สืบค้นงานวิจัย
วิจัยและพัฒนารูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดเพื่อเป็นสินค้าท้องถิ่น จังหวัดลพบุรี
กรรณิการ์ อ่อนสำลี - มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
ชื่อเรื่อง: วิจัยและพัฒนารูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดเพื่อเป็นสินค้าท้องถิ่น จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Research and development from corn for Lop buri Local product
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: กรรณิการ์ อ่อนสำลี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดไร่ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดลพบุรีให้เป็นสินค้าท้องถิ่น จังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้แก่ผู้บริโภคและส่งเสริมให้เกษตรกรนำความรู้เกี่ยวกับแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดไร่ไปใช้ในการประกอบอาชีพสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป จากการสำรวจตลาดผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดที่มีวางจำหน่ายในจังหวัดลพบุรีแล้วนำมาสร้างแนวคิดและคัดเลือกผลิตภัณฑ์โดยวิธี Sequential screening และการอภิปรายกลุ่ม จะได้ผลิตภัณฑ์ที่นำไปศึกษาและพัฒนา จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำพริกนรกข้าวโพดไร่เสริมสมุนไพร ข้าวตังข้าวโพดไร่ และข้าวเกรียบข้าวโพดที่มีใยอาหารสูง จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดไร่ สูตรที่เหมาะสมน้ำพริกนรกข้าวโพดไร่เสริมสมุนไพร ประกอบด้วยปลาป่น ร้อยละ 30.0 ข้าวโพดไร่ ร้อยละ 25.5 พริกป่น ร้อยละ 5.5 กระเทียม ร้อยละ 13.0 มะขามเปียก ร้อยละ 4.8 เกลือป่น ร้อยละ 1.3 น้ำตาลปี๊บ ร้อยละ 2.3 น้ำตาลทราย ร้อยละ 2.3 ตะไคร้ ร้อยละ 10 และใบมะกรูด ร้อยละ 5.0 สูตรที่เหมาะสมของข้าวตังข้าวโพดไร่ ประกอบด้วยข้าวหอมมะลิ ร้อยละ 17.5 ข้าวโพดไร่ ร้อยละ 8.7 น้ำตาลทราย ร้อยละ 2.7 เกลือป่น ร้อยละ 1.3 และน้ำ ร้อยละ 69.8 และสูตรที่เหมาะสมของข้าวเกรียบข้าวโพดที่มีใยอาหารสูง ประกอบด้วยแป้งมันสำปะหลัง ร้อยละ 21.5 แป้งข้าวโพดไร่ ร้อยละ 15.0 น้ำ ร้อยละ 20.0 เมล็ดข้าวโพดไร่บดละเอียด ร้อยละ 29.2 กระเทียม ร้อยละ 3.0 น้ำตาลทราย ร้อยละ 4.5 เกลือป่น ร้อยละ 1.5 ผงฟู ร้อยละ 2.0 พริกไทย ร้อยละ 1.0 และอินนูลิน ร้อยละ 2.3 จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25-37?C) เป็นเวลา 35 วัน พบว่าน้ำพริกที่บรรจุกระปุกพลาสติก ข้าวตังที่บรรจุในถุงบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิด โพลีโพรพิลีนในสภาวะสุญญากาศ และข้าวเกรียบที่บรรจุในถุงพลาสติกแบบปิดสนิททั้ง 4 ด้านและมีแผ่นรองกันกระแทก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี และจุลินทรีย์ โดยที่ผู้บริโภคให้การยอมรับผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ประเภทในระดับความชอบปานกลาง (7.02-7.87 คะแนน)
บทคัดย่อ (EN): The development of products from field corn as processed food use Sequential screening method and focus group discussion as product selection method. The results was found that the optimization formula of field corn Nam Prik Narok with herbs consisted of dry ground-up fish 30.0%, field corn 25.5%, chilli powder 5.5%, garlic 13.0%, non-dried ripe tamarind 4.8%, salt 1.3%, sugar can 2.3%, sugar 2.3%, lemon grass 10.0% and kaffir lime leaf 5.0%. The optimization formula of field corn Kao Tang consisted of Hom Mali rice 17.5%, field corn 8.7%, sugar 2.7%, salt 1.3% and water 69.8%. And the optimization formula of high dietary fiber of corn crisp rice consisted of cassava flour 21.5%, field corn flour 15.0%, water 20.0% crashed field corn 29.2%, garlic 3.0%, sugar 4.5%, salt 1.5%, baking soda 2.0%, pepper 1.0% and inulin 2.3%. The study of products’ changing in various times by keeping in room temperature (25-37oC) for 35 days, found that Nam Prik contained in plastic bottle, Kao Tang packed in vacuum polypropylene and corn crisp rice packed in plastic seal with preventing dash were not significantly different (p<0.05) in physical, chemical and biological properties. And consumers’ acceptability of 3 products was moderately liked. (7.02-7.87 scores)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-01-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วิจัยและพัฒนารูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดเพื่อเป็นสินค้าท้องถิ่น จังหวัดลพบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
31 ธันวาคม 2552
ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ความต้องการรูปแบบในการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ผลของการไถพรวนระดับลึกร่วมกับหญ้าแฝกที่ปลูกข้าวโพดในกลุ่มชุดดินที่ 28 ในจังหวัดลพบุรี ศึกษาประสิทธิภาพของสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เพื่อผลิตปุ๋ยหมักต่อการปรับปรุงดินเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การศึกษาและทดสอบการจัดการดินที่เหมาะสมเพื่อปลูก ข้าวโพดแบบเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดลพบุรี ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาข้าวโพดฝักสด โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดหวาน ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก