สืบค้นงานวิจัย
อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลิงทะเลวัยอ่อน (Holothuria sp.) ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนต่างชนิดกัน
วลีรัตน์ มูสิกะสังข์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลิงทะเลวัยอ่อน (Holothuria sp.) ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนต่างชนิดกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Growth and survival rate of Sea Cucumber larvae (Holothuria sp.) with various phytoplankton
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วลีรัตน์ มูสิกะสังข์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ลิงทะเล (sea cucumber) เป็นสัตว์ไม่ มี กระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัม (phylum) Echinodermata ชั้น (class) Holothuroidea ปลิงทะเล มีรูปร่างกลมยาวคล้ายไส้กรอก หรือแตงกวา จากการศึกษาข้อมูลพบว่าในเมืองไทยมีปลิงทะเลอยู่ 76 ชนิด และที่นิยมนำมารับประทานมีอยู่ 2 สกุล 6 ชนิดด้วยกัน คือHolothuria scabra, H. argus, H. marmorata, H. atra, H. spinifera และ Stichopus variegatus โดยถิ่นที่อยู่นั้นพบได้ทั้งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน โดยอาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 24-28 องศาเซลเซียส และมีความเค็มในระดบั 27-35 ppt ซึ่งพวกมันจะฝังตัว ขุดรูอยู่ในโคลน ทราย หรืออาศัย อยู่ตามกอสาหร่ายทะเลปะการัง และตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลน หรือทรายล้วนๆ ปลิงทะเลนั้นมีบทบาทสำคัญ ยิ่งกับระบบนิเวศน์ (Chen, 1990) คือ เป็นตัว ย่อยสลายพวกสารอินทรีย์ในตะกอนดินและปลดปล่อยธาตุอาหารคืนสู่วงจรอาหารในธรรมชาติ ปลิงทะเลชนิด Holothuria scabra และ Holothuria atra เรียกกันทั่วไปว่า ปลิงขาวปลิงดำ เป็ นปลิงทะเลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากปลิงทะเลที่ตากแห้งแล้วนับเป็ นอาหารที่นิยมบริโภค โดยเฉพาะประเทศในมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ เช่น จีน ฟิ ลิปปิ นส์ และญี่ปุ่น ในบ้านเราชนิดที่นิยมนำมารับประทาน และมีขายตามท้องตลาดในสภาพปลิงทะเลตากแห้ง คือHolothuria scabra อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันปลิงทะเลในธรรมชาติมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งตกอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลิงทะเลจึงเป็ นสิ่งสำคัญอย่างเร่งด่วนเพื่อนำปลิงทะเลชนิดนี้กลับคืนสู่ทะเลไทย ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศการพัฒนาการของลูกปลิงทะเลจะเจริญเป็นตัว อ่อนระยะออลิคูลาเรีย (aulicularia) ขนาดประมาณ500 ไมครอน ในเวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง หลัง จากนั้นอีกประมาณ 20-25 วัน ตัว อ่อนของปลิงทะเลจะพัฒนาสู่ระยะโดลิโอลาเรีย (doliolaria) ที่มีขนาดประมาณ 500 ไมครอน และจากนั้นประมาณ 5-10 วัน ตัวอ่อนปลิงทะเลจะเปลี่ยนการดำ รงชีวิต (metamorphosis) จากระยะว่ายน้ำ เป็นลงเกาะพื้น เรียกว่าระยะเพนแทคทูล่า (pentactula) มีขนาดประมาณ 500-800 ไมครอน หลัง จากนั้น ตัว อ่อนจะพัฒนาสู่ระยะวัยรุ่น(juvenile) มีรูปร่างคล้ายตัว เต็มวัยภายใน 20-30 วนั Asha and Muthiah (2006) ได้รายงานว่าการเลี้ยงปลิงทะเลวัยอ่อนในเชิงปริมาณให้ประสบความสำเร็จได้ นั้นขึ้นกับความเหมาะสมของชนิดอาหารที่นำมาใช้ซึ่งไดมี้การทดลองเลี้ยงปลิงทะเลระยะวัยอ่อนด้วยแพลงก์ตอนหลายๆชนิดพบว่ามีการเจริญเติบโตได้ดี เช่น Jame et al. (1994) อ้า งตาม Asha and Muthiah (2006) ทดลองเลี้ยงปลิงทะเลระยะวัยอ่อนด้วยแพลงก์ตอนชนิดต่าง ๆ ในไฟลัม Chryophyceae และ Haptophyceae ส่วนการทดลองของ Ito and Kitamura (1997) อ้างตาม Asha and Muthiah (2006) ได้ทั้งทดลองเลี้ยงปลิงทะเลระยะวัยอ่อนพบว่าสามารถกินไดอะตอมพวกChaetoceros, Navicula, Amphora, Achnanthes, and Nitzschia เป็นอาหารได้ นอกจากนี้ Morgen (2001)และ Asha (2004) พบว่าการให้อาหารแพลงก์ตอนแก่ปลิงทะเลระยะวัยอ่อนควรให้ในปริมาณ 2x104 เซลล์แพลงก์ตอนต่อมิลลิลิตรน้ำ ทะเลต่อวัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลิงทะเลวัยอ่อน (Holothuria sp.) ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนต่างชนิดกัน
กรมประมง
31 มีนาคม 2554
กรมประมง
อิทธิพลของแสงและความเค็มต่ออัตราการเจริญเติบโตของปลิงทะเล (Holothuria sp.) ระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของกุ้งก้ามแดงวัยอ่อน ผลของอัตราการให้ปุ๋ยทางดินต่อการเจริญเติบโตของวานิลลา ผลของ Schizochytrium sp. ต่อการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของกุ้งก้ามกรามเพศผู้ ผลของวัสดุหลบซ่อนต่างชนิดต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอด ของลูกปลาบู่ทรายวัยรุ่น การเจริญเติบโตและการรอดตายของปลิงทะเล (Holothuria scabra Jaeger, 1833 และ H. leucospilota Brandt, 1835) ที่เลี้ยงในบ่อคอนกรีต ผลของสารสกัดหยาบจากข่าต่อการงอกและการเจริญเติบโต ของพืชปลูกและวัชพืชบางชนิด ผลของ Growth hormone analog ต่อการเจริญเติบโต และการเจริญพันธุ์ของปลาบึก น้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการตายของลูกไก่พื้นเมืองที่เกิดจากพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีภูมิคุ้มกันโรคนิวคาสเซิลสูงและต่ำ ชนิด ปริมาณ และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอนในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก