สืบค้นงานวิจัย
ผลของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพการพัฒนาการปลาตะพัดวัยอ่อน
นพดล จินดาพันธ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ผลของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพการพัฒนาการปลาตะพัดวัยอ่อน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Temperature on Arowana (Scleropages formosus Muller and Schlegel, 1844) Larvae Development
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นพดล จินดาพันธ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ณรงค์ เลี่ยนยงค์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Arowana , Scleropages formosus ,temperature, development, nursing
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพการพัฒนาของลูกปลาวัยอ่อน โดยศึกษาพัฒนาการของลูกปลาตะพัดวัยอ่อน ตั้งแต่ระยะไข่ถึงระยะถุงไข่แดงถูกใช้หมดไปและได้ทดลองอนุบาลลูกปลาระยะลูกปลาวัยอ่อน (Larval phase) โดยเปรียบเทียบควบคุมอุณหภูมิน้ําที่ 30, 27 องศาเซลเซียส และไม่ควบคุมอุณหภูมิ (อุณหภูมิห้อง) พบว่าตัวอ่อนปลาตะพัดได้พัฒนาอยู่ในไข่จนถึงวันที่ 3 ลูกปลาเริ่มแตกออกจากเปลือกไข่ หลังจากนั้นได้พัฒนาจนถุงไข่แดงถูกใช้หมดไป และลูกปลาเปลี่ยนรูปร่างไปถึงระยะ ลูกปลาขนาดเล็ก (Juvenile phase) ส่วนการทดลองอนุบาล ลูกปลาเริ่มทดลองมีความยาวเฉลี่ย 12.69±0.10,12.66±0.04 และ 12.69±0.04 มิลลิเมตร ตามลําดับ ถุงไข่แดงมีขนาดเฉลี่ย 14.68±0.16, 14.85±0.18 และ 14.77±0.06 มิลลิเมตร ตามลําดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ลูกปลามีความยาวเฉลี่ย 69.52 ±1.24,64.82±9.92 และ 62.88±3.24 มิลลิเมตร ตามลําดับ ระยะเวลาที่ถุงไข่แดงถูกใช้หมดไปเป็นเวลา 49, 52 และ 54 วัน ตามลําดับ และมีอัตรารอดตายเฉลี่ย 66.70±15.00, 50.00±10.00 และ 40.00±27.00 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ ซึ่งทั้งความยาวเฉลี่ยระยะเวลาถุงไข่แดงยุบ และอัตรารอดตาย มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสําคัญ (p<0.05) ต้นทุนและผลตอบแทนของการอนุบาลลูกปลาตะพัดวัยอ่อนในตู้กระจกนั้น พบว่าชุดการทดลองที่มีการควบคุมอุณหภูมิน้ํามีต้นทุนต่อตัวถูกกว่า เพราะมีลูกปลาเหลือรอดมากกว่า โดยการทดลองที่ควบคุมอุณหภูมิน้ํา 30 องศาเซลเซียส 27 องศาเซลเซียส และไม่ควบคุมอุณหภูมิน้ํา มีต้นทุนต่อตัว 1,050.78 1,478.78 และ 1,873.00 บาท ตามลําดับ ซึ่งชุดการทดลองที่ควบคุมอุณหภูมิน้ํา 30 องศาเซลเซียส มีกําไรสุทธิ 1,044.56 บาท ส่วนชุดการทดลองที่ควบคุมอุณหภูมิน้ํา 27 องศาเซลเซียส และชุดการทดลองที่ไม่ควบคุมอุณหภูมิน้ํา ขาดทุน 1,393.67 และ 2,548.00 บาท ตามลําดับ เมื่อพิจารณาผลการเจริญเติบโตระยะเวลาถุงไข่แดงยุบ อัตรารอดตายและผลตอบแทนการลงทุนสรุปได้ว่าการอนุบาลลูกปลาตะพัดวัยอ่อนในตู้กระจกควรควบคุมอุณหภูมิน้ําที่ 30 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสมที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://mta-sts.mail.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=189
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอุณหภูมิต่อประสิทธิภาพการพัฒนาการปลาตะพัดวัยอ่อน
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
พัฒนาการของลูกปลาหมอบัตเตอร์วัยอ่อน ผลของการอนุบาลลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อนด้วยโคพีพอดต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย ของลูกกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) คัพภะและพัฒนาการของลูกปลาตะพาก พัฒนาการและการจำแนกชนิดของลูกปลาวัยอ่อนในวงศ์ปลาช่อน การพัฒนาประสิทธิภาพเตาเผาถ่านกัมมันต์ จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การศึกษาพัฒนาการของคัพภะและของกุ้งการ์ตูนวัยอ่อน (Hymenocera picta) ความหนาแน่นที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาชะโอนวัยอ่อน สิ่งปกคลุมภายนอกและระบบโครงร่างของปลาตะพัด ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาตะพัดด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด เพื่อทดแทนอาหารมีชีวิต พัฒนาการและการจำแนกสกุลของลูกปลาวัยอ่อนในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก