สืบค้นงานวิจัย
การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม
สมปอง สรวมศิริ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม
ชื่อเรื่อง (EN): The Use of Acacia (Acacia mangium) as Protein Source in Dairy Ration
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมปอง สรวมศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sompong Sruamsiri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม ใช้โคทดลองเป็นโคนมพันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์ที่ตั้งท้องประมาณ 7 เดือน จำนวน 16 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มทดลองตามแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design) โคทดลองได้รับอาหารหยาบอย่างเต็มที่ส่วนอาหารข้นมี 4 ชนิดคือ อาหารข้นที่มีกากถั่วเหลือง 8% อาหารข้นที่มีใบกระถินป่น 12.5% และอาหารข้นที่มีใบกระถินเทพาในระดับ 12.5% และ 25% จากการทดลองในระยะรีดนมเป็นเวลา 120 วัน หลังคลอดพบว่า ปริมาณการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งต่อตัวต่อวันของโคทดลองมีค่าลดลงเล็กน้อยเมื่อได้รับอาหารข้นที่มีใบกระถินป่น 12.5% และใบกระถินเทพาในระดับ 12.5% และ 25% แต่ค่าเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ปริมาณน้ำนม 4%FCM มีค่าต่ำลง แต่ต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตน้ำนม 1 กิโลกรัม และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารมีค่าสูงขึ้นเมื่อใช้ใบกระถินเทพาในสูตรอาหารข้น ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนม 4% FCM มีค่าเท่ากับ 7.82, 6.98, 6.64 และ 6.47 ก.ก./ตัว/วัน ค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตน้ำนม 1 กิโลกรัม มีค่าเป็น 5.26, 5.11, 5.20 และ 5.44 บาท และค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารมีค่าเป็น 1.72, 1.84, 1.91, และ 1.98 สำหรับกลุ่มทดลองตามลำดับ กลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารข้นที่มีใบกระถินเทพาในระดับ 12.5% ในสูตรอาหารมีค่าเฉลี่ยต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำนม 1 กก. ต่ำที่สุด และให้ผลตอบแทนต่อน้ำนม 1 กก. สูงที่สุด ผลตอบแทนค่าน้ำนมดิบหลังจากหักต้นทุนค่าอาหารในกลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารข้นที่มีกากถั่วเหลืองมีค่าสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยคุณภาพน้ำนมดิบไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P> 0.05)
บทคัดย่อ (EN): Sixteen Holstein - Friesien cows at 7th month pregnancy were divided into four groups according to Completely Randomized Design to study the use of legume leaves (Acacia mangium) as protein source in dairy ration. They were then fed with Ruzi grass or urea treated ricestraw (ad libitum) together with 4 different concentrates ; concentrate with 8% soybean meal (control), with 12.5% leucaena, with 12.5% and 25% Acacia mangium. Through out the 120 days of lactating period, a slightly decrease in dry matter feed intake (kg/h/d) was found by cows fed with concentrate contain 12.5% leucaena, 12.5% and 25% Acacia mangium respectively. Milk production 4% FCM decreased, according to concentrate feed from 7.82 to 6.97, 6.64 and 6.47 kg/h/d, respectively. Feed cost per I kg milk was 5.26 to 5.11, 5.20 and 5.44 Baht, whereas feed conversion ratio were slightly increased from 1.72 to 1.84, 1.91 and 1.98 respectively. Cow fed with concentrate plus leucaena had lowest feed cost per 1 kg milk and highest income per 1 kg milk. However total income after witbdraw of feed cost was the higest by cows fed with concentrate plus soybean meal. Raw milk quality was not significant difference among the treatments.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/issue/view/16922/3949
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ใบกระถินเทพาเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคนม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2544
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
บทบาทของการจับกันระหว่างโปรตีน Nck และ PDGFR ใน lens epithelial cell เพื่อใช้เป็นเป้าหมายของยาในการป้องกันการเกิดภาวะ posterior capsular พันธุกรรมกับอาหารโคนม การใช้รากข้าวม้อลท์เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสุกร การใช้ประโยชน์จากใบถั่วมะแฮะเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ II.ผลของการตัดที่อายุต่าง ๆ ต่อปริมาณผลผลิตในปีที่ 2 และการใช้ใบในอาหารลูกโค ระดับโปรตีนและพลังงานในอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและองค์ประกอบทางเคมีของปลาสวายโมง พัฒนาการวิเคราะห์โปรตีนในอาหาร ผลการใช้ใบยอผงเป็นสารเสริมในอาหารต่อปริมาณการกินได้ และผลผลิตน้ำนมในโคนม การใช้เปลือกเมล็ดถั่วเหลืองระดับสูงในสูตรอาหารโคนม ผลของระดับโปรตีนและพลังงานที่กินได้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในโคนมที่ได้รับต้นอ้อยตากแห้งเป็นอาหารหยาบหลัก การใช้แป้งถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารแทนนมเลี้ยงลูกโค

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก