be confirmed as P. protentosus’s mycelia. No fruit bodies of P. protentosus were found in the experiment field in 3 years. At the same time, roots of pomelo were inoculated with mycelial inoculum on sorghum seeds. The treatments were number of inoculate time, 1-3 times, compared with uninoculate. Roots of pomelo from each treatment were sampled to examine root colonization of P. protentosus by clearing and staining techniques. The results were the same as sesbania that even mycelia of fungus were found attached to pomelo roots but they could not be proved that they were P. protentosus’s mycelia. No fruit bodies of P. protentosus presented in 3 years of the experiment. The study on yield of Lentinus giganteus growing on farms were tested in Chiangmai and Phrae provinces during 2014 - 2016. The experiments were taken at Office of Agricultural Research and Development Region 1 and Phrae Agricultural Research and Development Center and also at mushroom farms in Chiangmai and Phrae. Mycelial growth rate of L. giganteus growing in Chiangmai almost the same in every season (0.33-0.43 cm./day) which was different compared to Phrae. In Phrae, mycelia grew faster in rainy season (0.64 cm./day) than in summer and winter (0.32 cm./day). In Chiangmai, the highest yield (143gram/1 Kg. substrate) was obtained from the crop growing during August to December of 2015 while the highest yield of Phrae was 142 gram/1 Kg. substrate which yielded during July to October 2015. The farmers need to practice more skills to cultivate L. giganteus to get better yield. The yield of Coprinus comatus growing on farms were studied in Chiangmai and Phrae provinces during 2014 – 2016. The study aimed to study on growing techniques, yield and the possibility to grow for commercial purpose. From 2 years experiments, C. comatus can be able to grow well during winter time (October – January). The suitable temperature for mycelial growth was 25-26 oC. The average of mycelial growth rate was 1.1 cm./day which took 30-35 days to grow full over the substrate. The fruit bodies produced 15 days after casing. Yield was 300 gram/basket (0.13 m2). It is impossible to grow C. comatus in summer and rainy season because it’s too hot. Fruit body of this mushroom can only produce at around 20oC or under. Therefore, to grow C. comatus for commercial purpose in open house can only be done during winter. Many factors such as temperature, substrates and caring during fruiting affect the yield. Both L. giganteus and C. comatus are not familiar to the people in the up north. They need to be publicized in order to be recognised as new species of mushrooms for commercial production.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัย การเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดบดเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง การใช้สื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน คุณค่าเชิงสุขภาพของเห็ดกินได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการวิจัยการเพิ่มศักยภาพการผลิตห้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การถ่ายทอเทคโนโลยีฐานเรียนรู้การเกษตร เรื่อง "การผลิตกุ้งก้ามกรามเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในภาคเหนือตอนบน" การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวบาร์เลย์โดยการทดสอบเสถียรภาพภายใต้สภาพแวดล้อมภาคเหนือตอนบน การวิเคราะห์ระบบตลาดและการจัดตั้งเครือข่ายการตลาดของเกษตรกรรายย่อยปลูกยางพาราในภาคเหนือตอนบน ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเห็ดสกุล Russula ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวญี่ปุ่นของเกษตรกรในภาคเหนือตอนบน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก