สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปูนและจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุของโรคพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู ในกลุ่มดินชุดที่ 33
ชุติมา จันทร์เจริญ, ทรายแก้ว อนากาศ, เมธิน ศิริวงศ์, สุนทร รัชฎาวงษ์, พัฒน์พงษ์ เกิดหลำ, พิทักษ์ อินทะพันธ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปูนและจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุของโรคพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู ในกลุ่มดินชุดที่ 33
ชื่อเรื่อง (EN): Using of Chemical fertilizers with Lime and the Soil Microorganisms to increasing Bird Chili yield in Soil Group No 33
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปูนและจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุของโรคพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู ในกลุ่มชุดดินที่ 33 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปูนและจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุของโรครากเน่าและโคนเน่า เพื่อเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู ในกลุ่มชุดดินที่ 33 และศึกษาสมบัติทางเคมีของดินจากการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปูนและจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุของโรคพืช (พด.3) ทำการวิจัยร่วมกับเกษตรกรเจ้าของแปลง ชื่อนายวัฒน์ชัย อินทร์อารีย์ หมอดินอาสาประจำตำบลท่าบัว ที่ตั้งแปลงหมู่ที่ 2 ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร พิกัด E 637854 N 1778532 ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 7 ตำรับการทดลอง ได้แก่ ตำรับที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีวิธีเกษตรกร ตำรับที่ 2-7 ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยตำรับที่ 3 , 6 และ 7 มีการใส่ปูน (อัตราตามค่าวิเคราะห์ความต้องการปูน) ตำรับที่ 4 และ 6 ใส่ร่วมกับปุ๋ยหมัก อัตรา 100 ก.ก. ต่อไร่ และตำรับที่ 5 และ 7 ใส่ปุ๋ยหมัก (ที่ขยายเชื้อ พด.๓) อัตรา 100 ก.ก. ต่อไร่ สมบัติทางเคมีของดินแปลงทดลอง คือดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.4 ซึ่งอยู่ในระดับกรดจัด ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลาง คือ 2.50 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คือ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ำ คือ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การใส่ปุ๋ยในการปลูกพริกขี้หนู ปริมาณธาตุอาหารตามวิธีเกษตรกรเท่ากับ 24-16-16 ก.ก. N-P2O5-K2O / ไร่ ส่วนปริมาณธาตุอาหารตามค่าวิเคราะห์ดินเท่ากับ 18-8-16 ก.ก. N-P2O5-K2O / ไร่ ผลการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูงของต้นพริกระยะหลังปลูก 20 วัน ระยะออกดอกและระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติทุกตำรับการทดลอง การวิเคราะห์อัตราการรอดตายของพริก ในปีที่ 2 ตำรับทดลองที่ใส่ปูนร่วมกับปุ๋ยหมัก (ที่ขยายเชื้อ พด.3) (T7) มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่งกับตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีวิธีเกษตรกร (T1) ตำรับทดลองที่ใส่ปูนร่วมกับปุ๋ยหมัก (ที่ขยายเชื้อ พด.3) (T7) มีอัตราการรอดตายหลังปลูก 20 วัน สูงสุด สมบัติทางเคมีของดินหลังการปลูกพริก ทั้ง 2 ปีปริมาณอินทรียวัตถุ ปริมาณธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และปริมาณธาตุโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในแต่ละตำรับทดลอง แต่ค่าความเป็นกรดด่างของดิน หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว ปีที่ 2 ตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ใส่ปูน ใส่ปุ๋ยหมักและใส่ปุ๋ยหมัก (ที่ขยายเชื้อ พด.3) (T3 - T7) มีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง กับตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกรและใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (T1 - T2) ที่มีค่าความเป็นกรดปานกลาง การทดลองปลูกพริก ปีที่ 1 และปีที่ 2 ผลผลิตจากการเก็บพริกครั้งที่1 2 และ 3 ทุกตำรับการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ผลผลิตรวมจากการเก็บผลผลิตทั้ง 3 ครั้ง ตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร (T1) ตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมัก(ที่ขยายเชื้อ พด.3) ตำรับทดลองที่ใส่ปูนร่วมกับปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมัก (ที่ขยายเชื้อ พด.3) (T4 - T7) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินและตำรับที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปูน (T2 - T3) ปีที่1 ตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยหมัก (ที่ขยายเชื้อ พด.3) (T7) ให้ผลผลิตพริกสูงที่สุด2,188 ก.ก./ไร่ และตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (T2) ให้ผลผลิตต่ำที่สุด 1,269 ก.ก./ไร่ ปีที่ 2 ตำรับทดลองที่ใส่ปูนร่วมกับปุ๋ยหมัก(ที่ขยายเชื้อ พด.3) (T7) ให้ผลผลิตสูงสุด 1,959 ก.ก./ไร่ และตำรับทดลองที่ใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน (T2) ให้ผลผลิต 1,407 ก.ก./ไร่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับการใช้ปูนและจุลินทรีย์ควบคุมสาเหตุของโรคพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตพริกขี้หนู ในกลุ่มดินชุดที่ 33
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2555
การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าว ชุดดินพัทลุง (กลุ่มชุดดินที่ 6) ผลของการใช้จุลินทรีย์จาวปลวกต่อการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลัง การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวหอมมะลิ ผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตยางพาราในกลุ่มชุดดินที่ 39 การจัดการเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) ด้วยจุลินทรีย์สำหรับพืชปรับปรุงดิน พด.11 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ในกลุ่มชุดดินที่ 35 (จังหวัดกำแพงเพชร) ศึกษาการใช้หินปูนฝุ่น ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์แบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิต หม่อนผลสด ในดินเปรี้ยวจัดชุดดินระแงะ จังหวัดนราธิวาส วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีในการผลิตข้าวโพด ชุดดินหนองมด (Nm) กลุ่มชุดดินที่ 29 อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสมของการใช้ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยมูลไก่เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าวโพดหวานในเขตพื้นที่มีความเหมาะสมกลุ่มชุดดินที่ 33 ศึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมี เพื่อการปลูกมะละกอ ในกลุ่มชุดดินที่ 8

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก