สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณไม้น้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย
อรุณี รอดลอย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณไม้น้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Species and Distribution of Aquatic Plants on The Upper Part of Northeast Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณี รอดลอย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัจจุบันได้มีการนำพรรณไม้น้ำของไทยหลากหลายชนิดมาประดับตู้ปลา (Aquarium plants) หรือนำมาประดับสวนน้ำและปลูกในกระถางเพื่อเป็นไม้ประดับตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งพรรณม้น้ำบางชนิดขยายพันธุ์ได้ง่ายและมีปริมาณมากในธรรมชาติบางชนิดขยายพันธุ์ได้ยาก เจริญเติบโตช้า และมีปริมาณน้อยในธรรมชาติ เมื่อมีการเก็บรวบรวมพรรณม้น้ำเหล่านี้ในธรรมชาติอย่างต่อเนื่องเพื่อการค้า ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น พรรณไม้น้ำสกุล Cyptocoryne ซึ่งเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาประดับตู้ปลาและสามารถส่งออกขายต่างประเทศ แม้ว่าจะสามารถเพาะขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ แต่เนื่องจากมีการเจริญเติบโตช้าในแปลงที่ปลูกจึงยังมีการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการทำลายความหลากหลายทางธรรมชาติของพรรณไม้น้ำทางหนึ่ง นอกจากนี้จากความนิยมนำพรรณ์ไม้น้ำมาประดับตู้ปลาเพื่อความสวยงามดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้าพรรณ์ไม้น้ำจากต่างประเทศหลายชนิด เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์แล้วจำหน่ายในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศ เมื่อมีการเพาะเลี้ยงในปริมาณมากจึงมีส่วนหนึ่งที่แพร่พันธุ์ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติของไทย เช่น สาหร่ายคาบอมบ้า Cabomba caroliniana กระจับญี่ปุ่น Ludwigia sedioides เดนซ่า Egeria densa และ สาหร่ายญี่ปุ่น Myriophylum brasiliense เป็นต้น ซึ่งพรรณไม้น้ำดังกล่าวสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศของไทยได้ดี จึงแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จนอาจมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำและชนิดพันธ์พื้นเมืองของไทยในอนาคตได้ การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณ์ไม้น้ำ ทำให้ทราบถึงสถานภาพเกี่ยวกับการแพร่กระจายพันธุ์และชีววิทยาบางประการ ความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้น้ำทั้งชนิดพื้นเมืองและชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการจัดการทรัพยากร กำหนดแนวทางในการอนุรักษ์ การป้องกันการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาวิธีการเพาะขยายพันธุ์ที่เหมาะสมในเชิงการค้า เพื่อทดแทนการเก็บรวบรวมจากธรรมชาติต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณไม้น้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
อนุกรมวิธานของพรรณไม้ในวงศ์แตง Cucurbitaceae บริเวณ 4 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รูปแบบการค้าน้ำยางสดของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความหลากหลายของแมลงศัตรูธรรมชาติของวัชพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย พันธุ์กุหลาบตัดดอกที่เหมาะสมสำหรับสภาพแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รูปแบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มศักยภาพธุรกิจส่งออกของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ตามการขยายตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ศึกษาด้านชนิดพันธุ์และชีพลักษณ์ของพืชน้ำในอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการศึกษาการกระจายตัวด้วยข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์พันธุกรรมและรวบรวมเชื้อพันธุ์ปทุมมาและกระเจียวท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อการอนุรักษ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก